นอกจากโควิด-19 จะสร้างปัญหามีคนว่างงานทั่วโลกอย่างมหาศาลเพราะธุรกิจน้อยใหญ่ต้องหยุดชะงักแล้ว ยังมีผลกระทบด้านการจ้างงานและการศึกษาต่อคนวัย 18-29 อย่างรุนแรงอีกด้วย
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) รายงานว่าการที่โรงเรียนต่างๆ ปิดการเรียนการสอนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบด้านการจ้างงานและการศึกษาต่อกลุ่มคนอายุ 18-29 ปีถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดการตกงานขนานใหญ่และทำให้ความยากจนเพิ่มขึ้น
ไอแอลโอสำรวจประชาชนในช่วงอายุดังกล่าว 12,000 คน ใน 112 ประเทศ ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม พบว่าเยาวชนในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและเข้าถึงการศึกษาออนไลน์ได้จำกัดได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ
รายงานพบด้วยว่า กลุ่มคนหนุ่มสาวในประเทศที่ร่ำรวยกว่าได้รับการศึกษาออนไลน์ 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนอายุเท่ากันในประเทศที่มีรายได้ต่ำกว่าที่สามารถเรียนหนังสือออนไลน์ได้เพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ซางฮอน ลี ผู้อำนวยการแผนกนโยบายการจ้างงานของไอแอลโอ ระบุว่า เยาวชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบจากการตกงานมากกว่าเช่นกัน
กล่าวคือ เยาวชนถึง 1 ใน 6 ของประเทศที่ยากจนต้องหยุดงานตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่ผู้ที่ยังมีงานทำก็ถูกลดชั่วโมงทำงานถึงเกือบ 1 ใน 4 และเยาวชนราว 2 ใน 5 ได้รับรายได้ลดลง
รายงานของไอแอลโอยังพบด้วยว่า การปิดเมืองเพื่อรับมือการระบาดของไวรัสโควิด-19 การตกงาน และความวิตกกังวลถึงอนาคต ต่างส่งผลกระทบต่อจิตใจของกลุ่มคนอายุน้อย โดยเยาวชน 50 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า พวกเขามีอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ามากขึ้น
ลีบอกว่าประชาชนในทวีปแอฟริกาจำนวนมากเป็นแรงงานนอกระบบ
ในช่วงวิกฤติครั้งที่แล้วๆ มา ชาวแอฟริกันที่ตกงานจากงานในระบบมักไปทำงานนอกระบบเพื่อหารายได้ทดแทน
แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีการปิดเมือง และส่งผลกระทบต่อบรรดานายจ้างในทุกภาคส่วนและทุกระบบ
รายงานของไอแอลโอยังเตือนด้วยว่า เยาวชนที่กลายเป็น "คนรุ่นปิดเมือง" นี้อาจได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเป็นเวลานาน
ไอแอลโอเรียกร้องให้มีการออกนโยบายเร่งด่วน ครอบคลุม และตรงประเด็น เพื่อช่วยคุ้มครองคนรุ่นใหม่ที่อาจมีความกังวลถาวรต่อการจ้างงาน จากประสบการณ์ที่พวกเขาเผชิญในช่วงโรคระบาดนี้
คำว่า "ตกงานถาวร” กับ "ยากจนเพิ่มขึ้น" กำลังจะกลายเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งระลอกใหม่ในระดับโลกเพราะการระบาดของโควิด
ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ
นั่นแปลว่าสังคมโลกกำลังจะเผชิญกับการปรากฏการณ์ "โดดเดี่ยว" ตัวเอง หยุดการขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพราะต้อง "เอาตัวรอดก่อน"
อีกทั้งเพราะความหวาดระแวงว่าจะมีการแพร่เชื้อจากประเทศอื่น ก็จะทำให้เกิดการระงับการไปมาหาสู่กันในระดับสากลอย่างที่เคยปฏิบัติมายาวนาน
เราจะเห็นสังคมโลกที่เห็นแก่ตัวมากขึ้น
และนั่นจะนำไปสู่ความขัดแย้ง การแก่งแย่งทรัพยากรธรรมชาติ และการทำอะไรเพื่อตนเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประเทศอื่น
นั่นหมายความว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านช่วยกันต่อสู้โลกร้อน หรือการประสานกันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมนานาชาติก็จะหดตัวลงอย่างน่าเสียดาย
หากโลกเปลี่ยนไปเช่นนี้ สิ่งที่น่ากังวลต่อมาก็คือ การแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรแทนที่จะร่วมมือกันแสวงหานวัตกรรมเพื่อการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถแบ่งปันกันได้อย่างที่เคยเป็นความฝันร่วมของมนุษย์
"คนรุ่นล็อกดาวน์" จะมีความเห็นอกเห็นใจกันก็เฉพาะในสังคมของตนเอง แต่มิอาจจะยื่นมือแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงวิกฤติครั้งหน้าด้วยกัน
เพราะโลกถูกครอบงำโดยความกลัว ความระแวง และความเห็นแก่ตนมากกว่าเดิมหลายเท่า!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |