อดีตรองอธิการบดีฯมธ.ทวนความจำ พฤษภาทมิฬยุติเพราะพระบารมีร.9


เพิ่มเพื่อน    

17 ส.ค.63- รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ว่าได้เห็นข้อความที่มีคนแชร์กัน เป็นข้อความของ ศ.ดร.ธงชัย วินิจกุล ตัดสินว่าการขึ้นปราศรัยของแกนนำ บนเวทีที่ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่มีอะไรผิด โดยมีเหตุผลว่า

“ผู้ขึ้นปราศรัยทำผิดเพียงเพราะว่านำสิ่งที่ผู้ใหญ่ซุบซิบนินทากันในที่ลับ มาพูดอย่างมีวุฒิภาวะใน ที่แจ้ง “

เป็นความเห็นคล้ายกับอ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่นอกจากบอกว่ามีกทรซุบซิบนินทาอยู่แล้ว ยังเชิญชวนให้ผู้ที่เคยซุบซิบนินทามาร่วมขบวนการด้วย

ผมกับอ.ธงขัย มีความคุ้นเคยกันพอสมควร เมื่อผมเริ่มเข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2521 อ.ธงชัยเพิ่งกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อ หลังจากได้รับการนิรโทษกรรมจากคดีการชุมนุม ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519

เมื่อผมรับตำแหน่งผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา(ปัจจุบันเรียกผู้ช่วยอธิการบดี) อ.ธงชัย แม้ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆของนักศึกษา แต่ก็ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์(อมธ)

ผมจึงไม่แปลกใจ เพราะพอจะทราบแนวความคิดของอ.ธงชัยพอสมควร

ผมไม่ปฏิเสธว่า มีการการซุบซิบนินทากันในที่ต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์จริง เนื่องจาก พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่างก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเช่นเดียวกับเราๆ

แต่ละพระองค์อาจมีจุดอ่อนที่เป็นเหตุให้คนนำมาซุบซิบนินทากันในที่ลับ
มากบ้างน้อยบ้าง

แต่การซุบซุบนินทาไม่เหมือนกับการ ดูหมิ่น เยาะเย้ย ถากถาง กล่าวหา ให้ร้าย ครั้งแล้วครั้งเล่าบนเวทีซึ่งเป็นที่สาธารณะในวันนั้น ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นการแสดงออกที่มีวุฒิภาวะสักเท่าไหร่

ที่สำคัญที่สุดคือ คนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะซุบซิบนินทาหรือไม่ก็ตาม ยังคงคิดว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญและมีคุณูประการต่อประเทศชาติ และไม่ต้องการให้มีใครล้มล้าง เปลี่ยนการปกครองไปเป็นระบอบประธานาธิบดี

คนส่วนใหญ่ไม่ได้มองที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ แต่มองที่สถาบันพระมหากษัตริย์โดยรวม และคุณูปการที่พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ที่ทรงมีต่อประเทศไทย

เมื่อครั้งมีการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาและประชาชนในประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ.2531 นักศึกษาพม่าต้องเผชิญกับการปราบปรามของรัฐบาลทหาร เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 3 พันคน

ยังจำได้ว่าในช่วงนั้น ผมนั่งทำงานในห้องทำงานที่ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนทนาเรื่องการประท้วงข้างต้น กับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันท่านก็มีความเห็นสนับสนุน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กับข้อเรียกร้อง 10 ข้ออย่างสำคัญ

เราพยายามวิเคราะห์การประท้วงของนักศึกษาพม่า ที่ลุกลามบานปลายจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ต่างจากการประท้วงในประเทศไทย ที่ไม่เคยมีการลุกลามถึงขั้นนั้น ว่าเป็นเพราะเหตุใด

ผมเอ่ยขึ้นว่า

“เป็นเพราะพม่าไม่มีพระเจ้าอยู่หัวแบบประเทศไทย”

ท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านนั้นกล่าวตอบว่า

“ อาจารย์พูดถูก”

หลังจากนั้นอีก 4 ปี ก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่หวุดหวิดจะเกิดการนองเลือดอย่างมาก แต่ก็เป็นเพราะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เหตุการณ์จึงสงบลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ต่อมาพรรคสามัคคีธรรมซึ่งเป็นพรรคสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร(รสช) พยายามเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ แต่เป็นเพราะพระองค์ท่าน และประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาในขณะนั้นคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่ทำให้ประชาชนเฮกันทั้งประเทศ ด้วยความสะใจ เพราะนายกรัฐมนตรีที่โปรดเกล้าฯลงมาไม่ใช่ พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ แต่เป็น คุณอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดคนหนึ่งของประเทศ

ลืมเรื่องนี้กันแล้วหรือครับ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"