ปรับวิถีส่งเสริมการค้าหนุนออนไลน์ ใช้ประโยชน์อีอีซีอัพเกรดอุตสาหกรรมไทย


เพิ่มเพื่อน    

        การที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถกลับมาได้ ไม่ได้มีแต่การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังควบรวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการค้าขาย และมีความแข็งแรงมากพอที่จะรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้เพียงพอก่อน รวมถึงการทำธุรกิจในประเทศก็ต้องไปได้ดีเช่นกัน และอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ประเทศไทยนั้นมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง คือการพัฒนาโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศผ่านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เศรษฐกิจของไทยนั้นเติบโตและเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

      ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยกดดันการค้าทั่วโลกที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การการค้าโลก (WTO) ได้คาดการณ์ว่าในปี 2563 การค้าสินค้าของโลกจะหดตัวในช่วง -13% ถึง -32% ซึ่งเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบไปยังทุกภาคส่วน นอกเหนือจากการค้าแล้วนั้น ยังมีการทบไปยังภาคการผลิต และแรงงานด้วย ที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง และไม่แน่ใจว่าจะฟื้นตัวกลับมาได้มากน้อยเพียงใดในช่วงสิ้นปีนี้

        และท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 นี้ทั่วโลกในประเทศต่างๆ  จำเป็นต้องออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด  โดยมาตรการที่สำคัญคือการควบคุมการเดินทางทั้งในและระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางบก เรือ และอากาศ ทำให้การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดรับกับสถานการณ์

        ขณะเดียวกัน โควิดได้ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ หรือที่รู้จักกันในชื่อนิว นอร์มอล (New Normal) โดยการใช้ชีวิตประจำวันนั้นจะมีการใช้งานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งการซื้อสินค้าและบริการจนปัจจุบันเริ่มเกิดความคุ้นชิน เหตุจากการทำงานที่บ้าน หรือเวิร์กฟรอมโฮม ที่กลายเป็นเรื่องที่หลายองค์กรได้หยิบยกมาใช้จนกลายมาเป็นแนวทางการทำงานแบบใหม่ แม้ในปัจจุบันที่สถานการณ์โรคระบาดในประเทศไทยจะมีการคลี่คลายแล้ว  แต่รูปแบบการทำงานก็ยังมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมอยู่

        และจากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  (สศค.) เปิดเผยว่า ผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2563 จะขยายตัว -8.5% ต่ำกว่าที่เคยประมาณการเดิมเมื่อ ม.ค.ที่ 2.8% และต่ำกว่าปีก่อนที่ขยายตัว 2.4% ซึ่งถือว่าต่ำสุดในประวัติการณ์ และต่ำกว่าช่วงการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2541 ที่ขณะนั้นเศรษฐกิจชะลอตัวถึง -7.6% ด้วย ทั้งนี้ส่งผลให้เครื่องยนต์ทุกตัวชะลอตัวลงทั้งหมด โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่จะชะลอตัว -2.6% การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว -12.6% มูลค่าการส่งออกชะลอตัว -11% การนำเข้าชะลอตัว -14.2%

        ซึ่งทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้การดำเนินธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะออนไลน์ เพื่อความอยู่รอด โดยหนึ่งในองค์กรที่จะต้องมีการปรับตัวให้ทันเข้ากับเหตุการณ์มากที่สุด เนื่องจากได้รับผลกระทบต่อการดำเนินภารกิจอย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือดีไอทีพี (DITP) ที่กิจกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์

        ทั้งนี้ ด้วยการนำของ นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินงานต่อโครงการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี โปร เอคทีฟ โปรแกรม(SME Pro-active Program) ที่ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเริ่มจัดกรรมการมาตั้งแต่ปี 2556 (ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2556-2558 และระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2559-2561) โดยปัจจุบันนั้นดำเนินการมาเป็นระยะที่ 3 แล้ว ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562-2564

        แม้ที่ผ่านมาจะมีการดำเนินงานที่ราบรื่นซึ่งจากข้อมูลได้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปแล้ว 1,767 ราย เช่าร่วมกิจกรรมในต่างประเทศ 609 กิจกรรม และมีมูลค่าการส่งซื้อรวม 179.19 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5,705.40 ล้านบาท แต่ปัจจุบันที่เกิดวิกฤติโควิดนั้น ก็ทำให้เกิดผลกระทบขึ้นมาบ้าง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนผู้ประกอบการให้ไปร่วมกิจกรรมส่งเสริมการขายในต่างประเทศ

        และข้อมูลจากเดือน มิ.ย.2563 มีกิจกรรมภายใต้โครงการที่ได้รับผลกระทบและถูกยกเลิก หรือเลื่อนจัดงานไป 130 งานและมีผู้ประกอบการขอยกเลิกเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว 200 ราย  จึงได้มีการพิจารณาขอขยายกรอบดำเนินงานในระยะ 3 ไปจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อความต่อเนื่องในการใช้สิทธิ์ของผู้ประกอบการได้หลังจากจบสถานการณ์โควิด-19

        นายสมเด็จ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินงานของกรมทั้งหมด จึงได้มีการปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่กรมได้จัดขึ้นทั้งส่วนการของการส่งเสริมช่องทางการขยายตลาดต่างประเทศ และการพัฒนาผู้ประกอบการด้วยการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้มากขึ้น โดยได้ดำเนินการควบคู่ไปกับช่องทางออฟไลน์มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด ซึ่งการดำเนินการบนแพลตฟอร์มออนไลน์นั้น แบ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

        1.On-line Business Matching ที่เป็นการจัดประชุมเจรจาธุรกิจทางออนไลน์ในสินค้าที่เป็นความต้องการของตลาดต่างประเทศ ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมจากเดิมที่ต้องมีการจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปยังต่างประเทศ  หรือเดินทางมาไทย โดยใช้ระบบ Zoom, VDC ซึ่งมีสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ 58 แห่งทั่วโลก ทำหน้าที่ในการประสาน นัดหมายผู้นำเข้า และกรมส่งกลางประสานผู้ส่งออกไทยและเตรียมพร้อมระบบ

        2.TOP Thai Flagship Store โดยจัดตั้งร้านจำหน่ายสินค้าไทยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ชั้นนำของต่างประเทศ เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าไทยผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน 3.Online Virtual Exhibition และ  Hybrid Exhibition ปรับรูปแบบการจัดแสดงสินค้านานาชาติ  ที่กรมจัดในประเทศไทยจากเดิมในรูปแบบออฟไลน์ เป็นรูปแบบออนไลน์เสมือนจริง โดยงานแรกที่กรมดำเนินการไปแล้ว  คืองาน M.O.V.E.(Multimedia Online Virtual Exhibition)

        ซึ่งจัดแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย พร้อมกิจกรรมต่างๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมด ทั้งการเจรจาการค้าและสัมมนา นอกจากนี้ได้ปรับรูปแบบของบางงานแสดงสินค้าเป็น Hybrid Exhibition ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างการจัดงานแบบพบหน้า (ออฟไลน์) ร่วมกับการจัดงานแบบออนไลน์ โดยจะเริ่มด้วยงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 22-26 ก.ย.  ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เสมือนจริง

        4.ปรับรูปแบบการจัดสัมมนา/ฝึกอบรมต่างๆ ในการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ทั้งในภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ ของไทย ที่จะจัดในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ผ่านระบบไลฟ์ สตรีมมิ่ง 5.Online export clinic โดยเป็นการจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกแบบตัวต่อตัว

        6.In-store promotion จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทยทั้งผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าประเภทโมเดิร์นเทรด ในตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ออนไลน์ อินฟูเรนเซอร์ ท้องถิ่น และแอปพลิเคชันต่างๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นความต้องการสินค้าไทย

        7.ยกระดับภาพลักษณ์และเพิ่มมูลค้าสินค้า และธุรกิจบริการไทยภายใต้ตราสัญลักษณ์ Tmark, Demark, PM Award และ Thai Select อย่างต่อเนื่อง รวมถึงประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในต่างประเทศต่อมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยในสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร 8.เตรียมพร้อมเพื่อสามารถดำเนินการไทยทันทีในการเร่งรัดผลักดันการส่งออกเชิงรุกเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย อาทิ การจัดคณะผู้บริการระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ พร้อมภาคเอกชนเดินทางไปขยายตลาดศักยภาพ การนำผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ การจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปเจรจาในต่างประเทศ เป็นต้น

        นายสมเด็จกล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศติดตามสถานการณ์การผ่อยคลายมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงหารือกับผู้นำเข้าและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแก้ไขอุปสรรคปัญหาในพื้นที่และแนวทางการจัดกิจกรรมร่วมกัน

        “กรมยังคงมุ่งสนับสนุนผ่านโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง  เพื่อสานฝันผู้ประกอบการเอสเอ็มที่มีความพร้อม และต้องการส่งออกสินค้าไทยให้สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง  พร้อมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและบริการในต่างประเทศ จะให้วงเงินสนับสนุนสูงสุด 200,000 บาทต่อครั้ง จำนวน 6 ครั้ง ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าพื้นที่ ค่าคูหา ค่าประกันภัยในงาน ค่าตกแต่ง ค่าไฟฟ้า ค่าดูแลสิ่งแวดล้อม ค่าประชาสัมพันธ์ และค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างโอกาสทางการค้าและเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ธุรกิจ หรือการพิชชิ่งโครงการ”

        นอกจากนี้ การที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถกลับมาได้ ไม่ได้มีแต่การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังควบรวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการค้าขาย และมีความแข็งแรงมากพอที่จะรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้เพียงพอก่อน รวมถึงการทำธุรกิจในประเทศก็ต้องไปได้ดีเช่นกัน และอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ประเทศไทยนั้นมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง คือการพัฒนาโครงสร้างภาคการผลิตของประเทศผ่านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้เศรษฐกิจของไทยนั้นเติบโตและเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

      ซึ่งเป็นที่มาของโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับการพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

        โดยการส่งเสริมการลงทุนในเขตอีอีซีนั้น จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ 5 อุตสาหกรรมเดิม (เอสเคิร์ฟ) ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 4.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 5.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

        และยังสร้างการพัฒนาใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ (นิว เอสเคิร์ฟ) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทยอีกด้วย  ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 2.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3.อุตสหกรมการแพทย์ครบวงจร 4.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และ 5.อุตสาหกรรมดิจิทัล เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่อีอีซีเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม

        ซึ่งจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเดิมของไทยที่เป็นเสาหลักสำคัญในภาคการส่งออกของประเทศ ให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแนวโน้มความต้องการของตลาดโลก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ นอกจากนี้ การสร้าง 5 อุตสาหกรรมใหม่ที่ตั้งอยู่บนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะช่วยรองรับการยกระดับการพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน

        นายสมเด็จ กล่าวว่า ขอยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความสามารถทางการแข่งขันในการส่งออกสูง และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ทำหน้าที่ใช้ประโยชน์จากผลผลิตทางการเกษตรขั้นต้น และยังทำให้เกิดการจ้างงานมากเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด

        “ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก การยกระดับการพัฒนอุตสาหกรรมด้วยการนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อให้มีการผลิตอาหารที่ตอบสนองต่อแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าในการส่งออกได้ จึงมีความจำเป็น และในการลงทุนนี้ อีอีซีจึงเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของไทย และสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"