ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไว้ ดังนี้คือ : วิสัยทัศน์ 2560 : มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ดังนี้ :
1. มีความมั่นคง
2. มีการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. มีการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
4. มีการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม
5. มีการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. มีการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คือเป้าหมายและได้ดำเนินการขับเคลื่อนไปตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2561 และประกาศใช้ แผนแบบ ในเดือนเมษายน ปี2563 เพื่อให้ขับเคลื่อน เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม รายงานจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพัฒน์ ได้สรุปรายงานออกมาว่า ผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นั้นยังมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ
- ในระดับประเด็นเป้าหมาย : 33 จาก 37 เป้าหมาย บรรลุเป้าหมายต่ำกว่าที่กำหนดไว้ (นั่นคือ บรรลุเป้า 11 % และไม่บรรลุ 89 %)
- ในส่วนแผนแม่บทฯ นั้น : 121 จาก 140 โครงการ มีสถานการณ์บรรลุต่ำกว่าที่กำหนด (นั่นคือ 14 % บรรลุและไม่บรรลุ 86 %)
ท่านผู้อ่านคงคิดแบบเดียวกับผมว่า ถ้าเป็นบริษัทที่ทำมาค้าขายในตลาด ที่ต้องแข่งขันกันเอาใจลูกค้า และ
มีผลงานแค่นี้ ป่านนี้ก็เจ๊งเรียบร้อย โรงเรียนไทยไปแล้ว และมีคำกล่าวที่พูดกันมา กับคนรุ่นเก่า ๆ
ว่าถ้าทำได้ เข้าเป้าหมดป่านนี้ถนนในประเทศไทย คงปูลาดด้วยทองคำไปแล้ว ซึ่งเป็นการเปรียบเทียนแบบประชดประชัน อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านคงอยากจะทราบว่า แล้วทำไมถึงได้ขับเคลื่อนโครงการแผนงานเข้าเป้าได้เพียงแค่นี้ เพราะอะไร
คำตอบที่หามาได้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ :
- ขาดการยึดเป้าหมายร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการดำเนินการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุของ การไม่บรรลุเป้าหมานย ว่าเป้นเพราะอะไร ทำไมถึงทำไม่ได้ ?
- คำตอบที่ พอจะตอบได้ทันที คือ ประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐอ่อนแอ
แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้บรรลุเป้าหมาย และประชาชนได้อนิสงค์จากการบรรลุเป้าหมายมีวิธีการที่ผมเสมอก็คือ : ต้องมีการเตรียมความพร้อม ในการขับเคลื่อน เช่น ทุนมนุษย์มีแค่ไหนคนของเราทำได้หรือไม่ ? ทุนองค์กรมีในระดับไหน ในด้านความสามารถ และวัฒนธรรม องค์กร ข้อมูลข่าวสาร ที่จะทำให้เรื่องนี้ มีหรือไม่ ถ้าไม่มี จะต้องหาได้ที่ไหน และ สุดท้ายทุนในการพิจารณาร่วมกันแบบบูรณาการ มีในระดับไหน ถ้าทุนทุกอย่างมีพร้อม สิ่งที่ผู้บริหารทุกระดับต้องทำก็ คือ การกำกับติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนโครงการแผนงานว่าจะได้ตรงเป้าประสงค์ หรือไม่ ถ้าได้ไม่ถึง เพราะอะไร มีการติดตามและลงโทษ ทางวินัย หรือในด้านการบกพร่องในหน้าที่ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่าความรับผิดชอบในการทำงานนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับชั้น ที่ต้องแสดงให้เห็น เจตนารมณ์ อันแน่วแน่ของท่านว่า ท่านต้องการให้ผลงานของท่านมาถึงประชาชน ได้ในระดับไหน ผมเอง ก็ตั้งตาคอยครับ เหมือนข้าวคอยฝน แต่ที่ได้มาก็คือ ฝนหลวง ที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้บ้าง แต่อยากเห็นผู้รับผิดชอบ แสดงความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ในเรื่องการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ให้มากกว่านี้ครับ
โดย สุธรรม ส่งศิริ
กรรมการมูลนิธินโยบาย
สาธารณะเพื่อสังคม และธรรมภิบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |