ประเทศไทยมีพื้นที่ต้นน้ำทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 24.18 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยภาคเหนือมีพื้นที่ต้นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 46.30 รองลงมาคือภาคใต้ และภาคอื่นๆตามลําดับ โดยในปี 2559 กรมป่าไม้ได้ระบุว่าพื้นที่ป่าไม้ในไทยมีอยู่เพียงร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือเท่ากับ 102.17 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 0.02 หรือประมาณ 65,500 ไร่ จากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำแล้ง แผ่นดินถล่ม และในวิกฤติภัยแล้งในรอบหลายปีที่ประเทศไทยเผชิญ ทำให้ต้องย้อนเข้าไปดูสาเหตุ นั่นก็คือป่าต้นน้ำ โดยเฉพาะป่าต้นน้ำปิง วัง ยม น่าน ที่เป็นเส้นเลือดหลักของการหล่อเลี้ยงแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นเหตุให้บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จัดกิจกรรม WE GROW ปลูกเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคการศึกษาและประชาชน โดยในปี 2563 เริ่มต้นปลูกในพื้นที่บ้านดอนไชยป่าแขม อ.ปง จ.พะเยา จำนวน 1,000 ต้น ประมาณ 5 ไร่ พร้อมกับชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้ามาร่วมช่วยปลูกกว่า 250 คน
นายกมล เชียงวงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า สำหรับเรื่องของการอนุรักษ์ป่า ดิน น้ำ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวิกฤติโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและร่วมมือกันในการหาแนวทางการป้องกัน ซึ่งในพื้นที่จังหวัดพะเยามีป่ากว่า 2 ล้านไร่ และมีพื้นที่เขาหัวโล้นไม่มาก เพราะปัญหาการบุกรุกป่าค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญในการวางแผนพัฒนา โดยได้มีแนวทางในการปลูกป่าในพื้นที่อุทยานและปลูกป่าชุมชน ซึ่งกิจกรรม WE GROW ก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การเพิ่มพื้นที่ป่าและอนุรักษ์ป่า โดยจะมีการวางแผนดำเนินงานต่อไป
กมล กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่อำเภอปงเป็นอำเภอต้นน้ำยมที่เราต้องการเพิ่มต้นไม้ คืนความชุ่มชื้นให้แก่ดิน ต่อไปในอนาคตหากต้นไม้ที่ปลูกได้เติบโต ชาวบ้านก็สามารถมาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังได้มีการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่หนองเล็งทราย แม่ใจ ในการทำผังน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณให้เพียงพอกับคนในพื้นที่ เพราะปริมาณน้ำท่าทั้งหมดกว่า 2 พันล้านลูกบาศก์เมตร/ปี เก็บไว้ใช้ได้เพียง 159 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่ความต้องการใช้น้ำอยู่ที่ 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ดังนั้น การพัฒนาที่หนองเล็งทรายในการทำประตูบังคับน้ำและขุดคลองพัฒนาไปกว่า 11 กิโลเมตร จะทำให้มีน้ำเพิ่มขึ้น 20 ล้านลูกบาศก์เมตรเกษตรกรจะได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอในหน้าแล้ง
นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัดหรือ ซีพี กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นยังช่วยดูดซับคาร์บอน ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน และลดภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งในการสร้างป่าต้นน้ำทางภาคเหนือ ตลอดจนทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2563 ได้ตั้งเป้าจะปลูกต้นไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง วัง ยมและน่าน รวม 100,000 ต้น จากช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ 4 ต้นน้ำไปแล้วกว่า 5 แสนต้น พื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ ทั้งนี้ ในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต้นน้ำจะสามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งได้ แต่อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งทางพื้นที่ได้มีการวางแผนเตรียมการปลูกต้นไม้ในทุกปี
" เราจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เข้ามาร่วมสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อน สร้างการรับรู้ให้ผู้คนเกิดการตระหนัก ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ เราเชื่อว่าหากทุกคนช่วยกันจะสามารถสร้างการตื่นตัวให้กับหน่วยงานอื่นได้พบเห็นมากยิ่งขึ้น" ผู้บริหารซีพี กล่าว
นายจอมกิตติ กล่าวอีกว่า ในปีนี้ได้เริ่มต้นจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต้นน้ำยม ที่บ้านดอนไชยป่าแขมเป็นแห่งแรก เพราะในอดีตบริเวณพื้นที่นี้มีการรุกป่า กลายเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ก่อให้เกิดปัญหา เกิดการเสียสมดุลในระบบนิเวศ เมื่อน้ำป่าไหลหลากจะเกิดน้ำท่วมทุกปี และไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้การเกษตรในช่วงหน้าแล้งได้ หรือบางครั้งปริมาณน้ำอาจเพิ่มได้ แต่ยังไม่ได้เต็มที่ตามความต้องการของพื้นที่ เพราะต้นไม้ 1,000 ต้น อาจจะสามารถช่วยการกักเก็บน้ำได้ประมาณหนึ่ง ซึ่งการปลูกต้นไม้เพิ่มอาจจะยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการใช้น้ำได้ทั้งหมด ต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่านี้อีก แต่หากได้รับความร่วมมือจากทางภาคประชาชน สังคม และราชการ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการร่วมกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่บ้านดอนไชยป่าแขมเพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นข่าวดีที่น้ำจะมีมากขึ้น อุดมสมบูรณ์ขึ้น นับเป็นการฟื้นฟูและเกิดการพัฒนา เพิ่มรายได้มาสู่ชุมชน เกษตรกร
นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กาแฟ ไผ่และไม้ยืนต้น ไม่ได้ฟื้นฟูแค่ป่า แต่นำมาซึ่งรายได้สู่เกษตรกร และยังช่วยในเรื่องลดการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง เริ่มต้นปลูกในจำนวน 1,000 ต้น และจะทยอยปลูกต้นไม้ไปจนครบตามเป้าที่ 10,000 ต้น แบ่งเป็น ต้นแคนา ราชพฤกษ์ ต้นหว้า พะยูง ตะเคียนทอง สารภี ยางนา สัก ไผ่ และมะม่วง
" เรายังได้ร่วมกับชาวบ้านในชุมชนในระยะเวลากว่า 2 ปี ในการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม 78 ครัวเรือน โดยใช้วัตถุดิบที่มีในพื้นที่อย่างฟางข้าวโพด หรือข้าว และมูลวัว โดยได้มหาวิทยาลัยแม่โจ้มาถ่ายทอดองค์ความรู้และมีการทดสอบคุณภาพปุ๋ยกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มีการผลิตล็อตแรกออกมาแล้วได้ 23 ตัน โดยจะจำหน่ายในราคา 25 กิโลกรัม/125 บาท นำไปสู่การสร้างแบรนด์และการขับเคลื่อนทางการตลาด ทั้งนี้ ยังส่งเสริมให้ชุมชนเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างอาชีพที่ยั่งยืนโดยการปลูกไผ่และพืชมูลค่าสูง อย่างกาแฟโรบัสต้า ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ราบเป็นการเพิ่มอาชีพทางเลือก เพราะยังมีช่องทางการตลาดที่ต้องการตัววัตถุดิบนี้อยู่ นับว่าเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรและเกิดการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม” จอมกิตติ กล่าว
นายทองอยู่ เตรียมสอน ชาวบ้านบ้านดอนไชยป่าแขม อ.ปง จ.พะเยา เล่าว่า เมื่อก่อนพื้นที่ตรงนี้จะมีต้นไม้เยอะ บริเวณรอบๆ ก็จะมีลำน้ำงิม, ลู และเงิน ที่ชาวบ้านแถวนี้เอาไว้ใช้ และไหลลงไปรวมกันที่แม่น้ำยม ส่วนป่าไม้พออยู่มาเรื่อยๆ ก็เห็นต้นไม้ค่อยๆ ลดลงไป อีกทั้งตรงพื้นที่นี้บางส่วนชาวบ้านก็มาทำไร่ทำสวน โดยได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ แต่ในช่วงหน้าฝนก็จะมีปัญหาของน้ำหลาก หน้าแล้งน้ำแห้งพืชผลไม่ค่อยดี พอได้เห็นการเข้ามาฟื้นฟูป่าและปลูกต้นไม้ก็ดีใจ เพราะตนก็จะเป็นอีกแรงในการช่วยดูแลให้ต้นไม้เหล่านี้เจริญเติบโต
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |