'สุภิญญา-อดีตกสทช.' ปลื้มน้องนิเทศจุฬาฯ ทวงคืนจรรยาบรรณสื่อ


เพิ่มเพื่อน    

15 ส.ค.63 - นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้

วันนี้เห็นข่าวน้องๆทั้งที่เตรียมอุดมและที่จุฬาฯ ฝ่าฝนออกมาแสดงออกทางการเมือง รวมทั้งรุ่นน้องคณะนิเทศศาสตร์ที่ตั้งคำถามกับสื่อด้วยแล้วก็ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวสักเล็กน้อย ในฐานะรุ่นพี่ที่อายุก็เป็นรุ่นแม่ได้แล้ว แพสชั่นเราก็น้อยลงไปทุกที แต่เห็นคนรุ่นลูกมีพลังทางการเมืองยุคนี้ก็อดที่จะเป็นกำลังใจให้ไม่ได้ แม้จะเป็นห่วงในสถานการณ์บ้านเมืองยามนี้ รวมไปถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศด้วย อีกทั้งคนที่ต้องถูกดำเนินคดี ในรายละเอียดบางประการจะเห็นเหมือนเห็นต่างบ้าง แต่ก็อยากให้ผู้ใหญ่รับฟังเสียงของเด็กเยาวชนนักเรียนนักศึกษา แม้ลูกๆหรือน้องๆจะเห็นโลกมาน้อยกว่าเราแต่เธอและเขาก็มีความฝัน ความหวัง มีแพสชั่นที่อยากจะเปลี่ยนแปลงโลกแทนที่จะคิดถึงแต่ชีวิตตนเองไปวันๆด้วยการยอมเอาตัวเองมาเสี่ยง อย่าคิดว่าเขาถูกจูงจมูก แต่ให้คิดว่าเขามีพลังศรัทธาตามช่วงวัยของเขา วัยแสวงหา​ในสังคมที่ปัญหาเยอะขนาดนี้ เรียนจบไปก็เสี่ยงจะตกงาน ถ้าไม่มีความเป็นขบถตั้งคำถามต่อโครงสร้าง​สังคมในช่วงวัยนี้ วัยที่เธอและเขาโตกว่านี้ก็คงต้องรับผิดชอบครอบครัวมีข้อจำกัดมากมายตามมา อันไหนที่เราไม่เห็นด้วยกับน้องๆก็ลองนั่งคุยกันดีๆ การเข้าไปขอคุยกับคนที่อายุน้อยกว่าเป็นเรื่องที่ดีงาม มากกว่าการใช้อำนาจบังคับให้เขาหรือเธอหยุดพูด เพราะจะยิ่งคุยกันไม่รู้เรื่อง ในอุดมการณ์ทางการเมือง ยากจะพูดว่าใครถูกหรือผิดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนในด้านกฎหมายจริงๆก็อยู่ที่ดุลยพินิจ ดังนั้นบางครั้งความขัดแย้งทางการเมืองควรแก้ด้วยธรรมะหรือความเป็นมนุษย์คือใช้หลักเมตตาธรรมค้ำจุนโลก จากนั้นตามด้วยข้อเท็จจริง และ ความมีเหตุมีผล เพื่อหาจุดที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้ แน่นอนไม่ง่ายเลย แต่เป็นความท้าทายในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ก็ฝากให้คุณลุงคุณป้าที่มีอำนาจช่วยพิจารณาด้วยค่ะ

Compassion is a key to solve a deep conflict.

ขอพูดเรื่องหน้าที่ของสื่อนิดนึง เพราะสื่อถูกตั้งคำถามเยอะมากเลยช่วงนี้ โดยเฉพาะดิจิทัลทีวี ที่เหมือนโลกคู่ขนานกับทวิตเตอร์ เพราะคนดูทีวีจะรู้จักแต่ลุงพลคุยกันถึงราวกับเป็นไอดอล ในขณะที่ทวิตเตอร์แทบไม่มีใครไม่รู้จักทนายอานนท์กับเพนกวิน ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม คือใครรับข้อมูลข่าวสารทางไหนก็จะอินเรื่องนั้น คนดูทีวีกับคนใช้ทวิตเตอร์จึงเหมือนอยู่คนละโลกเดียวกัน เพราะสื่อยุคนี้กระจายตัวคนมีทางเลือกมากขึ้นด้วย เรื่องที่คนรุ่นลูกคุยกันคนรุ่นพ่อแม่คือตามไม่ทันแล้ว จะโทษหรือให้เครดิต กสทช.ก็ได้ทั้งหมด ทั้งในแง่ประมูลทีวีดิจิทัลหลายช่องเทคโนโลยีล้ำสมัยแต่ก็มากำหนดวาระข่าวอาชญากรรมให้กลายเป็นเรียลลิตี้โชว์แบบลุงพลได้ หรือ จะในแง่การเร่งประมูล4G-5Gจนคนทั้งประเทศโดยเฉพาะดิจิทัลเนทีฟใช้เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเชิงลึกแบบที่ไม่มีให้ดูในโทรทัศน์ จนยากที่รัฐจะไปสกัดกั้นได้ทันแล้วล่ะ (เป็นผลจากงาน กสทช.ทั้งสองเรื่องเลย รับมาทั้งก้อนอิฐและดอกไม้แล้วแต่มุมมองของใคร)

ถ้าพูดถึงแนวคิดเรื่องสื่อกับการเมือง ทุกยุคสมัยก็จะมีความหวังให้สื่อทำหน้าที่หลายประการ โดยสรุปสื่อมักจะทำ 3 บทบาท คือ

1. To stabilize หรือสื่อที่คอยเป็นกระบอกเสียงให้ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ

2. To restrain หรือสื่อที่คอยตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายที่มีอำนาจรัฐไม่ให้ล้ำเส้น

3. To change หรือสื่อที่มุ่งหวังในการท้าทายหรือเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจรัฐ หรือ สมัยก่อนเรียกกันว่าสื่อเลือกข้างนั่นเอง

ในทุกสังคมปฏิเสธไม่ได้ว่ามีสื่อทั้งสามรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองว่ายุคไหนบทบาทใดจะโดดเด่น ความเห็นส่วนตัวขอเสนอว่า ไม่ว่าสื่อจะเลือกทำบทบาทไหน ก็ขอให้อยู่บนพื้นฐานของการรายงานข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ ไม่เซ็นเชอร์ตนเองเกินควรหรือใส่อารมณ์มากเกินไป ให้มุมมองรอบด้าน ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่สร้างความเกลียดชังหรือยั่วยุเหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 19 ในอดีตที่หลายฝ่ายกังวล และ ถ้าเป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่แหลมคมเช่นนี้ สื่อควรช่วยกันกำหนดวาระในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการพูดคุยกันเพื่อลดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า ลดความสูญเสียหรือความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคนที่เห็นและเชื่อต่างกันในสังคม เปิดพื้นที่ให้เสียงของเหตุผล (Voice of reason) ได้พูดมากกว่ากว่าเสียงที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง

พูดเหมือนง่ายแต่ทำยาก อย่างไรก็ตามก็ยังให้กำลังใจคนสื่อที่พยายามทำหน้าที่อย่างยากลำบากในเวลานี้ แม้จะผิดหวังกับจรรยาบรรณสื่อในหลายกรณี แต่ในฐานะที่เคยเป็น กสทช.มาก่อน ก็เข้าใจข้อกำจัดดีว่า สื่อกลัว กสทช.แค่ไหนถ้าเป็นเรื่องการเมือง กสทช.ลงโทษจริงจังมากกว่าเรื่องที่กระทบผู้บริโภคแน่นอน บางช่องเคยจอดับมาแล้ว ดังนั้นสื่อทีวีจึงเลือกเซ็นเซอร์ตัวเองไว้ก่อน แต่ก็เห็นหลายช่องพยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุด ยังไงคนดูก็ช่วยกันให้กำลังใจช่องที่ทำหน้าที่ดีด้วย ส่วนคนดูข่าวการเมืองก็ใจเย็นๆกันทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายที่อยู่ข้างอำนาจรัฐเพราะได้เปรียบกว่า ดังนั้นต้องใจเย็นใจกว้างมากกว่าฝ่ายที่เสียเปรียบในเชิงอำนาจ ถ้ารับฟังกันและกัน เชื่อว่าสังคมจะค่อยๆหาจุดสมดุลได้โดยไม่ต้องจบลงด้วยความรุนแรง

ปล. เครดิตรูปจากในทวิตเตอร์ จากกิจกรรมชุมนุมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันนี้ ขออภัยที่ไม่ทราบผู้ถ่ายภาพค่ะ แต่ก็เป็นกำลังใจนะคะ

ด้วยจิตคารวะ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"