18 ส.ค.63- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่าสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลก 18 สิงหาคม 2563
ตอนนี้ยอดรวม 21,981,219 คน ตอนสายจะทะลุ 22,000,000 คน เมื่อวานติดเพิ่ม 190,023 คน ตายเพิ่ม 3,923 คน
อเมริกา ติดเพิ่ม 37,804 คน รวม 5,600,693 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 19,374 คน รวม 3,359,570 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 54,288 คน รวม 2,701,604 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 4,892 คน รวม 927,745 คน
แอฟริกาใต้ เม็กซิโก ติดเพิ่มกันหลายพัน เปรูยังไม่มีรายงาน
เยอรมัน อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ติดกันหลักพันอย่างต่อเนื่อง
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน ออสเตรเลีย ติดกันหลายร้อย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เกาหลีใต้ ขยับมาเป็นหลักร้อยเช่นกัน
ส่วนจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ติดเพิ่มกันหลักสิบ และนิวซีแลนด์เมื่อวานมีรายงานเพิ่มอีก 9
...สำหรับเวียดนาม ตอนนี้การระบาดระลอกสองยังเป็นไปต่อเนื่อง ล่าสุดมีรายงานว่า จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่นั้น มีทั้งจากการติดเชื้อภายในประเทศเอง และจากการเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ...
ดูสถานการณ์เค้าแล้วหวนมาพิจารณาของไทยเรา ตอนนี้เรามีเคสใหม่มาจากคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่เป็นคนต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศตามกฎเกณฑ์ที่ศบค.อนุญาต แต่เรายังไม่มีการระบาดในประเทศ...หวังใจว่า เราจะช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำเหมือนประเทศอื่นๆ ได้
รัฐควรลด ละ เลิก การนำความเสี่ยงเข้ามาจากต่างประเทศหากไม่จำเป็นอย่างยิ่งยวด และควรหากลไกที่จะช่วยทำให้ทุกคนในสังคมที่มีความคิดความเชื่อหลากหลาย ได้สามารถที่จะนำเสนอแนวคิดแก้ไขปัญหาประเทศผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการรวมตัวกันในลักษณะชุมนุมแออัด
ยังยืนยันว่า ฟองสบู่ท่องเที่ยว...จำเป็นต้องยุติไปก่อนอย่างน้อยอีก 6 เดือน เพราะสถานการณ์การระบาดรุนแรงทั่วโลก หากทำ...หายนะแน่นอน
นอกจากนี้ ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว ที่รัฐควรจัดจุดบริการตรวจโควิด ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายในชุมชน นอกเหนือไปจากในสถานพยาบาล...ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้ เวลาฉุกละหุก จะวุ่นวายมาก
...วันก่อน Bloomberg รายงานว่า ยอดการกินพิซซ่าในอเมริกานั้นมากขึ้น แต่ปัญหาที่กำลังประสบอยู่ตอนนี้คือ ขาดแคลนคนงานในโรงงานสุกร และส่งผลให้ราคาเนื้อหมูแพงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้มีโอกาสที่จะขาดแคลน pepperoni ซึ่งเป็นพิซซ่าหน้ายอดนิยมในอเมริกาอีกด้วย...
ที่เล่ามานั้นก็เป็นตัวอย่างผลกระทบของโควิดต่อเรื่องอื่นๆ ที่เราเจอในชีวิตประจำวันได้ อย่างที่เคยบอกไปวันก่อนว่า ถ้าการระบาดยังรุนแรงไปเรื่อยๆ อีกสัก 6 เดือน จะเจอผลกระทบอื่นๆ ได้ เช่น การขาดแคลนยา เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรเตรียมแผนรองรับไว้ด้วย ทั้งระดับประเทศเอง และทั้งระดับประชาชนแต่ละคน หากใครมีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ก็ควรที่จะสำรองยาไว้เผื่อเช่นกัน แต่ก็ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำตัวด้วยนะครับ
ใส่หน้ากากเสมอ...ล้างมือบ่อยๆ...อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร
พูดน้อยลง ลดการตะโกนตะเบ็ง
พบปะคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร
คอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว
หากไม่สบาย ควรหยุดเรียน หยุดงาน และรีบไปตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยตัดวงจรการระบาดได้
ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |