19 ส.ค. 2563 นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า คาดว่าโครงการ บสย. เอสเอ็มอี ไทยชนะ (Portfolio Guarantee Scheme9:PGS9) วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท จะได้รับการอนุมัติภายในสิ้นปีนี้ โดยเบื้องต้น จะมีการแบ่งวงเงิน ก้อนแรก จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ไปค้ำประกันการปล่อยสินเชื่อเพื่อปรับโครงสร้างให้กับผู้ที่เป็นหนี้เสีย และหนี้ด้อยคุณภาพ เพื่อช่วยลูกค้าให้กลับมาดำเนินกิจการได้ รวมถึงช่วยระบบสถาบันการเงินให้มีหนี้เสียน้อยลง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือน ต.ค. 2563
สำหรับ วงเงินอีก 1 แสนล้านบาท จะค้ำประกันการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการปกติ โดยคาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้จำนวนมาก ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดสินเชื่อในระบบเพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท
“อยากให้ บสย. เอสเอ็มอี ไทยชนะ วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ออกมาในเดือน ต.ค. นี้ เพื่อจะต่อเนื่องกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคระรัฐมนตรี (ครม.) เพราะจะทำให้ บสย. ค้ำประกันให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้เป็นวงเงินไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันการค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยอยู่ที่รายละ 1.3 ล้านบาท” นายรักษ์ กล่าว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ครม. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดขัดในการดำเนินโครงการเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั่วถึงและเพียงพอ 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีคุณสมบัติตาม พ.ร.ก. ซอฟท์โลนแต่ยังไม่ได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก.ซอฟท์โลน เริ่มค้ำประกันและเก็บค่าธรรมเนียมในต้นปีที่ 3 นับจากวันที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับสินเชื่อ ค้ำประกันสูงสุดต่อราย 100 ล้านบาท
2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 8 หรือ “บสย. เอสเอ็มอี ชีวิตใหม่” วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ระยะที่ 3 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีวงเงินคงเหลือ 2.5 พันล้านบาท
นายรักษ์ กล่าวอีกว่า บสย. ยังดำเนินโครงการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อีกจำนวน 4 โครงการได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี พลิกฟื้นท่องเที่ยว วงเงิน 3.7 พันล้านบาท ปัจจุบันมีวงเงินคงเหลือ 1.3 พันล้านบาท คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ 1.4 พันราย 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Start-up & Innobiz วงเงิน 8 พันล้านบาท ปัจจุบันมีวงเงินคงเหลือ 3.5 พันล้านบาท คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ 2.4 พันราย
3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี ไทยชนะ ซึ่ง บสย. ดำเนินการเอง วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด -19 คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้ 1.2 หมื่นราย และ 4.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เพิ่มพูน (Direct Guarantee : DG) วงเงิน 1.2 พันล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด -19 ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ 240 ราย
“โครงการของ บสย. มั่นใจว่า จะช่วยผลักดันให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านวิกฤต ไปได้ โดยคาดว่าจะช่วยฟื้นวิกฤตเอสเอ็มอี ท่ามกลางสภาพปัญหาของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ที่คาดว่าจะสามารถอนุมัติยอดค้ำประกันสินเชื่อได้มากกว่า 1.5 แสนล้านบาท และช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่า 1.2 แสนราย” นายรักษ์ กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ในรอบ 7 เดือน ปี 2563 (ม.ค.-ก.ค.) ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมียอดวงเงินอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 1.15 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 167% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีการอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) จำนวน 1.32 แสนฉบับ เพิ่มขึ้น 223% และช่วยลูกค้าใหม่ได้รับสินเชื่อ จำนวน 9.82 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 222% ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS8 ตามโครงการย่อยได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี สร้างไทย โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี ดีแน่นอน และ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี บัญชีเดียว
อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่าง เดือน มี.ค. – วันที่ 17 ส.ค. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 บสย. ยังช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีค้ำประกันสินเชื่อ ได้จำนวน 1.17 แสนราย โดยจำแนกลูกค้าตามโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการ บสย. เอสเอ็มอี สร้างไทย วงเงิน 4.98 หมื่นล้านบาท จำนวน 2.1 หมื่นราย และโครงการทั่วไปภายใต้ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 8 อีกจำนวน 3.56 หมื่นล้านบาท จำนวน 1.31 หมื่นราย โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. เอสเอ็มอี ไทยชนะ ซึ่งเป็นโครงการที่ บสย. ดำเนินการเอง จำนวน 2.6 พันล้านบาท จำนวน 406 ราย และโครงการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มอาชีพอิสระ ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อไมโคร 3 วงเงิน 6.54 พันล้านบาท จำนวน 8.29 หมื่นราย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |