22 ส.ค.63-นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทยฯ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ศาลล้มละลายกลางได้มีการไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของการบินไทยแล้ว 2 ครั้ง โดยการบินไทยได้นำพยานทุกปากเข้าเบิกความต่อศาลและตอบคำถามผู้คัดค้านในประเด็นต่างๆ โดยละเอียดแล้วนั้น แม้ว่ากระบวนการพิจารณาในศาลล้มละลายกลางจะเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่มีเรื่องใดน่ากังวล
อย่างไรก็ตาม แต่ปรากฏว่ามีการเผยแพร่ข่าวที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงจากสื่อมวลชนบางแห่งเกี่ยวกับประเด็นที่การบินไทยเลือกบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ให้เป็นหนึ่งในคณะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูฯ และประเด็นกระแสเงินสดที่เหลือในไตรมาสที่ 1 และที่ 2ของปีงบประมาณ 2563 นั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นประเด็นๆ ดังนี้
สำหรับประเด็นเรื่องบริษัท อีวายฯจากการตรวจสอบข้อมูลการว่าจ้างบริษัท อีวายฯ ให้เข้ามาเป็นผู้ทำแผนนั้น การบินไทยมีคณะกรรมการที่เข้ามาพิจารณาว่าจ้างผู้ทำแผนโดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนค่าตอบแทนที่บริษัทผู้ทำแผนแต่ละรายเสนอเข้ามาแล้วเห็นว่าบริษัท อีวายฯ มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยค่าตอบแทนที่บริษัท อีวายฯ เสนอก็อยู่ในอัตราที่เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้ทำแผนเมื่อพิจารณาถึงขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจของการบินไทย อีกทั้งไม่ได้สูงกว่าอัตราค่าตอบแทนที่บริษัทผู้ทำแผนรายอื่นเสนอมา
อย่างไรก็ตาม ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนในอัตราแบบคงที่ให้บริษัท อีวายฯ นั้น เป็นการจ่ายให้ บริษัท อีวายฯ ไม่ใช่เป็นการจ่ายโดยตรงให้แก่บุคลากรแต่ละคนของบริษัท อีวายฯ ทั้งนี้ บริษัท อีวายฯ จะบริหารค่าตอบแทนที่ได้รับจากการบินไทยอย่างไร ก็เป็นเรื่องการบริการจัดการภายในของบริษัท อีวายฯ และแม้ปัจจุบันบริษัท อีวายฯ จะมีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนกำหนดไว้ โดยในการพิจารณาว่าจ้างนั้น การบินไทยไม่ได้พิจารณาจากทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้ทำแผนเพราะเรื่องดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า โดยปกติแล้วบริษัทที่ปรึกษามักจะมีทุนจดทะเบียนที่ไม่สูง เพราะบริษัทที่ปรึกษาส่วนใหญ่ไม่ต้องนำเงินทุนไปลงทุนในทรัพย์สินใด เนื่องจากทรัพย์สินหลักที่สำคัญ คือ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
ส่วนประเด็นเรื่องใบอนุญาตของบริษัท อีวายฯ นั้น การบินไทยได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ตามกฎหมายกำหนดให้ใบอนุญาตเป็นผู้ทำแผนมีอายุเพียงสองปี เมื่อครบสองปีก็จะต้องมีการต่ออายุเพื่อที่กรมบังคับคดีจะได้มีโอกาสทบทวนคุณสมบัติของผู้ทำแผนเป็นระยะๆ ซึ่งใบอนุญาตของบริษัท อีวายฯ ฉบับปัจจุบันจะหมดอายุในเดือนกันยายน 2563 บริษัท อีวายฯ จึงได้ขอต่ออายุใบอนุญาตล่วงหน้าต่อกรมบังคับคดีและได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตแล้วโดยใบอนุญาตฉบับที่ขอต่ออายุจะเริ่มมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2563 การระบุวันที่ดังกล่าวในใบอนุญาตของ บริษัท อีวายฯ จึงเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ส่วนขอบเขตการทำงานของบริษัท อีวายฯ นั้น หน้าที่ของบริษัท อีวายฯ คือ การช่วยเหลือการบินไทยในด้านการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทำการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของการบินไทย
ทั้งนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โครงสร้างทางการเงินและการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการจนกว่าจะจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสร็จสิ้น ตลอดจนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งผู้ทำแผนท่านอื่นๆ ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาก่อน จึงจำเป็นต้องให้ บริษัท อีวายฯ เข้ามารับผิดชอบหน้าที่ส่วนนี้ โดยการบินไทยขอยืนยันว่าบริษัท อีวายฯ เป็นบริษัทผู้ทำแผนที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นบริษัทเครือข่ายของบริษัท อีวาย คอร์เปอร์เรท เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัท BIG4 รายใหญ่ระดับโลกที่มีชื่อเสียงทางด้านการสอบบัญชีและการเงิน และมีสำนักงานเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
ส่วนประเด็นเรื่องสินทรัพย์และหนี้สินของการบินไทย
ในประเด็นเรื่องสินทรัพย์ของการบินไทยซึ่งกำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เพราะสื่อหลายแห่งได้นำเสนอข่าวว่า การบินไทยมีกระแสเงินสดตามงบการเงินไตรมาส 2 ลดลงจากงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2563 ถึง 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ความจริงคือ การบินไทยมีกระแสเงินสดลดลงประมาณ 9 พันล้านบาท ซึ่งเหตุหลักๆ ที่เป็นผลให้เงินสดลดลง ก็เนื่องจากการบินไทยต้องชำระหนี้หุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้การบินไทยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
นอกจากนี้ เจ้าหนี้บางรายก็ได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามสิทธิที่เจ้าหนี้มีอยู่ตามกฎหมาย เฉพาะสองส่วนนี้ก็เป็นเงินกว่า 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ระหว่างสิ้นไตรมาส 1 จนถึงสิ้นไตรมาส 2 การบินไทยก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อรักษาให้การดำเนินธุรกิจตามปกติของการบินไทยดำเนินต่อไปได้อีกส่วนหนึ่ง การลดลงของกระแสเงินสดจึงเป็นเรื่องที่สามารถชี้แจงได้ ซึ่งการบินไทยก็ได้นำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อศาลแล้ว
ส่วนรายการสินทรัพย์ในส่วนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ตามงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2563 ที่ลดลงจากงบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 9 หมื่นกว่าล้านบาทนั้น ก็มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงรายการสินทรัพย์จากส่วนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ มาอยู่ในรายการสินทรัพย์สิทธิการใช้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีใหม่ โดยรายการสินทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้หายไปแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นเรื่องภาระหนี้สินของการบินไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในงบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2563 นั้น เหตุที่ตัวเลขภาระหนี้สินในงบการเงินไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ก็เป็นเพราะการบินไทยผิดนัดชำระหนี้จนทำให้หนี้ในบางรายการถึงกำหนดชำระทั้งหมด
การบินไทยขอเรียนย้ำว่า การบินไทยยินดีให้ข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเสมอ เพื่อให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่าการบินไทยมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่มีอยู่ และขอให้เจ้าหนี้และลูกค้าทุกท่านมั่นใจได้ว่า การบินไทยมีความจริงใจที่จะดูแลทุกท่านเป็นอย่างดีตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |