วิสาหกิจขนาดกลางและขนายย่อม หรือเอสเอ็มอี ถือว่าเป็นหนึ่งในกลไกทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย ครอบคลุมกลุ่มที่เป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่า 7 แสนราย และในรูปบุคคลอีกกว่า 2.2 ล้านราย ขณะที่ครอบคลุมการจ้างงานถึงประมาณ 14 ล้านตำแหน่ง ซึ่งที่ผ่านมากลับประสบปัญหาสารพัดด้าน ทำให้มีบริษัทเอสเอ็มอีจำนวนมากที่ต้องปิดกิจการ และยิ่งมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยิ่งกระทบอย่างหนัก บางรายถึงขนาดเลิกกิจการ
แม้ว่าภาครัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งดูดาย ได้ออกมาตรการมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกนั้น ศูนย์วิจัยกสิกไทย ทำการวิจัยพบว่า ได้มีภาคการเงิน การคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงิน คลอดมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเงิน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่มาตรการเหล่านั้นกำลังจะสิ้นสุดในเดือน ต.ค.2563 นี้ ทำให้หลายๆ ฝ่ายมีความกังวล หลังจากนี้เอสเอ็มอีจะอยู่รอดได้หรือไม่ และมาตรการเหล่านั้นควรจะยืดออกไปอีกหรือไม่
แม้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะคลี่คลายไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าที่คลี่คลายนั้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ภายนอกประเทศยังคงมีการแพร่ระบาดไม่หยุด บางประเทศก็เกิดระบาดรอบ 2 ขึ้น ฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาคธุรกิจยังต้องคงนโยบาย Social Distancing ที่ทำให้มีต้นทุนดำเนินงานเพิ่ม และยอดขายยังไม่กลับสู่ระดับปกติ
ดังนั้นจึงมีหลายหน่วยงานที่เรียกร้องให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีออกไปอีก เช่น สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ระบุว่า สถานการณ์ของเอสเอ็มอียังน่าห่วง เพราะการใช้จ่ายของประชาชนยังไม่ได้ขยายตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ลากยาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อในยุโรปยังพุ่งสูง และแม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือโดยเตรียมกู้เพิ่มอีก 2 แสนล้านบาท โดยจำนวนนี้มีวงเงินช่วยเอสเอ็มอี แต่ในรายละเอียดยังคงเน้นกลุ่มลูกค้าธนาคาร ไม่ได้เปิดรับทุกกลุ่ม จึงยังอาจไม่ตอบโจทย์มากนัก ดังนั้นกลุ่มเอสเอ็มอีทั่วไปไม่ได้เป็นลูกค้าธนาคารจึงมีโอกาสรอดยาก สถานการณ์ย่ำแย่
แม้กระทั่งล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ออกโครงการช่วยลูกหนี้เอสเอ็มอี วงเงินหนี้ 50-500 ล้านบาท 8.5 พันราย ก็น่าจะช่วยบรรเทาได้บ้าง แต่รายเล็กๆ ที่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท น่าห่วงอยู่ดี ดังนั้นอีกสิ่งที่จำเป็นขณะนี้คือ การพักชำระหนี้ อาจขยายถึงสิ้นปี เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงระยะเวลาที่ยากลำบากนี้ไป เพราะเศรษฐกิจไทยยังจะเผชิญความไม่แน่นอนต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ตราบใดที่การพัฒนาวัคซีนยังไม่นำมาสู่การใช้จริงอย่างแพร่หลาย
แต่การที่จะต้องประคองเอสเอ็มอีต่อยาวนั้น ก็จะส่งผลกระทบกับกลุ่มธนาคารเช่นกัน ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าในกรณีที่มีการต่ออายุมาตรการออกไป ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะยังสามารถประคองอัตราส่วนกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงไว้ที่ประมาณ 13-14% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง
ดังนั้นภาครัฐบาลควรต้องพิจารณาแนวทางความช่วยเหลือสถาบันการเงินควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถก้าวผ่านระยะเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ และช่วยพยุงเอสเอ็มอีให้อยู่รอดในภาวะเช่นนี้ เพราะต้องไม่ลืมว่าเอสเอ็มอีนั้นคือเศรษฐกิจฐานรากของเศรษฐกิจไทย และสามารถที่จะต่อลมหายใจให้กับเศรษฐกิจไทยได้อีกด้วย.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |