ละเอียดยิบ! ทร.แถลงสู้ไม่ถอยจัดซื้อ 'เรือดำน้ำ' ยันต้องปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล


เพิ่มเพื่อน    

24 ส.ค.63 - เมื่อเวลา 14.05 น. ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ วังนันทอุทยาน พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) มอบหมายให้พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม เสนาธิการทหารเรือ พล.ร.ท.ภราดรพวงแก้ว รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานยุทธการ พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานกิจการพลเรือน ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ พล.ร.ท.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ พล.ร.ท. ธีรกุล กาญจนะ ปลัดบัญชีทหารเรือ พล.ร.ต.อรรถพล เพชรฉาย ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ และน.อ.ธาดาวุธ ทัตพิทักษ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีเหตุผลความจำเป็นในการจัดหาเรือดำน้ำ โดยมีสื่อมวลชนจำนวนมากให้ความสนใจมาร่วมรับฟังอย่างคึกคัก

นอกจากนี้ยังมีนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เข้าร่วมสังเกตการณ์การแถลงข่าวด้วย

พล.ร.อ.สิทธิพร กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่กองทัพเรือเข้าชี้แจงงบประมาณต่อคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ฯ และมีคณะอนุกรรมาธิการฯบางคนนำข้อมูลมาแถลง แต่เป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน อาจเป็นการหวังผลทางการเมืองที่จะกระทบต่อรัฐบาล จึงจะนำข้อเท็จจริงมาชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ พร้อมยืนยันว่า กองทัพเรือเล็งเห็นความสำคัญของเรือดำน้ำมาตลอด จึงได้จัดหาเรือดำน้ำตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ แต่มักจะถูกโยงเป็นประเด็นทางการเมือง

พล.ร.อ.สิทธิพร ได้เล่าย้อนไปถึงการจัดหาเรือดำน้ำลำแรกที่ดำเนินการโดยจีทูจี หรือรัฐบาลกับรัฐบาลเมื่อปี 2560 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีเรือดำน้ำเพิ่มขึ้น ส่วนประเทศไทยจัดหาลำแรกในปี 2560 จะเข้าประจำการปี 2566

ด้านพล.ร.ท.เถลิงศักดิ์ กล่าวว่า ในอดีตที่ประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำและสามารถข่มขวัญประเทศที่รุกรานน่านน้ำให้ถอยกลับไปได้ ซึ่งกองทัพเรือพยายามจัดซื้อเรือดำน้ำมาหลายปี แม้จะยังไม่เห็นสงครามโลกในขณะนี้ แต่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในน่านน้ำ อีกทั้งสหรัฐส่งเรือรบเข้าไปในพื้นที่ทะเลจีนใต้มากขึ้น หากเราไม่มีกำลังที่เข้มแข็งเพียงพอ ผลประโยชน์ของชาติย่อมกระทบแน่นอน แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ในทะเลจีนใต้จะไม่มีเหตุการณ์ปะทะนองเลือด ซึ่งตนเชื่อว่า มี และอย่าลืมว่า จัดซื้อวันนี้ อีก 6 ปีจึงจะได้เรือลำน้ำ ยืนยันว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ กองทัพเรือจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2-3 ราคา 22,500 ล้านบาท เมื่อเทียบผลประโยชน์ของชาติทางทะเล คิดเป็น ร้อยละ 0.093 เท่านั้น

"จากสถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ รวมถึงคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงการวางกำลังทางเรือสหรัฐฯ ในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ความขัดแย้งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการปะทะกัน ซึ่งส่งผลต่อเส้นทางการเดินเรือและผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศมูลค่ามหาศาล รวมถึงเปี 2572 ข้อตกลงระหว่างไทยกับมาเลเซียในการพัฒนาพื้นที่ร่วมทางทะเลหรือ เจดีเอจะยุติลงซื้อคาดว่าจะมีการพูดคุยเพื่อทำสัญญาก่อนปี 2572 ดังนั้นการที่เรามีเรือดำน้ำในปี 2570 จะส่งผลต่อการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ส่งผลให้ไทยไม่เสียเปรียบ" พล.ร.ท.เถลิงศักดิ์ กล่าว

ขณะที่พล.ร.ท.ธีรกุล กล่าวชี้แจงเรื่องงบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ว่า เป็นการทยอยจ่ายทั้งหมด 7 ปี ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2566 ซึ่งเป็นการจัดหาต่อเนื่องเพื่อให้ครบสามลำ ไม่ใช่โครงการผูกพันงบประมาณที่เริ่มใหม่ในปี 2564 นี้ แต่เป็นโครงการในการเสริมสร้างกำลังของกองทัพที่เริ่มตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2569 เป็นการทยอยตั้งงบประมาณรายปีภายในงบประมาณที่กองทัพเรือได้รับตามปกติ ไม่ได้มีการขอรับงบประมาณเพิ่มเติมแต่อย่างใด และรายการนี้ได้ตราไว้แล้วในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ซึ่งตามกำหนดที่ต้องชำระใน 7 งวดที่ตั้งไว้ในตอนแรก ระบุไว้ว่า ในปี 2563 จ่ายวงเงิน 3,375 ล้านบาท ปี 2564 วงเงิน 3,925 ล้านบาท ปี 2565 วงเงิน 2,640 ล้านบาท ปี 2566 วงเงิน 2,500 ล้านบาท ปี 2567 วงเงิน 3,060 ล้านบาท ปี 2568 วงเงิน 3,500 ล้านบาท ปี 2569 วงเงิน 3,500 ล้านบาท แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด รัฐบาลได้ให้หน่วยงานราชการโอนงบประมาณคืนไปใช้สำหรับการแก้ไขปัญหา ซึ่งกองทัพเรือได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ตัดลดงบประมาณที่ได้ตั้งเอาไว้ในปีงบประมาณ 2563 และจ่ายงวดแรกในวงเงินงบประมาณของปี 2564 แทน และไปจบงวดสุดท้ายในปี 2570

พล.ร.ท.ธีรกุล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในปีนี้ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาการจัดทำคำขอของกองทัพเรือนั้น ได้มีการกำหนดรายละเอียดของงบประมาณตามคำแนะนำและความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ โดยยึดความประหยัดและความคุ้มค่าตระหนักถึงคุณค่าของเงินทุกบาทของประเทศชาติและตั้งงบประมาณรายจ่ายอยู่ในกรอบที่เคยได้รับโดยประมาณมาทุกปี ทั้งนี้กองทัพเรือเตรียมลงนามในสัญญาจัดซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2-3 ในเดือนกันยายนนี้

น.อ.ธาดาวุธ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ให้ข่าวในสื่อต่างๆว่าการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 1 ไม่ถูกต้องและไม่มีกฎหมายรองรับนั้น นาวาเอก ธาดาวุธ ยืนยันว่า กองทัพเรือไม่เคยพูดเท็จกับประชาชน แต่การมีเรือดำน้ำจะช่วยเพิ่มอำนาจการต่อรอง กองทัพเรือจึงได้ศึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาล กระทั่งในวันที่ 18 เมษายน 2560 ครม.มีมติเห็นชอบจัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำ สืบเนื่องมาจากกองทัพเรือตระหนักถึงความจำเป็นของเรือดำน้ำ และพบว่า ข้อเสนอของจีนนั้นดีที่สุด และอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำในปี 2559

ส่วนที่บอกว่า จีทูจีปลอม เป็นการให้ข้อมูลเท็จ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารเรือ อนุมัติให้ประธานกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำ และเสนาธิการทหารเรือเป็นผู้แทนในการลงนามข้อตกลง จึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปด้วยความถูกต้อง พิจารณารอบคอบตามระเบียบวิธีราชการทุกประการ ขณะที่รัฐบาลจีน สั่งการให้หน่วยงาน SASTIND ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐของจีนสำหรับการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการส่งออกอาวุธ มอบอำนาจให้บริษัท CSOC และมอบอำนาจให้ประธานบริษัท CSOC มาลงนามแทน

ดังนั้น คนที่มาลงนามของจีน ได้รับมอบอำนาจมาอย่างชัดเจน จึงเป็นจีทูจีของจริง ไม่ใช่จีทูจีของปลอม ส่วนประเด็นที่ยังคลาดเคลื่อน เรื่องการทำสัญญาระหว่างรัฐบาลจีนกับไทย เนื่องจากเป็นจีทูจี คือ ความเอื้อเฟื้อมิตรไมตรีระหว่างรัฐบาล จึงไม่ใช้คำว่าสัญญา และใช้คำว่า ข้อตกลง ทำให้มีผู้เข้าใจผิดไปแปลว่า ข้อตกลงคือ MOU ที่ต้องลงนามโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งที่ข้อตกลงนี้ เป็น Agreement ไม่ใช่ MOU

พล.ร.ต.อรรถพล กล่าวว่า การเจรจากับจีน อยู่บนพื้นฐานเรือดำน้ำ 3 ลำมาโดยตลอด และรัฐบาลจีนรับทราบการจัดหาเป็นระยะ แต่เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาด้านงบประมาณจึงได้จัดหาเรือดำน้ำระยะที่ 1 จำนวน 1 ลำก่อน ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงไปแล้ว ส่วนการจัดหาในระยะที่สองในปีงบประมาณ 2563 ถึง 2569 การเจรจาได้ข้อยุติแล้ว และสามารถจัดหาได้ในราคาลำละ 11,250 ล้านบาท ซึ่งมีราคาต่อลำต่ำกว่าลำที่หนึ่ง รวมถึงได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมประกอบด้วยแผ่นยางลดเสียงสะท้อน ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารข้อมูลทางยุทธวิธีและอาวุธทั้ง จรวดนำวิถี ทุ่นระเบิด ตอร์ปิโด โดยมีมูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท ซึ่งไม่ต้องเพิ่มวงเงินแต่อย่างใด ดังนั้น ในปี 2560-2570 ประเทศไทยจะมีเรือลำดำหน้าตาคล้ายกันทั้งหมด 3 ลำ แต่หากไม่ดำเนินการตามที่เจรจาไว้ทั้งหมด ประเทศไทยก็จะหมดความน่าเชื่อถือเชิงพาณิชย์ การจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 2-3 จึงมีความจำเป็น ซึ่งได้เสนอร่างข้อตกลงจ้างให้สำนักงานอัยการสูงสุดและกระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบแล้ว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"