ธรรมาภิบาลของระบบยุติธรรมไทยมีอยู่จริง ?


เพิ่มเพื่อน    


ปรากฏการณ์ของคดีความต่างๆ ทางอาญาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดมานั้นมักจะเกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยที่คล้ายคลึงกันเช่น ความประมาท การเมาสุรา ยาเสพติด ความแค้นด้วยเจตนา  หรือการทะเลาะเบาะแว้งต่างๆ เป็นต้นซึ่งหลายคดีนั้นมักจบลงด้วยความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่องราว

เมื่อใดที่เกิดคดีความขึ้นแล้วจะต้องจบลงภายใต้ ระบบยุติธรรม (Justice System) ที่มีผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบอยู่หลายส่วนในกระบวนการยุติธรรมที่เริ่มจากต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งขับเคลื่อนโดยตำรวจผู้ใช้อำนาจหน้าที่เป็น พนักงานสอบสวน ทำการสืบสวน สอบสวน ส่งพยานหลักฐานต่อให้ พนักงานอัยการที่จะเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน จัดทำคำฟ้องเพื่อฟ้องร้องต่อศาลให้พิจารณาพยานหลักฐานต่างๆในการลงโทษหรือยกฟ้องปล่อยตัวจำเลยเมื่อคดีถึงที่สุด แต่ก็มีหลายคดีที่พนักงานสอบสวนและ/หรืออัยการสั่งไม่ฟ้องด้วยหลายเหตุผลที่สังคมหรือคนส่วนใหญ่อาจสงสัยหรือไม่เห็นด้วย

ประเด็นสำคัญที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ตามมักจะมีเรื่องของธรรมาภิบาล เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรมทั้งกระบวนการ ซึ่ง ธรรมาภิบาล (Good Governance) นั้น ขออธิบายความอย่างย่อว่ามาจากคำว่า “ธรรม” มีความหมายว่า คุณความดี ความยุติธรรม ความถูกต้องและ “อภิบาล” หมายความว่า บำรุงรักษา  ปกครอง ซึ่งอาจแปลรวมความได้ว่า การรักษาความถูกต้อง  ด้วยคุณธรรม  ความโปร่งใส และหลักนิติธรรมซึ่งหมายถึง การใช้กฎหมายที่เคร่งครัด เสมอภาค มีมาตรฐานเดียวไม่ได้เป็นการใช้ตามอำเภอใจ และต้องไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบุคคลหรือกลุ่มคนใดโดยเฉพาะ ระบบอุปถัมภ์ หรือการคอรัปชั่นที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน

หากมีคำถามเกิดขึ้นว่า ธรรมาภิบาลของระบบยุติธรรมไทยมีอยู่จริงหรือไม่นั้น

ควรต้องมองวิเคราะห์ในหลายๆ มิติรวมถึงมิติของความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีคำพูดว่า “คุกมีไว้ขังคนจนเท่านั้น” ปรากฏการณ์ล่าสุดในคดีรถชนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตที่ใช้เวลากว่า 8 ปียังไม่สามารถยุติได้นั้นย่อมทำให้ธรรมาภิบาลของระบบยุติธรรม มีความสั่นคลอน เมื่อการรักษาความถูกต้องมีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้น

เมื่อใดที่การปกครองของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายกับประชาชนไม่เหมือนกัน ย่อมหมายถึงว่าการปกครองของรัฐขาดธรรมาภิบาลในระบบยุติธรรมซึ่งถือเป็นระบบที่สำคัญยิ่งของการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยให้เกิดความผาสุก สถาพรแก่ประชาชนทุกคน 

ดังนั้นระบบยุติธรรมที่ขาดธรรมาภิบาลย่อมส่งผลให้การปกครองประเทศขาดความน่าเชื่อถือในสายตาของประชาชนและประชาคมโลกและอาจส่งผลถึงความเป็นนิติรัฐ
ได้หากผู้ใช้กฎหมายเพื่อการปกครองไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายเสียเอง จึงเห็นได้ว่าตัวของระบบนั้นมีการออกแบบไว้ให้มีการถ่วงดุลอำนาจของผู้ใช้กฎหมายในหลายส่วนซึ่งหากใช้ไปในทางที่ผิด ขาดความชอบธรรม มีสองมาตรฐาน ย่อมทำให้กลไกของระบบเกิดการทำงานที่ผิดพลาด (malfunction) ได้ ซึ่งความผิดพลาดนั้นไม่ได้เกิดจากตัวระบบแต่เกิดจากผู้ใช้ระบบนั้นเองเป็นผู้กระทำ (human act) ที่มีคนเกี่ยวข้องร่วมกันกระทำอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เป็นขั้นเป็นตอน (organized crime) ซึ่งหลายต่อหลายคดีนั้นอาจเกิดขึ้นหรือมีอยู่จริงและจบไปแล้วเพียงแต่ไม่มีข่าวออกมา

ธรรมาภิบาลของระบบยุติธรรมไทยมีอยู่จริงหรือไม่นั้น การปฏิบัติของผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่ตัวของระบบยุติธรรมจะเป็นคำตอบที่อยู่ในตัวเอง ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการมีส่วนร่วมตรวจสอบหาความจริง หากพบการกระทำความผิดอย่างใดแล้ว จงช่วยกันหาตัวผู้กระทำผิดมาให้ศาลลงโทษ และไม่ว่าช้าหรือเร็ว ความจริงจะปรากฏให้เห็นอย่างแน่นอน 

                                              เทวัญ   อุทัยวัฒน์     
                           กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
                                                                                                                                                                                                                                                                                                  
         


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"