'ช่อ'กระทุ้งสื่อเป็นเสียงแห่งเหตุผลทำหน้าที่คนกลางแก้วิกฤตการเมือง


เพิ่มเพื่อน    


16 ส.ค. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. น.ส.พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า พร้อมด้วยนายชำนาญ จันทร์เรือง อดีตกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องสถานการณ์การเมือง ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง ณ โรงแรมมณีจันทร์รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี โดยมี ส.ส.จากพรรคก้าวไกล นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. เขต 1 พิษณุโลก และ น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.เขต 3 จันทบุรี รวมถึงนายศิริพงษ์ รัศมี ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคพลังประชารัฐ ร่วมเวทีด้วยในฐานะกรรมาธิการ

ในเวทีดังกล่าวมีการแลกเปลี่ยนกันเรื่องการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาอย่างกว้างขวาง ซึ่ง น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า การชุมนุมของนักศึกษาวันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที แต่เป็นการสั่งสมความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำเล่าในระบบรัฐสภา ตั้งแต่หลังเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 เมื่อประชาชนเห็นว่าเสียงของพวกเขาในสภาแก้ปัญหาไม่ได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงต้องออกมาตะโกนส่งเสียงด้วยตนเอง และเมื่อตะโกน เสียงย่อมดัง ข้อความหลายส่วนก็แหลมคม เช่นการเสนอการปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ การเรียกร้องในเรื่องที่แหลมคมเช่นนี้ ย่อมมีผู้ไม่สบายใจ ตกใจ กระทบกระเทือนใจ แต่มันคือการนำปัญหาที่พูดกันในที่ลับขึ้นสู่เวทีสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติ ก็คือการเปิดใจ พูดคุยกันอย่างมีหลักการและเหตุผล อย่างมีวุฒิภาวะ 

น.ส.พรรณิการ์ ย้ำว่า ผู้ที่จะทำหน้าที่สนับสนุนการพูดคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ หลีกเลี่ยงการสร้างความเกลียดชังและการนองเลือด นอกจากสภา รัฐบาล ก็คือสื่อมวลชน ที่ผ่านมาในฐานะอดีตสื่อมวลชน ตนกังวลใจอยู่ว่าข้อเสนอและจุดยืนของนักศึกษา ไม่ถูกนำเสนอในสื่อหลักส่วนใหญ่ มีเพียงการนำเสนอแบบปลุกปั่น โดยสื่อบางสื่อก็โหมกระพือวาทกรรมชังชาติ-ล้มเจ้า ซึ่งอาจเป็นการเปิดทางให้นักศึกษาตกเป็นเป้าของการใช้ความรุนแรง ทั้งจากรัฐและประชาชน เหมือนในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สังเกตว่าสื่อเริ่มปรับตัว โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เริ่มกล้านำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง 10 ข้อของนักศึกษามากขึ้น สื่อทีวีช่องใหญ่ๆ ก็เริ่มจัดรายการเชิญนักการเมือง นักวิชาการที่เห็นต่างมุมมาถกเถียงแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และอยากเรียกร้องให้สื่อทำหน้าที่สื่อกลาง เวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายนักศึกษากับฝ่ายรัฐและกลุ่มอนุรักษ์นิยมอย่างมีเหตุผล ยึดหลักการ เพื่อเลี่ยงความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ที่อาจนำไปสู่เหตุนองเลือดได้

“ในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ นี่คือโอกาสที่สื่อจะได้แสดงบทบาทอันตรงตามจรรยาบรรณสื่อ ใครๆ ก็พูดว่าสถานการณ์กำลังจะเดินไปสู่ 6 ตุลาฯ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ สื่ออย่างดาวสยาม วิทยุยานเกราะ ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เลือด ว่ามีส่วนสำคัญในการปลุกปั่นสร้างความเกลียดชังจนถึงขั้นคนไทยลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง แต่ครั้งนี้ สื่อจะได้มีโอกาสจารึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ว่าเป็นเสียงแห่งเหตุผล ไม่ใช่เครื่องผลิตความเกลียดชัง เป็นผู้เปิดเวทีให้คนคิดต่างได้มาคุยกัน หาทางออกร่วมกัน พาสังคมไทยเลี่ยงจุดจบนองเลือด เดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสันติได้”

นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนายังได้สอบถามถึงกรณีที่มีสื่อมวลชนบางเจ้า ที่เสนอข่าวยุยงปลุกปั่น สร้างความเกลียดชัง กล่าวหาว่านักการเมืองอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของนักศึกษา ว่าคณะกรรมาธิการฯ จะจัดการกรณีเช่นนี้อย่างไร นายปดิพัทธ์ ในฐานะประธานกรรมาธิการ ยืนยันว่า ตนเองไม่เห็นด้วยกับการกดดันสื่อ เนื่องจากทราบกันดีว่าพรรคก้าวไกล และอดีตพรรคอนาคตใหม่ ตกเป็นเป้าการโจมตีของสื่อบางเจ้า หากตนเองในฐานะประธานกรรมาธิการฯ เรียกสื่อมาสอบ หรือใช้อำนาจกดดันสื่อที่โจมตีพรรคตนเอง ก็เป็นเรื่องไม่เหมาะสม 

แต่สิ่งที่กรรมาธิการฯ จะทำได้ ก็คือการตรวจสอบการทำงานของ กสทช. ว่าเที่ยงตรงเป็นธรรมหรือไม่ เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานของสื่อโดยตรง ส่วนกรณีเสนอข่าวเท็จ สร้างความเกลียดชัง เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้กรรมาธิการฯยังจะติดตามบทบาทของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะกระทรวงที่ดูแลเรื่องข่าวปลอมและการใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนในปัจจุบัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"