19 ส.ค.2563 - นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
โพสต์เฟซบุ๊ก โดยแชร์บทความระบุว่า เป็นบทความที่ดี ทุกคนควรอ่าน ! เครดิต : Prajak Monprasert
ภัยคุกคามไทยในสถานศึกษา
หลายท่านคงเห็นในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย เช่น เด็กมัธยมประท้วงปิดปากยืนนิ่งๆหน้าเสาธง เด็กยืนถือกระดาษเปล่าประท้วงอย่างสงบ เด็กไม่เชื่อฟังคำสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองภายในโรงเรียน เด็กชูสามนิ้วขณะร้องเพลงชาติ ครูไหว้ขอโทษนักเรียน ครูกราบขอบคุณนักเรียนที่มีงานทำ
หลายคนคงสงสัยว่ามันเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นได้อย่างไร? ผมขอเฉลยให้ท่านทั้งหลายได้รู้เบื้องหลังครับ
เมื่อครั้งผมเป็น ผอ.โรงเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ จะมีหนังสือจากกระทรวงฯอนุญาตให้ NGO กลุ่มสิทธิเด็กและเยาวชนเข้ามาบรรยายให้เด็กฟังเกี่ยวกับสิทธิเด็กและเยาวชนตามสิทธิ์หลักสิทธิมนุษย์ชนสากล บางปี NGO จะมาขออนุญาตโดยมีหนังสือจากหน่วยงาน NGO บางครั้งเริ่มสนิทกับครูแนะแนวก็ขอมาบรรยายในชั่วโมงแนะแนว
ผมเป็น ผอ.ที่สนิทกับนักเรียน จะอบรมนักเรียนแทบทุกเช้า จะเล่นกีฬากับเด็กทั้งชายและหญิงช่วงพักกลางวันหรือหลังเลิกเรียน เป็นทั้ง พ่อ ทั้งพี่ ทั้งเพื่อนของเด็ก เมิ่อNGO บรรยายเสร็จ ว่างๆผมก็จะถามเด็กว่าเขาพูดอะไรให้ฟังบ้าง เด็กจะเล่าให้ผมฟังหมด เช่น เขาบอกว่าพ่อแม่รักสนุกเลยทำเราเกิดมา พ่อแม่เลี้ยงดูเราเพราะเป็นหน้าที่ เป็นต้น
เด็กเล่าต่อ หลังจากบรรยายเสร็จ NGO ก็จะเลือกขอเฟส,เบอร์โทรศัพท์เด็กที่พูดเก่ง กล้าแสดงออกเพื่อติดต่อประสานงานปลูกฝังอย่างต่อเนื่อง เขาจะเลือกเข้าบรรยายโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้นไปจะได้เด็กที่มีมันสมองดีหน่อย ส่วนขนาดกลางและขนาดเล็กจะไม่เข้าบรรยาย
สำหรับโรงเรียนผมจะไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังสิทธิเด็กและเยาวชน เนื่องจากผมจะแก้ข้อกล่าวหาการบรรยายหน้าเสาธงทันทีที่ผมทราบข้อมูล และผมเป็น ผอ.ที่สอนให้นักเรียนรู้จักอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ หน้าเสาธงอยู่เสมอ(ลองหาในกูเกิล อ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ราชวินิตบางแคปานขำดูก็ได้) ดังนั้นขอเสนอวิธีแก้ปัญหาเด็กที่ถูกครอบงำจาก NGO
1.โรงเรียนอย่าใช้ความรุนแรงกับเด็กเหล่านี้ ต้องหาครูที่เด็กศรัทธา เด็กรัก พูดคุยกับเด็กได้ สอบถามว่า ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และเด็กได้ผลประโยชน์อะไรบ้าง
2.อธิบายให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ
3.อธิบายว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้เป็นเผด็จการอย่างไร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติจากประชาชนอย่างไร ใครคุกคามเด็กอย่างไรจริงหรือไม่ ยุบสภาตอนนี้ประเทศชาติและประชาชนจะเกิดปัญหาอย่างไร แก้รัฐธรรมนูญแล้วประชาชนได้ประโยชน์หรือนักการเมืองฝ่ายค้านต้องการทวงคืนอำนาจ อนาคตของเด็กจะดีหรือไม่ เกี่ยวอะไรกับไล่นายกออกหรือไม่
ผมอยากเสนอ รมต.กระทรวงศึกษาธิการสักนิด แต่ละโรงเรียนเขาสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนมานานนับทศวรรษ การปกครองนักเรียนควรให้เป็นอำนาจของทางโรงเรียน ท่านไม่ควรเข้าไปยุ่งก้าวก่ายเกินเหตุ เช่น ทรงผมนักเรียนที่เด็กหญิงไว้ผมยาวได้ เด็กชายไว้ผมยาวแต่ไม่เกินตีนผมนั้น มันเกิดในสมัย รมต.พงษ์เทพแล้ว ซึ่งเป็นประชานิยมหาเสียงกับเด็ก
ส่วนโรงเรียนใดจะไว้ทรงตัดเกรียนหรือผู้หญิงต้องตัดสั้นหรือยาว ให้เป็นระเบียบตามอัตลักษณ์ของทางโรงเรียนซึ่งระเบียบมาจากครู ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาและไม่ผิดระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว
หรือการที่ครูสั่งห้ามนักเรียนชู 3 นิ้ว ขณะเคารพธงชาติก็เป็นเรื่องที่ครูไทยทราบถึงธงชาติคือสิ่งแทน 3 สถาบันหลัก ที่ควรเคารพด้วยความสำนึกนอบน้อม ใช้การยืนตรงเป็นการเคารพ 3 สถาบันหลัก หาใช่สิทธิเด็กตามที่ท่านพูดไม่
หากนักเรียนคนใดไม่ชอบอยู่ในระเบียบวินัยของทางโรงเรียน พรบ.การศึกษาก็มีทางให้เลือกอยู่แล้วที่จะไปเรียนการศึกษานอกระบบ หรือเรียนตามอัธยาศัยเรียนที่บ้าน ที่ครอบครัว หรือโรงเรียนของ NGO ก็มีอยู่มากมาย
สิ่งที่ รมต.ควรดำเนินการแก้ไขปัญหาคือ คัดเลือกคณะวิทยากรลงสู่โรงเรียน บรรยายให้นักเรียนทราบถึงสิทธิเสรีภาพตามหน้าที่พลเมืองไทยที่ดี และเวลาเลือกคนไปเป็นวิทยากร ต้องพูดสนุก เสียงดังฟังชัด เป็นกันเองกับเด็กได้ มีความรู้เรื่องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
สรุปว่า 1.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความคิดเด็ก แต่เป็นความคิดและบงการโดยกลุ่มคนคิดร้ายต่อชาติ 2.ม็อบปลดแอกไม่ใช่ความคิดที่บริสุทธิ์ของนักศึกษา แต่เป็นม็อบจัดตั้งที่เตรียมการณ์มาหลายปี 3.ม็อบทั้งเด็กมัธยมและนักศึกษา รวมถึงประชาชนมีสี เกิดจากนักการเมือง NGO และมีนายทุนทั้งกลุ่มการเมืองและต่างชาติอยู่เบื้องหลัง
ด้วยความรักและเป็นห่วงหวงแหนแผ่นดินไทย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |