นักวิจัยรามาเจ๋ง ค้นพบยีนคนไทยแพ้ยา “แบคทริม” หรือกลุ่มยาปฎิชีวนะ ซัลฟา เป็นครั้งแรกของโลก 


เพิ่มเพื่อน    

 

16ส.ค.63-รศ.ดร.ชลภัทร สุขเกษม หัวหน้าห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยโครงการ “เภสัชพันธุศาสตร์ต่อการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังรุนแรงในคนไทย” กล่าวว่า ยาแบคทริม (Bactrim) หรือ Sulfamethoxazole Trimethoprim เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาซัลฟา ที่ใช้รักษารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก  มีรายงานว่าคนไทยมีอาการแพ้มากที่สุดเป็นลำดับหนึ่ง และจากข้อมูลของกระทรวงสาธาณสุขเป็นยาฆ่าออกฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่แพทย์จะใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส แต่พบอัตราการแพ้ยาสูงทำให้แพทย์กลัวการใช้ยากับคนไข้กลุ่มนี้มาก

“เป็นที่น่ายินดีว่า ทีมวิจัยรามา ค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นแพ้ยา โดยเฉพาะการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง ผู้ป่วยที่มียีนแบบนี้จะมีโอกาสแพ้ยามากกว่าคนปกติหลายร้อยเท่า นำมาสู่การพัฒนาการตรวจยีนแพ้ยาก่อนที่จะให้ยาเพื่อลดโอกาสเสี่ยงแพ้ยาในยาหลายชนิด ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการตรวจยีนแพ้ยา HLA B*15:02 สำหรับโอกาสแพ้ยากันชัก carbamazepine ที่สิทธิบัตรทองของเราครอบคลุมการตรวจนี้ด้วย” หัวหน้าทีมวิจัย กล่าว

 

ดร.ชลภัทร กล่าวว่า จากการศึกษาแบบ case-control ในคนไทย เพื่อหาความเสี่ยงพบว่า หากมีความผิดปกติของยีน HLA B*15:02 และ HLA C*08:01 จะสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson's Syndrome ที่เราเห็นผิวลอก ผื่นขึ้น เยื่อบุตา เยื่อบุปากไหม้ หากมีความผิดปกติของยีน HLA B*13:01 จะสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบ DRESS (Drug Reaction with Eosinophillia and Systemic Symptoms) ซึ่งมีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตพอๆกัน โดยเฉลี่ยคนที่มียีนผิดปกติจะเพิ่มโอกาสแพ้ยามากกว่าคนที่ยีนไม่ผิดปกติประมาณ 15 เท่า

 
“ผลงานงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติระดับโลก อย่าง Clinical Pharmacology and Therapeutics Impact factors 7.266 (Q1), JCR ลำดับที่ 16/ 270 (pharmacology and pharmacy)  โดยจัดให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ของโลกที่แสดงให้เห็นว่า PGx marker ของการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังชนิดรุนแรงของยา Co-trimoxazole มีลักษณะเฉพาะเจาะจงต่อรูปแบบการแพ้ยา โดยผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับความสนใจจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล กำลังนำไปศึกษาต่อยอดเพื่อขยายผลต่อไป” รศ.ดร.ชลภัทร กล่าว

 

ดร.ชลภัทร สุขเกษม กับนักวิจัยจากรามาฯ ที่ไปทำงานกับมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล


หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวด้วยว่า นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่ทำโดยนักวิจัยไทย เพื่อประชาชนไทย ในอนาคตเราจะเห็นข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ของคนไทย และสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพและผลเสียน้อยลง ลดอาการแพ้ และลดเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ เนื่องจากการตรวจยีนแพ้ยาราคาที่ไม่แพงมาก เนื่องจากเราทำเองได้ และในอนาคตก็อยากให้ผลักดันเข้าสิทธิบัตรทอง เพื่อการเข้าถึงการให้บริการต่อประชาชนอย่างทั่วถึง

Prof.Sir Munir Pirmohamed แห่งมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"