สสว.ร่วมกับทีเอไอ ยกระดับเอสเอ็มอีไทยรุกอุตสาหกรรมการบินผลักดันสู่มาตรฐานระดับโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

19 ส.ค. 2563 นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ สสว. ได้ร่วมกับ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (ทีเอไอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานซ่อมบำรุงอากาศยานของกองทัพอากาศและหน่วยงานอื่นๆ นำสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี จ.นครสวรรค์ เพื่อแสวงหาความร่วมมือให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ผลิตชิ้นส่วนให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ปรับตัวหันมาผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพื่อซ่อมบำรุงอากาศยาน และยังเป็นการยกระดับเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม New S-Curve ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เพื่อช่วยลดการพึ่งพาต่างชาติ และประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงอากาศยานได้มหาศาล

สสว. และทีเอไอ ได้รับเกียรติจาก พลอากาศโท ภาณุวัชร์ เปี่ยมศรี เจ้ากรมช่างอากาศ พร้อมนำผู้ประกอบการจากสมาคม Thai Subcon เข้าเยี่ยมชมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานลพบุรี จ.ลพบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งศูนย์นี้เป็นแหล่งซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ที่สำคัญของประเทศไทย มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงระดับโรงงาน ตรวจซ่อมโครงสร้าง รวมทั้งปรับปรุงระบบเอวิออนิกส์ของเฮลิคอปเตอร์ เพื่อหาแนวทางการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในการสร้างและผลิตสายไฟ ท่อทาง และสายเคเบิลที่ใช้กับระบบต่างๆ ของเฮลิคอปเตอร์ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องปรับตนด้านมาตรฐานตามที่กำหนด เนื่องจากอุตสาหกรรมการบิน เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง โดยคาดว่าในช่วงแรก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับ ทีเอไอ ไปได้ประมาณ 30% ของเครื่องบินทั้งลำ และสัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

พล.อ.อ. ศิริพล ศิริทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด กล่าวว่า “ทีเอไอ และกรมช่างอากาศ จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์การผลิตให้กับเอสเอ็มอีไทย โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสูงมากนัก เช่น สายไฟ ท่อทาง สายเคเบิลต่างๆ แผงเครื่องวัด การผลิตจอเครื่องวัดต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตได้เองทั้งหมดทั้งสำหรับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งนำกระบวนการวิศวกรย้อนกลับ เพื่อศึกษาผลิตอุปกรณ์อากาศยานรวมไปถึงโครงสร้างเทคโนโลยีคอมโพสิตต่างๆ ใช้เองภายในประเทศ”

นอกจากนี้ ทีเอไอ ยังได้ร่วมมือกับ บริษัท แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้ ทีเอไอ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนการซ่อมบำรุง และการฝึกอบรมให้กับนักบินและช่างเครื่องให้กับเฮลิคอปเตอร์ทางทหารและหน่วยราชการต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน ทีเอไอ ได้ดูแลและซ่อมบำรุงอากาศยานที่ประจำการอยู่ทั้งสิ้น 64 เครื่อง แบ่งเป็นเครื่องบินทางทหาร 53 เครื่อง และพลเรือน 11 เครื่อง รวมทั้งเตรียมการให้ ทีเอไอ เป็นศูนย์ประกอบเฮลิคอปเตอร์ในประเทศไทย เพื่อรองรับการพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ของแอร์บัสระดับโรงงาน ตลอดจนขยายความร่วมมือไปสู่ภาคอุตสาหกรรมการบินระดับโลก โดยสามารถซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ให้กับภาคพลเรือนภายในประเทศ และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
“การที่แอร์บัส เฮลิคอปเตอร์ เข้ามาร่วมมือกับ ทีเอไอ ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อที่จะลดต้นทุนในการซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ให้กับลูกค้าในภูมิภาคนี้ และเพิ่มศักยภาพในการเจาะตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น หากผู้ประกอบการไทยผลิตชิ้นส่วนเฮลิคอปเตอร์ผ่านมาตรฐานที่ แอร์บัส กำหนด ก็จะยิ่งทำให้มีศักภาพในการแข่งขันกับเฮลิคอปเตอร์บริษัทอื่นๆ ได้มากขึ้น” กรรมการผู้จัดการ ทีเอไอกล่าว

นายวีระพงศ์ เพิ่มเติมว่า “หลังจากนี้ สสว. จะร่วมมือกับ ทีเอไอ จัดทำโรดแมปเพื่อดำเนินแนวทางความร่วมมือตามมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยนำร่องสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเจาะตลาดชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์ ตลอดจนการให้บริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอากาศยาน ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะกำหนดสัดส่วนงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างจากเอสเอ็มอี คิดเป็นร้อยละ 30 ของงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง และการกำหนดแต้มต่อด้านราคา เพื่อให้เอสเอ็มอี ที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดร้อยละ 10 สามารถเป็นผู้ชนะการแข่งขันได้ ซึ่ง ทีเอไอ ได้รับสัญญาการซ่อมบำรุงอากาศยานจากกองทัพอากาศปีละ 4.5 พันล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานที่กำหนด สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งจากมูลค่างานของ ทีเอไอ จำนวนนี้ได้ และจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต”

ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานดังกล่าว ยังสามารถต่อยอดไปผลิตอากาศยานในด้านอื่นๆ เช่น การผลิตโดรนเพื่อใช้ในการขนส่ง และโดรนด้านการเกษตรต่างๆ ทั้งการฉีดยา การตรวจสอบสภาพพื้นที่การเกษตร เป็นต้น ซึ่งผลงานต่างๆเหล่านี้ จะนำมาจัดแสดงในงานของกองทัพอากาศเดือน ส.ค. นี้ รวมทั้งยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตได้ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"