ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ตัดสินใจเข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ผ่านมา 7 ปี หากไม่นับรวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยพิบัติ หรือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เหตุการณ์การชุมนุมของนักศึกษาขณะนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้ “บิ๊กตู่” หนักใจที่สุด
แน่นอนว่า การชุมนุมของประชาชนปลดแอก หรือของนิสิตนักศึกษาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การชุมนุมแรกที่ “บิ๊กตู่” ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นสมัยบริหารประเทศในนาม คสช. หรือในยุคปัจจุบัน
เพียงแต่ว่า ที่ผ่านมาในสมัย คสช.นั้น การชุมนุมยังเป็นไปในลักษณะของการต่อต้านและคัดค้านการรัฐประหาร ตลอดจนการเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้ง
การชุมนุมในยุค คสช. เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงควบคุมสถานการณ์ได้ ประกอบกับคนในประเทศส่วนใหญ่ ณ ขณะนั้น อยู่ในภาวะเบื่อหน่ายกับการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีระยะห่างกันเพียงไม่กี่ปี
นอกจากนี้ การชุมนุมในช่วงที่ คสช.บริหารประเทศ มักจะเป็นบุคคลหน้าเดิมที่มีภาพสีเสื้อ และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองติดอยู่ จึงทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ผ่านมาได้ไม่ยากนัก
สัญลักษณ์ 3 นิ้ว ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงนี้ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกใช้กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ พล.อ.ประยุทธ์ มาโดยตลอด
ทว่า ครั้งนี้มันต่างออกไป เพราะการชุมนุมครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด
ที่สำคัญคือ เนื้อหาของการชุมนุมเลยเถิดไปเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่บ่อยที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ในประเทศไทย
หากการชุมนุมที่เกิดขึ้นมีนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นแกนนำมาขับเคลื่อนม็อบ หรือถือธงนำเองอยู่หน้าฉาก บางที พล.อ.ประยุทธ์อาจจะไม่อยู่ในภาวะกระอักกระอ่วนใจถึงเพียงนี้ เพราะสามารถจัดการและดำเนินคดีได้ทันที
อย่างที่รู้กันว่า ในทางการเมือง นิสิตนักศึกษา และนักเรียน ถือเป็น “ของแสลง” ของคณะรัฐประหาร หรือรัฐบาลทหารมาตั้งแต่อดีต
ที่ว่า เป็นของแสลงเพราะคนเหล่านี้ กลุ่มเยาวชนเปรียบดังอนาคตของชาติ เป็นพลังที่ถูกยกให้เป็นพลังบริสุทธิ์ ไม่มีใครเห็นด้วยแน่หากจะมีการคุกคาม ใช้กำลัง หรือแม้แต่กฎหมายดำเนินคดี
และแน่นอนว่า หากมีการใช้การคุกคาม ใช้กำลัง ดำเนินคดี หรือแม้แต่การปิดกั้น สกัดกั้น ฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองย่อมต้องถูกตำหนิติเตียน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้บริหารเลย
หากสังเกตดู นับตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่มเยาวชน รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกระทำสิ่งเหล่านี้ แม้แต่การชุมนุมของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ จนเป็นปรากฏการณ์ในสังคมก็ตาม
นอกจากนี้ ผู้บริหารในรัฐบาลแทบจะทุกคน ไม่มีใครออกมาตำหนิติเตียนการชุมนุมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ พร้อมพูดตรงกันหมดว่า เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย แค่ขอให้เคารพสิทธิคนอื่นด้วย หนำซ้ำ พล.อ.ประยุทธ์ และฝ่ายความมั่นคง ต่างออกมาย้ำว่า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้ชุมนุมอย่างดี
รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงขยับแบบละมุนละม่อมเกินไปจนถูกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลเองตำหนิด้วยซ้ำ ว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ห้ามปราม ไม่ดำเนินคดีอะไรเลย
แท้จริงแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้นิ่ง ฝ่ายความมั่นคงไม่ได้นิ่ง แต่เป็นเพราะการขยับเขยื้อนอะไรที่รุนแรงมีแต่จะตอกลิ่มให้สถานการณ์มันเลวร้ายลง
หลายวันมานี้ หรือนับตั้งแต่การชุมนุมของนักศึกษาเมื่อวันที่ 10 ส.ค.เป็นต้นมา ใบหน้า สีหน้าของ พล.อ.ประยุทธ์ดูอมทุกข์
ระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ยกกำลังสองการศึกษาไทย สู่ความเป็นเลิศ” (Thailand Education Eco-System) และการแสดงวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนการศึกษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ ที่อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค เมื่อวันที่ 17 ส.ค. อาการเครียดของ “บิ๊กตู่” แสดงออกอย่างเห็นได้ชัด หลังเกิดปรากฏการณ์นักเรียนชู 3 นิ้วระหว่างเคารพธงชาติในหลายโรงเรียน
การปาฐกถาดูแตกต่างจากหลายๆ ครั้งก่อนหน้านี้ ที่มักจะมีมุก หรือพูดแซวเกิดขึ้น แต่ครั้งนี้กลับดูไม่มีสมาธิ เหมือนครุ่นคิดอะไรอยู่ ดูพะว้าพะวง พูดเฉี่ยวไปเฉี่ยวมาเกี่ยวกับเรื่องนักศึกษาหลายครั้ง แต่ระมัดระวังที่จะใช้คำพูดต่างๆ
เช่นเดียวกับก่อนการแถลงข่าวหลังการประชุมเมื่อวันที่ 18 ส.ค. "บิ๊กตู่" ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ก่อนการแถลง อันบ่งบอกว่ามันเป็นอีกวันที่อึดอัด
หากแต่ ณ สถานการณ์ปัจจุบันมันขยับได้แต่เพียงเท่านี้ นอกเหนือจากนี้อาจยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |