14ส.ค.63- อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 14 คน ร่วมลงนามคัดค้าน สำนักบริหารกิจการนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ประกาศเรื่อง ไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563 ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย เวลา 16.00 – 19.30 น.
ล่าสุดทางด้านของ สมาชิกเฟสบุ๊คชื่อ New Srukhosit หรือ อ.นิว ณรงค์เดช สรุโฆษิต ซึ่งเป็นบุคลากรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์จดหมายแถลงการคณาจารย์ผู้สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมแล้ว 14 คน ไม่เห็นด้วยและร่วมลงนาน ไม่ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปิดกั้นการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา
โดยแถลงการณ์ของ คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังต่อไปนี้
แถลงการณ์คณาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมาย
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตามที่ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีประกาศไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563
1. เพื่อความรอบคอบ และเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมาย การจัดการพื้นที่ และการ ดูแลความปลอดภัย
2. ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิด และขยายวงความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ความ รุนแรง
3. เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของนิสิตตลอดจนประชาคมจุฬาฯ
จุฬาฯ มีจุดยืนสนับสนุนการทำกิจกรรมนิสิตเสมอ โดยต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี และเป็นกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต
ข้าพเจ้าคณจารย์ คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้ เห็นว่า
1. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเสรีภาพในการ แสดงออกทางการเมืองและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 34 และ มาตรา 44
2. ในกรณีที่การชุมนุมมีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายดังที่กล่าวอ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ พึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพ ในการแสดงออกและการชุมนุม มิ ใช่ปิดกั้นการจัดชุมนุมหรือจำกัดการแสดงออกเป็นการล่วงหน้า (Prior restraint) ดัง เช่นการไม่อนุมัติให้จัดกิจกกรมเช่นนี้ หากต่อมา แม้มีการกระทำความผิดจริง ก็เป็น หน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินคดีในภายหลัง (subsequent punishment)
3. เพื่อการดูแลความปลอดภัย สวัสดิภาพของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยพึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพ พร้อม ๆ กับการเลือกใช้มาตรการที่ เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ชุมนุม นิสิต บุคลากร และประชาคมจุฬาฯ เช่น การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัย โดย รปภ.มหาวิทยาลัย และอาจขอความช่วย เหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งนี้ เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างการส่งเสริมการใช้ เสรีภาพและการรักษาสวัสดิภาพความปลอดภัยให้ได้อย่างสมดุล
4. พื้นที่ที่นิสิตจะจัดกิจกรรมการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง คือ ลานพระบรม รูปสองรัชกาล แม้เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ถือเป็นพื้นที่ของหน่วย งานของรัฐ และที่สำคัญ พื้นที่ดังกล่าวเคยเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะบ่อยครั้ง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มจุฬาฯ รักชาติ เมื่อเดือนมีนาคม 2557
มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่เสรี สนับสนุนการแสดงออกทางความคิดและการถกแถลง อันเป็นรากฐานแห่งความก้าวหน้าของศาสตร์วิทยาการต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มข้าพเจ้าจึงคัดค้าน การไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าว
1. รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
3. อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิษฎ์ ทวีแจ่มทรัพย์
5. อาจารย์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
7. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ตันสกุลรุ่งเรือง
8. รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล
9. ศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต
10.อาจารย์ณัฎฐพร รอดเจริญ
11. อาจารย์ฐิตินันท์ เต็งอำนวย
12. อาจารย์ฉัฎฐเมษ ภิรมย์พานิช
13. อาจารย์ ดร.รวินท์ ลีละพัฒนะ
14. อาจารย์ ดร.พัชร นิยมศิลป์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |