13 ส.ค. 2563 - นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมัน เปิดเผยว่าเบื้องต้นได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ถึงการต่ออายุมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ที่จะสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธ.ค.2563 เพื่อสนับสนุนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศให้มากขึ้น ทั้งการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% หากโครงการมีการใช้ระบบอัตโนมัติเชื่อมโยงในอุตสาหกรรมการผลิตของไทยไม่น้อยกว่า 30% ของเงินลงทุน และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ให้ผู้ซื้อระบบหรือนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ คาดว่าเร็วๆ นี้จะได้ข้อสรุป
ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยนำเข้าอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล 4 แสนล้านบาท และส่งออกระบบ 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการนำเข้าและส่งออกหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 10% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นผู้นำส่งออกหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภูมิภาคอาเซียนภายใน 10 ปี โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เกษตร และอาหาร รองรับการผลิตที่ตอบโจทย์ความต้องการ ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์แห่งอนาคตมากขึ้น
นายกัมปนาท ตันติพิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอท ซิสเต็ม จำกัด กล่าวว่าภาคเอกชนต้องการเสนอให้รัฐบาลทำการโปรโมทมาตรการต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานหุ่นยนต์ในประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการที่ต้องใช้งานหุ่นยนต์บางรายยังไม่รับทราบและเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ส่งเสริม รวมถึงระยะเวลาที่โครงการจะหมดอายุอาจจะทำให้การเตรียมเอกสารเพื่อขอยื่นนั้นไม่ทัน
ขณะเดียวกันต้องการให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานเพื่อคัดแยกหมวดหมู่การใช้ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เกิดความชัดเจน จากปัจจุบันมีการนิยามเหมารวมการใช้งานระบบอัตโนมัติเป็นเครื่องจักรกลทั้งหมด ทำให้หน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ตรงจุด ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาการขอสินเชื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
โดยต้องยอมรับว่าขณะนี้ผู้ประกอบการจำนวนมากตื่นตัวศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับกระบวนการผลิตมาใช้หุ่นยนต์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 30-40% ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการปรับทัศนคติในการพัฒนากระบวนการผลิตในแบบเร่งด่วน เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานคน เกิดความแม่นยำในการทำงานซ้ำๆ ด้วยแรงงานคน ช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
“ปัจจุบันไม่เพียงแต่บริษัทขนาดใหญ่ที่สนใจนำเทคโนโลยี โรโบติกส์ และการใช้หุ่นยนต์ทดแทนในสายการผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่เริ่มพร้อมปรับตัวเพราะปัจจุบันราคาหุ่นยนต์ปรับลดลงและสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องลดการสัมผัสของมนุษย์และการสูญเสียของวัตถุดิบ ซึ่งประเมินว่าอาจเกิดการลงทุนด้านเครื่องจักรรองรับการผลิตรูปแบบดิจิตอลในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า”นายกัมปนาท กล่าว
นายกัมปนาท กล่าวว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องปรับกระบวนการผลิตไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยา เครื่องดื่ม การเกษตร โลจิสติกส์มีแนวโน้มตื่นตัวมากที่สุด เพื่อทดแทนแรงงานที่มีข้อจำกัดและกำลังขาดแคลนในขณะนี้ สามารถทดแทนแรงงานที่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทางไปทำงานด้านอื่นที่คุ้มค่ากว่า หลังผู้ประกอบการมีการลดจำนวนแรงงาน และลดเวลาทำงานของแรงงาน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |