19 ส.ค.63-น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์ลงบนเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล ว่า ถ้าเราเห็นคนจนที่ถูกผู้มีอำนาจกลั่นแกล้งมาทั้งชีวิต ถูกปฏิบัติราวกับว่าเขาผิดเองที่เกิดมาจน วันหนึ่งรวบรวมความกล้า ลุกขึ้นมาโต้เถียงกับผู้มีอำนาจ
หรือถ้าเราเห็นเด็กที่ถูกครูบ้าอำนาจกลั่นแกล้งดุด่าด้วยวิธีต่างๆ นานา ถูกปฏิบัติราวกับว่าเด็กผิดเองที่กล้าตั้งคำถาม วันหนึ่งรวบรวมความกล้า ลุกขึ้นมาโต้เถียงกับครู
ถ้าเราได้รับรู้บริบท สถานการณ์ของคนจนและเด็กในกรณีแบบนี้ สิ่งแรกที่เราทำควรจะเป็นอะไร ระหว่างการแสดงความชื่นชมและเอาใจช่วยให้พวกเขาได้พูด เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจและครูรับฟัง หรือจะไปเพ่งเล็งกิริยาอาการที่ใช้ ต่อว่าต่อขานพวกเขาว่าก้าวร้าว ไร้มารยาท หยาบคาย และซ้ำร้ายจะอ้างสิ่งเหล่านี้มาปิดปากพวกเขาไม่ให้พูด
กาลเทศะ กิริยามารยาท — สิ่งเหล่านี้ใช่ว่าไม่สำคัญ แต่บริบทและความเดือดร้อนของผู้ถูกกระทำ ผู้ที่ด้อยอำนาจ ควรจะสำคัญกว่ากันมาก และในเมื่อสิ่งเหล่านี้ในไทยล้วนสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับและสะท้อนวัฒนธรรมอำนาจนิยม จารีตนิยมที่เน้นความเหลื่อมล้ำต่ำสูง .... เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป กระบวนทัศน์คนเริ่มขยับ โครงสร้างอำนาจทางวัฒนธรรมเริ่มเปลี่ยน ความหมายและลักษณะของสิ่งเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่เดิม.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |