น่าเป็นห่วงไม่แพ้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 คงหนีไม่พ้นเรื่อง “สถานการณ์การว่างงาน” ที่ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทยอย่างมาก จนทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง หรือบางแห่งต้องประกาศปรับลดแรงงานเพื่อควบคุมต้นทุน ประคองธุรกิจให้ยังเดินหน้าต่อไปได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวขณะนี้
ล่าสุด “กรมการจัดหางาน” ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์การว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ในปี 2564 ที่มีเกือบ 5 แสนคนว่า อาจจะเข้าสู่การว่างงานแบบถาวร ซึ่งนั่นคือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้สถานการณ์การจ้างงานในประเทศลดน้อยลง จนทำให้ตลาดแรงงานไม่พอรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ เนื่องจากภาคธุรกิจมีปริมาณงานที่ลดลง มีการปิดกิจการ มีการลดขนาดองค์กร รวมถึงสถานประกอบการหลายแห่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงานจากเต็มเวลาเป็นแบบ Part-time ซึ่งสถานการณ์การจ้างงานลักษณะนี้เป็นเหมือนกันทั่วโลก
ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ได้ออกมาระบุว่า แรงงานไทย “มีความเสี่ยง” ที่จะถูกเลิกจ้างสูงถึง 8.4 ล้านคน ซึ่งทั้งหมดเป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 และตลอดทั้งปี 2563 นี้ จะมีผู้ว่างงานแท้จริงประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสริมจากการที่รัฐบาลคลายล็อกดาวน์ มีการเริ่มเดินหน้าแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งการใช้เงินกู้และงบประมาณในส่วนต่างๆ ก็เชื่อว่าจะเป็นผลดี ทำให้เกิดการจ้างงานได้มากขึ้น ประมาณ 2-3 แสนตำแหน่ง
โดยแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงตกงานมากที่สุด คือ 1.แรงงานในภาคการท่องเที่ยว ไม่รวมสาขาการค้าส่งและค้าปลีก คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 2.5 ล้านคน จากการจ้างที่มีอยู่ทั้งหมดราว 3.9 ล้านคน โดยในส่วนนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของแต่ละประเทศ ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศก็เพิ่มเริ่มเดินหน้าได้หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ไม่นาน
2.แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 1.5 ล้านคน จากแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด 5.9 ล้านคน โดยในส่วนนี้เดิมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐและจีนอยู่แล้ว และยังมาโดนซ้ำเติมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ก็ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้อยู่ หลักๆ เป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไปถึงของใช้ที่จำเป็น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.การจ้างงานในภาคบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่การท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบประมาณ 4.4 ล้านคน จากจำนวนแรงงานในกลุ่มนี้กว่า 10.3 ล้านคน จากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลในช่วงก่อนหน้า ที่สั่งให้มีการปิดสถานประกอบการหลายส่วน ทั้งสถานศึกษา ตลาดสด สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร (นั่งกินที่ร้าน) สถานบันเทิงต่างๆ เป็นต้น
ขณะที่ภาคเอกชนอย่าง “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ที่ได้สำรวจสภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยที่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงวันที่ 21-28 พ.ค. ซึ่งพบว่าอัตราการว่างงานของไทยจะพีกที่สุดในช่วงไตรมาส 2/2563 ก่อนจะค่อยๆ คลายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 เป็นต้นไป หลังจากรัฐบาลประกาศคลายมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามหาแนวทางเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว ทั้งการออกมาตรการเพื่อส่งเสริมทักษะ ฝีมือแรงงานของไทย การหาตำแหน่งงานเพื่อรองรับแรงงานในตลาด ทั้งงานในด้านการผลิต การจัดส่งสินค้า และแรงงานในส่วนอื่นๆ ที่ยังมีความต้องการอยู่
แต่จากปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าวิกฤติที่เกิดกับระบบเศรษฐกิจรอบนี้หนักหนาสาหัสกว่าครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจต้องใช้เวลา การปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ ภาครัฐ เอกชน ไปจนถึงแรงงานจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |