กมธ.ตำรวจชงผลสรุปคดี'บอส'ให้'ชวน-บิ๊กตู่-วิชา'เสนอฟันอาญาม.157เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง


เพิ่มเพื่อน    

 

14 ส.ค.63-เมื่อเวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า วันนี้ทางคณะกมธ.จะส่งรายงานผลการพิจารณา เรื่องขั้นตอนการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา ไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมทั้งนำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี และนายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายณัฏฐ์ชนน กล่าวว่า คณะกมธ.เห็นว่า การสอบสวนของพนักงานสอบสวน และการสั่งคดีของพนักงานอัยการได้ดำเนินการถูกต้องตามกระบวนการทางกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน การสอบสวนเพิ่มเติมและการพิจารณาสั่งคดี ในการดำเนินคดีนี้ไม่ถูกต้องในรูปคดีและไม่ชอบธรรมต่อสังคม

"กรณีไม่สามารถติดตามตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี เนื่องจากผู้ต้องหาหลบหนีจนคดีขาดอายุความในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุเฉี่ยวชนรถผู้อื่นได้รับความเสียหาย ข้อหาขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร แก่ผู้ได้รับความเสียหาย และไม่แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักในทันทีและขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด กรณีดังกล่าวอาจเป็นช่องทางในการประวิงคดีหรือดำเนินคดีล่าช้าจนคดีขาดอายุความ ซึ่งเป็นช่องว่างในทางกฎหมายในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ดังนั้น กมธ.เห็นว่าจึงไม่ควรนับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ และควรกำหนดให้ศาลสามารถพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย" นายณัฏฐ์ชนน กล่าว

โฆษกกมธ.ตำรวจ กล่าวต่อว่า สำหรับการตรวจพบสารแปลกปลอมในเลือดของผู้ต้องหา ซึ่งอาจเกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์ คณะกมธ.มีความเห็นว่า พนักงานอัยการสามารถสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องหาเพิ่มเติมในข้อหายาเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งการดำเนินคดีเพิ่มเติมดังกล่าว ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ในคดี อันจะนำไปสู่การสอบสวนในคดีดังกล่าวอีกครั้ง และหากปรากฏข้อเท็จจริงว่า การไม่ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดีดังกล่าวกับผู้ต้องหา เกิดจากความบกพร่องในการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนและการพิจารณาสำนวนคดีของพนักงานอัยการ ต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับขั้นตอนดังกล่าว ในข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 157

นายณัฏฐ์ชนน กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการพิสูจน์อัตราความเร็วในข้อหาขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น แม้ภายหลังจะมีผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเกี่ยวกับความเร็วแตกต่างไปจากเดิม ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ในคดี ทั้งนี้ หากการพิสูจน์อัตราความเร็วในการขับขี่รถยนต์ของผู้ต้องหามีหลักการคำนวณที่แตกต่างจากหลักการเดิมที่ปรากฏในสำนวนคดี อาจถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ในคดี

นายณัฏฐ์ชนน กล่าวด้วยว่า หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีทั้งในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ดำเนินการสอบสวนและการพิจารณาสั่งไม่ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม มาตรา 157 คณะกมธ.เห็นควรให้นำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล ซึ่งหากศาลพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าว อาจส่งผลให้คำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องมีการสอบสวนและพิจารณาสั่งคดีดังกล่าวอีกครั้ง

"สำหรับการนำคดีเข้าสู่การพิจรณาของศาลกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิดตาม มาตรา 157 สามารถดำเนินการได้ ดังนี้1.การกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยทายาทหรือญาติของผู้เสียหาย 2.การดำเนินคดีโดยรัฐ 3.การกล่าวหาต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้ทำการไต่สวนชี้มูลความผิด และฟ้องคดีต่อศาล"นายณัฏฐ์ชนน กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"