7สายการบินแห่ทวงสัญญาเยียวยาโควิดจากภาครัฐ


เพิ่มเพื่อน    

 

18 ส.ค.2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทน 7 สายการบินสัญชาติไทย ประกอบด้วย สายการบินไทยสมายล์, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์, นกแอร์, บางกอกแอร์เวย์ส, ไทยเวียตเจ็ท, และไทยไลอ้อนแอร์ ได้เข้าพบ เพื่อขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยติดตามความคืบหน้าการขอให้รัฐบาลช่วยเยียวยาผู้ประกอบการสายการบิน หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ การขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ซึ่งเบื้องต้นทราบว่ากระทรวงการคลัง ได้มอบให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการแล้ว แต่ติดปัญหาการประเมินเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่าจะนำเรื่องการขอกู้สินเชื่อฯ หารือกับนายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอีกครั้ง ว่าจะสามารถใช้วิธีเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นทุน ด้วยการนำใบอนุญาตประกอบการกิจการค้าขายในการเดินอากาศใหม่(AOL) ซึ่งเป็นใบอนุญาตฯ ที่ได้รับจาก กพท. แปลงเป็นทุนได้หรือไม่ เพราะถือเป็นใบสำคัญที่สามารถนำมาหารายได้ และนำไปเช่าซื้อเครื่องบินได้ ทั้งนี้อยากให้ทุกฝ่ายเดินไปได้ด้วยกัน ไม่อยากให้ผู้ประกอบการประสบกับสภาวะที่ไปไม่รอด เพราะจากการพิจารณาเบื้องต้นโครงสร้างของแต่ละสายการบินยังแข็งแรงอยู่ และขณะนี้เริ่มกลับมาทำการบินเส้นทางภายในประเทศ และมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บางสายการบินมีผู้โดยสารภายในประเทศกลับมาแล้วประมาณ 80%

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังขอขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน จาก 4.726 บาท/ลิตร เหลือ 0.20 บาท/ลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดสิ้นเดือน ก.ย.นี้ และขยายเวลาการลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน(Landing) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking) ในอัตรา 50% ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน ธ.ค.นี้ออกไปอีก ขณะเดียวกันขอให้ปลดล็อกให้ผู้ประกอบการสายการบินสามารถจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินได้ตามปกติ โดยมอบให้ผู้ประกอบการไปจัดทำรายละเอียดมาว่า จะมีวิธีการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินอย่างไร รวมถึงจะมีอะไรเป็นหลักประกันว่าเมื่อเปิดให้จำหน่ายอาหารฯ แล้วจะไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะเวลานี้เกือบครบ 100 วันแล้วที่ไม่มีการแพร่ระบาดภายในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่อยากให้มีปัญหาเกิดขึ้น และต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามวันที่ 19 ส.ค.นี้ จะนำข้อเสนอต่างๆ ของผู้ประกอบการสายการบินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณา รวมทั้งจะนำข้อเสนอที่ผู้ประกอบการสายการบินเสนอให้นำ PCR TEST ซึ่งเป็นระบบตรวจหาโควิด-19 ที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขหลายประเทศให้การยอมรับ และมีความแม่นยำสูง มาใช้ที่สนามบินในประเทศไทยด้วย โดยหากนายกรัฐมนตรี และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เห็นว่าเป็นประโยชน์จริง อาจนำมาทดสอบต่อไป

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ กพท. กล่าวว่า การห้ามจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินที่ทำการบินต่ำกว่า 4 ชั่วโมงเป็นไปตามระเบียบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่ง กพท. ออกประกาศบังคับสายการบินไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เวลานี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น และมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ร้านอาหารก็ขายอาหารตามปกติ ทางสายการบินจึงขอให้ปลดล็อคเรื่องการห้ามขายอาหารฯ บนเครื่องบิน เพราะการขายอาหารฯ บนเครื่องบิน นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับสายการบินแล้ว ยังกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมให้กับประเทศด้วย

นายจุฬา กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะนำเรื่องการเปิดให้สายการบินสามารถขายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินไปหารือกับสายการบิน และ สธ. ก่อน หากไม่มีปัญหาอะไร คาดว่าจะยกเลิกประกาศ กพท. ฉบับเก่า และออกประกาศ กพท. ฉบับใหม่ โดยให้สายการบินเปิดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้ เฉพาะสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศเท่านั้น เบื้องต้นคาดว่าจะให้เริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ เป็นต้นไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"