คิกออฟยางพารา


เพิ่มเพื่อน    

 

        เมื่อวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ทางหลวงหมายเลข 3249 ตอนเขาไร่ยา-แพร่งขาหยั่ง ต.แสลง อ.เมือง จ.จันทบุรี หรือถนนบำราศนราดูร จันทบุรี-เขาคิชฌกูฏ ช่วงก่อนถึงโค้งวัดชำโสม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้ เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (คิกออฟ) แบ่งเป็นการใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับนำไปใช้บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระยะเวลาดำเนินการปี 2563-2565

                งานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวกับพี่น้องชาวสวนยาง ว่าการมุ่งเน้นให้ใช้ยางพาราเป็นวัสดุในการปรับปรุง ก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำยางพาราในประเทศ และสร้างสมดุลราคายางพาราให้เหมาะสม ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องการในวันนี้ คือ ผลผลิตของยางพาราให้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เป็นที่พอใจเนื่องจากรัฐบาลยังต้องจ่ายค่าประกันให้กับเกษตรกรอยู่ภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่ในอนาคตจะต้องดำเนินการให้ยางพารามีราคาสูงโดยการใช้อย่างในประเทศถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้น

                สำหรับการดำเนินการนำยางพารามาใช้ในภารกิจคมนาคมนั้น ได้ผ่านการทดสอบจากสถาบันชั้นนำของโลก โดยมีการทดสอบการชนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสถาบัน Korea Automobile Testing & Research Institute (KATRI) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี พบว่าสามารถลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ แบริเออร์แบบเดิมที่มีความสูง 90 เซนติเมตร (ซม.) ทำมุม 20 องศา จะสามารถรับแรงปะทะความเร็วของรถได้ 90 กิโลเมตร (กม.)/ชั่วโมง (ชม.)

                อย่างไรก็ตาม การนำยางพารามาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของกระทรวงคมนาคม โดยการใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ และหลักถือเป็นการปักหมุดโครงการนี้ให้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย และที่ผ่านมานั้นกระทรวงคมนาคมได้มีนิทรรศการเสมือนจริง ในการสาธิตขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียด ตั้งแต่การผสมยาง การขึ้นแบบ การอบ จนถึงการทาสีอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิด พร้อมรับชมการติดตั้งใช้งานบนถนนจริงด้วยเวลาอันรวดเร็ว

                ซึ่งการที่กระทรวงคมนาคมผลักดันการนำยางพารามาใช้ในกิจกรรมคมนาคมนั้น นอกจากจะเป็นการใช้วัสดุในประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภาครัฐที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากราคายางพาราตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปซื้อยางพาราจากสหกรณ์และชาวสวนยางโดยตรง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเหมือนเช่นที่ผ่านมา ดังนั้น จะทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน

                ขณะเดียวกัน จากข้อมูลพบว่าการใช้ปริมาณยางพาราที่มากกว่าการนำมาใช้ปูผิวถนน และยังใช้งบประมาณถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างเกาะกลางถนนประเภทอื่นๆ  อีกด้วย เช่น ถนนที่ก่อสร้างเป็นเกาะยก มีต้นทุน 10,000 บาทต่อ 1 เมตร หรือ 1 กม.ต้องใช้งบ 10 ล้านบาท ขณะที่ใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตระยะทาง 1 กม. มีต้นทุนเพียง 7 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ถึง 30%

                สำหรับโครงการดังกล่าวนี้ กรมทางหลวง (ทล.) เป็นหน่วยงานที่นำร่องนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยการใช้กำแพงคอนกรีต (แบริเออร์) หุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติมาติดตั้งบน ทล. 3249 ตอนเขาไร่ยา-แพร่งขาหยั่ง ต.แสลง เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรไป-กลับ แบบเกาะสี ช่วง กม.ที่ 2+948-กม.3+380 ระยะทาง 400 เมตร  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและเพิ่มการผลิตให้กับชาวสวนยาง

                โดยเส้นทางดังกล่าวนั้น มีประชาชนสัญจรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวไปยังเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางจำนวนมาก ประกอบกับเป็นทางโค้ง และมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่งผลให้รถวิ่งข้ามเลน นำไปสู่ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่พี่น้องชาวส่วนยางจะได้ทั้งงานและเงินในเวลาเดียวกัน.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"