ฟ้อนภูไทปลุกสำนึกรักษามรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมทอผ้า
ช่วงนี้ใครๆ ก็นิยมหันมาใส่ผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองกันมากขึ้น ทั้งจากกระแสงานอุ่นไอรักคลายความหนาว ต่อด้วยละครดัง แม้อวสานแต่กระแสยังไม่หมดสิ้น และเร็วๆ นี้ จะมีงานใต้ร่มพระบารมี 236 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 21-25 เม.ย.นี้ รัฐบาลประกาศเชิญชวนประชาชนแต่งผ้าไทยเที่ยวงาน
การรณรงค์อย่างต่อเนื่องบวกกับมีแบบอย่างที่ดี คนใส่ชุดผ้าไทยให้เห็นกันมากขึ้น แต่งไปเที่ยวหรือแม้กระทั่งไปทำงาน ทำให้เปลี่ยนทัศนคติคนไทยสนใจสวมผ้าไทยแบบไม่เคอะเขิน ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการผ้าไทยที่ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าไทยยอดขายพุ่ง ช่างทอทำงานกันหนักมากขึ้น
นุ่งซิ่น ห่มผ้าเบี่ยง รัดผมด้วยผ้าแพรมนงดงาม
ผ้าไทยที่ได้รับความนิยมสวมใส่ มีทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าย้อมคราม ผ้ายก และผ้าแพรวา โดยเฉพาะผ้าแพรวา เป็นอีกประเภทที่ฮอตฮิต ทั้งผู้ใหญ่ วัยทำงาน คนรุ่นใหม่ต่างนำมาสวมใส่จริงในชีวิตประจำวัน สำหรับผ้าแพรวาแสดงถึงอัตลักษณ์ในท้องถิ่นของชาวกาฬสินธุ์ได้อย่างงดงาม การแต่งกายด้วยชุดผ้าแพรวานอกจากดูดี ยังช่วยสืบสานมรดกภูมิปัญญาทอผ้าของดินแดนอีสาน ซึ่งเป็นโอกาสในการปลุกให้คนไทยเรียนรู้เอกลักษณ์ผ้าไทยอีกครั้ง
ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์เป็นผ้าทอซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทยหรือภูไท เดิมมีถิ่นฐานที่ลาวและเวียดนาม ก่อนอพยพข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาตั้งหลักแหล่งทางภาคอีสาน ส่วนใหญ่อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ โดยยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี การแต่งกาย และการทอผ้าแพรวาที่เหมือนเป็นอัตลักษณ์อันสวยงาม ผ้าแพรวาได้รับการส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอคำม่วงเมื่อปี 2520 ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภูไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง ทรงสนพระทัยโปรดให้สนับสนุนและได้มีพระราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นผ้าผืนสำหรับตัดเสื้อผ้าได้ ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความงาม และคุณค่าแห่งศิลปะในครั้งนั้นทำให้เกิดการพัฒนาทอผ้าแพรวาขึ้นจนทุกวันนี้ และในโอกาสงานมหกรรม"โปงลาง แพรวา ฉลอง 224 ปี เมืองกาฬสินธุ์" ที่ผ่านมา ณ อนุสาวรีย์พระยาสุนทร มีการฟ้อนภูไทยิ่งใหญ่ 4,724 คน ทุกคนนุ่งซิ่นห่มผ้าเบี่ยง รัดผมด้วยผ้าแพรมนงดงาม
สาวภูไทเมืองกาฬสินธุ์แต่งกายงดงามตามวัฒนธรรม
" กาฬสินธุ์แฮปปี้เนสที่นายกฯ ชูเป็นโมเดลแก้ปัญหาความยากจน ทางจังหวัดรับนโยบายมาปฏิบัติเพื่อยกระดับรายได้ของชาวกาฬสินธุ์ โดยผ้าแพรวาเป็นหนึ่งกลยุทธ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาผ้าไหมแพรวาให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ต่อยอดให้ร่วมสมัยมากขึ้น อีกทั้งร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์หมู่บ้านของชาวภูไท ชวนนักท่องเที่ยวไปสัมผัสวัฒนธรรมภูไท ชมการสาวไหม ทอผ้าอย่างใกล้ชิด อีกทั้งรู้จักอาหารพื้นเมือง เยือนเรือนภูไทเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น กาฬสินธุ์จะเปลี่ยนภาพจดจำของผู้คนสู่เมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม หรือ Art City " พ่อเมืองกาฬสินธุ์ เผย
จุดเด่นของผ้าแพรวาเมืองน้ำดำ บรรจง จงสมชัย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ชาวภูไท 8 อำเภอใน จ.กาฬสินธุ์ ยังคงรักษาภาษา การแต่งกาย และการทอผ้า เพราะเป็นวิถีชีวิตและประเพณีของหญิงสาวภูไทจะต้องตัดเย็บผ้าทอ เสื้อดำ การทอผ้าแพรวา และซิ่นไหม ผ้าแพรวานิยมทอด้วยไหมทั้งผืนมี 5 สี สีสันหลักๆ คือ เขียว แดง เหลือง ดำ ขาว แต่ละบ้านจะมีผ้าแซ่ว เป็นผ้ามรดกของครอบครัว ซึ่งมีลวดลายแม่แบบดั้งเดิม ผ้าแซ่วผืนหนึ่งอาจมีมากกว่า 60 ลาย ผู้ทอสามารถนำมาใช้สร้างสรรค์แล้วแต่จินตนาการ
ลวดลายประณีตจากการขิดและจก
" การทอผ้าชาวภูไทมีการเก็บลาย เก็บขิด และจก โดยใช้มือเกี่ยวทีละเส้นเกิดเป็นลวดลวดโดดเด่น ถ้าผ้าผืนมี 10 ลาย ราคาจะมากถึงหลักแสน ผืนที่ยาว 1 วา ใช้เวลาทำ 5 เดือน ปัจจุบันมีลายประยุกต์มากมาย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าลายโบราณ แต่ละอำเภอพร้อมใจกันอนุรักษ์ผ้าแพรวา โดยเฉพาะที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง ชาวบ้านทอผ้าไหมแพรวาที่งดงามและมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการยกย่อง ส่วนอำเภอกุฉินารายณ์ทอผ้าฝ้ายลวดลายที่ปรากฎประณีตเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน " บรรจง กล่าวถึงเสน่ห์แพรวาภูมิปัญญากาฬสินธุ์ และปลื้มใจที่คนไทยหันมาสวมผ้าทอพื้นเมืองในภาคอีสาน
โชว์เสน่ห์ผ้าแพรวาภูมิปัญญากาฬสินธุ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |