กาแฟฟีเวอร์


เพิ่มเพื่อน    

      เอสเอ็มอี หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และเป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาหลักของกลุ่มนี้คือการขาดตลาดเพื่อระบายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ผ่านมานั้นหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามที่จะเข้าไปช่วยเหลือและส่งเสริม ซึ่งล่าสุดสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และหน่วยงานพันธมิตร จัดทำโครงการ “เชื่อมผู้ผลิต เชื่อมผู้ส่งออก และผู้ซื้อในต่างประเทศ” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และสร้างแรงขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล

                สำหรับโครงการดังกล่าวนั้น จะมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ด้านการส่งออก สร้างเครือข่ายธุรกิจและหาโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทย ผ่านกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มสัดส่วนการค้าของผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าสินค้าโดยมุ่งเน้นในตลาดกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี  (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นการส่งออก โดยหาลู่ทางขยายการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพ โดยเน้น 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง

                เช่นเดียวกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)  ที่นำทัพโดยอธิบดี สมเด็จ สุสมบูรณ์ ที่ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ถึงสถานการณ์ธุรกิจร้านกาแฟและชานมไข่มุกในตลาดกัมพูชา ที่กำลังได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ที่ไม่ใช่แค่กระแส แต่ได้กลายเป็นไลฟ์สไตล์ของคนกัมพูชาไปแล้ว ทำให้ยังมีโอกาสเติบโตสูงต่อเนื่อง

                ทั้งนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า เหตุผลที่บอกว่าร้านกาแฟและชานมไข่มุกไม่ใช่แค่กระแส  เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชาเปลี่ยนไป วันหยุดโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน จะไปนั่งจิบกาแฟ พบปะสังสรรค์หรือนัดคุยธุรกิจตามร้านกาแฟที่มีบรรยากาศดีๆ น่านั่งกันมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจร้านกาแฟได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีแบรนด์ต่างชาติทยอยเข้ามาเปิดตัวกันอย่างต่อเนื่อง ส่วนชานมไข่มุก เป็นสินค้าที่กลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา กลุ่มซื้อกลับบ้านและซื้อแบบเดลิเวอรีให้ความนิยม และปัจจุบันก็มีแบรนด์ชานมไข่มุกจากต่างชาติเข้ามาทำตลาดในกัมพูชามากขึ้น

                ปัจจุบันมีร้านกาแฟและชานมเปิดให้บริการกว่า 300 ร้าน ในกรุงพนมเปญ และประมาณ 500 ร้านทั่วประเทศ โดยแบรนด์ของไทยมีเข้ามาเปิดให้บริการแล้วกว่า 10 แบรนด์ เช่น Amazon, Black Canyon, True Coffee, Inthanin, Arabitia, ดอยช้าง, ดอยหล่อ และชาวดอย เป็นต้น โดยครองส่วนแบ่งตลาด 45% จากร้านกาแฟทั้งหมดในกัมพูชา Amazon และ ส่วนชานมไข่มุก มีแบรนด์ชื่อดัง เช่น Tiger Sugar, The Alley, Dakasi, KOI, The Xing Fu Tang และ Chatime เป็นต้น และแบรนด์ของไทย เช่น Fire Tiger, Crown, ชาตรามือ, Kamu, Moma’s bubble tea, Rin Rin Bubble Milk Tea และ Nobicha เป็นต้น

                จากข้อมูลดังกล่าวถือว่าเป็นโอกาสในการลงทุนของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุน แต่สิ่งสำคัญต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่จะลงทุนก่อน หรือสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือสอบถามมายังสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศก็ได้ และควรจะเดินทางไปสำรวจตลาด พบปะหน่วยงาน บริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามข้อมูลและหาโอกาสทำธุรกิจและทำการประเมิน วางแผนการทำธุรกิจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เพื่อให้ร้านของตนเองมีเอกลักษณ์หรือแตกต่างจากคู่แข่ง

            และไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใด ทั้งลงเอง 100% หรือร่วมทุนกับร้านในท้องถิ่น หรือขายแฟรนไชส์ ทำสัญญาให้ละเอียดชัดเจนและรัดกุม และระวังในเรื่องผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่สามารถทำตามเงื่อนไข ก็อาจทำให้แบรนด์เสียหายได้ รวมถึงสถานที่ตั้งที่มี 2 ทางเลือก คือ ตั้งในห้างสรรพสินค้า มีข้อดีคือ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีคนสัญจรไปมา แต่ค่าเช่า ค่าส่วนกลางค่อนข้างสูง และตั้งร้านแบบนอกห้างสรรพสินค้า (Stand Alone) มีอิสระในการดำเนินกิจการ แต่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และต้องศึกษาศักยภาพของพื้นที่ด้วยตนเอง.

บุญช่วย  ค้ายาดี

.....................................................................................

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"