โจทย์ใหญ่พิสูจน์ "ศบศ." กอบกู้ ศก.ประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

    หลังสถานการณ์โควิด-19 ประเทศเป็นไปในทิศทางบวก ไร้ผู้ติดเชื้อภายในประเทศมายาวนานกว่า 90 วัน และเข้าสู่ระยะฟื้นฟูในด้านเศรษฐกิจ ที่ล่าสุด "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี คลอด "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ขึ้นมาสู้ศึกเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับได้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่มีรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจมากฝีมือเข้ามาร่วมทีมขับเคลื่อน
    โดยศูนย์ ศบศ.ชุดนี้ พล.อ.ประยุทธ์นั่งเป็นประธานคุมงานเอง และมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ พร้อมด้วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากบริษัทระดับชาติร่วมเป็นกรรมการ
    และหลังจากตั้ง ศบศ.ขึ้นมา "บิ๊กตู่" ถกนัดแรกอนุมัติมาตรการหลายด้าน ทั้งมาตรการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว ขยายสิทธิ์โครงการเราเที่ยวด้วยกัน มาตรการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย โดยเน้นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ซึ่งมาตรการทั้งหมดจะนำเสนอต่อที่ประชุม ศบศ.ภายใน 2 สัปดาห์
    แต่ทั้งนี้ก็มีเสียงสะท้อนจากพรรคฝ่ายค้านอย่าง "เพื่อไทย" ไปถึงรัฐบาล โดยเพื่อไทยมองว่า "เห็นสัญญาณลบด้านนโยบายการคลัง ซึ่งเหมือนจะถูกละเลย ถึงแม้ว่าทีมเศรษฐกิจชุดนี้จะมาจากสายการเงินการธนาคาร แต่ขอให้พึงระลึกว่านโยบายการเงินช่วยประคองไม่ให้บริษัทล้มก็จริง แต่นโยบายการคลังเท่านั้นที่จะเป็นตัวดึงเศรษฐกิจขึ้นจากเหวได้ ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่เห็นวิสัยทัศน์และแนวทางการผลิตนโยบายการคลังของทีมชุดใหม่ว่ามีทิศทางอย่างไร"
    พร้อมมองด้วยว่านโยบายการคลังของทีมเศรษฐกิจชุดเดิมเป็นแค่เปลือก จนมาถึงมาตรการเราเที่ยวด้วยกันในปัจจุบันที่มีผู้ใช้สิทธิ์เพียง 10% ซึ่งเป็นภาพฟ้องว่าแก่นของปัญหาจริงๆ ไม่ได้ถูกแก้ แต่เป็นการเอาของลดราคามาล่อคนไม่มีเงินให้ไปใช้จ่าย จึงไม่มีทางสำเร็จ
    ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังต้องรับมือกับกระแสข่าวคลังถังแตก เงินคงคลังไม่พอใช้ จน ครม.ต้องอนุมัติกู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งท่ามกลางกระแสต่างๆ ที่เข้ามาในช่วงเดินเครื่องฟื้นฟูเศรษฐกิจจากพิษโควิดเช่นนี้ "บิ๊กตู่" เองได้พยายามเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจให้คืนกลับมาโดยเร็ว
     โดยเน้นย้ำในการประชุม ศบศ.ว่า อย่างน้อยในช่วง 3-6 เดือนจะต้องทำให้ดี หาช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแผนฟื้นฟูของรัฐให้ได้มากที่สุด ภายใต้การทำหน้าที่ของ ศบศ.ในการจัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจ และวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตหลังโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง รวมทั้งจะต้องประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้และความเข้าใจ
    นอกจากนี้ ภายใต้ "ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ" ที่จะลุยทำงานอย่างเข้มข้นต่อจากนี้ ยังมีคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ ที่มีคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด คือ 1.คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้ง SMEs
    2.คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการบริหารเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนในระยะปานกลางและระยะยาว และ 3.คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อมูลเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อสนับสนุนด้านข้อมูลและรายละเอียดข้อเสนอแนะมาตรการเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ
    จากนี้ไปจึงเป็นช่วงเวลาพิสูจน์การทำงานของทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ และการทำงานของ "ศบศ." ซึ่งยังคงมี "บิ๊กตู่" นั่งกุมบังเหียนเช่นเดิม ว่าจะสามารถทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวและมีสภาพคล่องได้โดยเร็วเมื่อไร รวมถึงเพื่อลดกระแสรัฐบาลถังแตกได้หรือไม่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"