สสส.เจาะลึกองค์กรใส่ใจครอบครัวพนักงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานนำสู่กำไร สอดคล้องข้อมูลUNICEF สสส.หนุนออกแบบที่ทำงานให้มีความเป็นมิตรต่อครอบครัว เอื้อให้เกิดเวลาคุณภาพWork Life Balance ปัจจัยเพิ่มสุข “ครอบครัวอบอุ่น” สร้างสุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน นักวิชาการระบุ แนวโน้มโลกวิถีใหม่ ออฟฟิศต้องปรับตัว คนรุ่นใหม่ทำงานได้ทุกที่ ตัวชี้วัดไม่ใช่ชั่วโมงทำงาน แต่อยู่ที่ความรับผิดชอบและผลงาน แนวโน้มเด็กรุ่นใหม่มีงานหลักและpart timeตามความถนัดเพื่อสร้างรายได้ ศึกษาบ.กูเกิ้ลดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานด้วยกัน
ที่ห้องประชุม201ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักพิมพ์bookscapeจัดเสวนาสาธารณะช่วงที่1“ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างที่ทำงานชั้นยอด” มีวิทยากรดังนี้ ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.รศ.ดร.พิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.รชพร ชูช่วย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบall(zone)และเจ้าของคอลัมน์ Shaped by ArchitectureทางThe 101World ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารME by TMB ดำเนินรายการโดย ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย บรรณาธิการสารคดีและบทความ The101 world ทั้งนี้ได้หยิบยกประเด็นสำคัญจากหนังสือTHE BEST PLACE TO WORKที่(น่า)ทำงาน ศาสตร์และศิลป์แห่งการสร้างที่ทำงานชั้นยอด โดยRon Friedman นักจิตวิทยาสังคม ผู้สนใจศึกษาแรงจูงใจของมนุษย์และพฤติกรรมองค์การ นรา สุภัคโรจน์ แปล
เคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่า ทำไมที่ทำงานชั้นยอดถึงยอมจ้างคุณมา “เล่น” ทำไมบริษัทที่ประสบความสำเร็จถึงให้รางวัลกับความล้มเหลว ที่ทำงานสมัยใหม่ก้าวข้ามปัญหา work-life balanceแล้วผสมผสานงาน ชีวิตส่วนตัว และครอบครัวเข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร ทำไมพนักงานที่มีความสุขหมายถึงกำไรที่มากขึ้น กลวิธีที่จะเปลี่ยนกลุ่มคนแปลกหน้าให้กลายเป็นชุมชนต้องทำอย่างไร เราจะออกแบบออฟฟิศอย่างไรให้ใส่ใจทุกรายละเอียดและส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ไปพร้อมกัน คาสิโน โลกวิดิโอเกม และนักเจรจาต่อรองกับคนร้ายสอนอะไรเราเรื่องงานและที่ทำงาน.....
ผลงานวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม การบริหารจัดการ ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมด้วยกลเม็ดเคล็ดลับจากบริษัทชั้นนำ กูเกิล แอมะซอน และสตาร์บัคส์ หนังสือเล่มนี้คือคำตอบสำคัญสำหรับนักบริหารและว่าที่ผู้นำแห่งอนาคต เพื่อออกแบบและลงมือสร้างสถานที่น่าทำงานในฝัน ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ นวัตกรรม ความสุข ความรู้สึกผูกพันและการมีส่วนร่วม ผลงานที่น่าภาคภูมิใจและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนทำงานทุกคน
ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในการหาข้อสรุปที่ทำงานที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตมนุษย์ ทำอย่างไรสถานที่ทำงานจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อนาคตการทำงานจะเป็นเข้าทำงาน8โมงเลิกงาน4โมงเย็นอยู่หรือไม่ อย่างไร
UNICEFศึกษาบทบาทที่ทำงาน วางเงื่อนไขคนทำงาน บูรณาการชีวิต ครอบครัวไม่เพียงส่งผลดีต่อครอบครัวเท่านั้น แต่ผลประกอบการที่ดียังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในครอบครัว ในปี2563สสส.ได้เริ่มดำเนินการศึกษาบทเรียนที่ดีของหน่วยงานที่มีความเป็นมิตรต่อครอบครัว (Family Friendly Workplace)จำนวน17องค์กรครอบคลุมตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่ไม่มีอาคารสำนักงานและบริษัทขนาดใหญ่มีพนักงานกว่า3หมื่นคน พบประเด็นที่เหมือนกันคือ ความใส่ใจในชีวิตครอบครัวของพนักงาน/ลูกจ้างโดยมีนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนมีกลไกการดำเนินงานและการติดตามวัดผล ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพนักงานเอง
องค์กรทั้งหมดมีนโยบายดูแลพนักงานเกินกว่าที่กฎหมายด้านแรงงานกำหนด เช่น นโยบายการลาดูแลภรรยาที่คลอดบุตรซึ่งกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานราชการต้องดำเนินการ แต่ปัจจุบันหน่วยงานเอกชนหลายแห่งก็ทำนโยบายเช่นเดียวกัน รวมถึงสวัสดิการดูแลสมาชิกในครอบครัวพนักงาน เช่น ศูนย์ดูแลเด็ก ค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาลบุตรจนอายุถึง20ปี การจัดรถรับส่งนักเรียนลูกๆ ของพนักงาน หรือแม้แต่ในช่วงเวลาทำงานก็อนุญาตให้ออกกำลังกายในห้องกีฬา จัดให้มีห้องพักผ่อนเพื่อให้หลับกลางวันที่เรียกว่า power napซึ่งมีผลการศึกษามากมายยืนยันว่า สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีแก่พนักงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย
บางบริษัทก้าวล้ำถึงขั้นให้พนักงานลาออกชั่วคราวเพื่อไปดูและพ่อแม่ที่ป่วยหนัก บางแห่งมีอุปกรณ์ให้ยืมใช้ เช่น เตียงไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วย ฝ่ายบริหารบุคคลขององค์กรเหล่านี้ต่างยืนยันว่านี่คือเคล็ดลับที่ทำให้คนทำงานมีความรักความผูกพันต่อองค์กร ลดปัญหาขาดลามาสาย ลดปัญหาพนักงานลาออกบ่อยๆ กุญแจสำคัญคือการออกแบบนโยบายองค์กรที่ไม่กดดันให้พนักงานต้องเลือกว่างานหรือครอบครัวมาก่อน ซึ่งองค์กรทั้ง17แห่ง ที่พบในการศึกษาได้ช่วยตอกย้ำให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะเกิด“ที่(น่า)ทำงาน” ในสังคมไทย
“คนวัยแรงงานต้องอยู่ในที่ทำงาน วันละไม่ต่ำกว่า8ชั่วโมง ถ้านับเวลาเดินทางก็อาจจะมากกว่าสิบชั่วโมงต่อวัน เวลาคุณภาพที่จะมีให้สมาชิกในครอบครัวจึงย่อมลดน้อยลง แต่ถ้าหาก8-10ชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานที่มีสมดุลกับการดูแลสุขภาวะพนักงาน โรคฮิตอย่างออฟฟิศซินโดรมน่าจะลดน้อยลง การงีบกลางวัน 15นาที ตื่นมาแล้วสมองปลอดโปร่ง ทำงานได้ดีและไม่เครียด ผลที่ได้ทำให้ผลงานออกมาดีขึ้น การหยุด ลา มาสาย ลดลง ลาออกต่ำลง ความกระตือรือล้นในการพัฒนางานมากขึ้น ที่สำคัญหากสามารถจัดสมดุลของชีวิตในแต่วันได้ ไม่ว่าจะเป็น work-life balance หรือ work-life integration (การประสานงานและชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน) จะช่วยให้สามารถจัดสรรเวลาคุณภาพให้ครอบครัว”
บทบาทของสถานที่ทำงานมีความสำคัญในแง่ของการช่วยสร้างเงื่อนไขการใช้ชีวิตให้ลูกจ้างสามารถทำหน้าที่ต่อครอบครัวไม่ว่าจะเป็นลูกๆหรือพ่อแม่ที่เข้าสู่วัยชรา สสส.อยากเห็นว่าเมื่อรัฐมีนโยบายสนับสนุนครอบครัวเข้มแข็งอบอุ่นก็ควรสนับสนุนให้หน่วยงาน/สถานประกอบการช่วยสร้างเงื่อนไขการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการทำบทบาทหน้าที่ของคนทำงานในฐานะผู้ดูแลครอบครัวด้วย” ณัฐยา กล่าว
สถานที่ทำงานของสสส.จัดให้มีพื้นที่สีเขียว มีพื้นที่ทำงานหลากหลาย ต่อไปจะมีศูนย์เด็กเล็กทำnursery เมื่อเด็กโตเลิกเรียนจะมาช่วยสอนเด็กเล็กทำการบ้าน มีกิจกรรมday camp ขณะนี้พนักงานสสส.จำนวน200คนแบ่งทีมย่อยเป็น20ทีม ขณะนี้ส่วนใหญ่work from home เข้าทำงาน1วันใน1สัปดาห์ ใครที่ต้องการสมาธิให้ทำงานได้ในห้องสมุด หรือแม้แต่ในโรงอาหารก็ทำงานได้ 80%เป็นพื้นที่เปิด อีก 20%เป็นห้องแอร์ มีแผงช่องบังแสงแดดอัตโนมัติตามทิศทางของแสง สนามเด็กเล่นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกแบบ บันไดขึ้นลงสำนักงาน6ชั้นยึดหลักstage challenge เดินให้ได้หมื่นก้าว บางคนจากออฟฟิศถึงบ้าน3ทุ่มแล้วยังไม่ได้หมื่นก้าว การเปลี่ยนแปลงโต๊ะทำงาน บางครั้งก็ปรับให้ยืนเซ็นงานได้ จะเห็นผจก.สสส.ยืนเซ็นหนังสือและยังมีลู่วิ่งระหว่างการประชุม สิ่งเหล่านี้มีผลดีต่อความคิดสร้างสรรค์ หรือปั่นจักรยานไปด้วย มีการแยกห้องออกกำลังกายเพื่อให้ได้เหงื่อเพื่อความคิดจะได้แล่น ถ้ายังคิดงานไม่ออกก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปทำกิจกรรมอย่างอื่น
สสส.ต้องการให้ทุกคนมีกิจกรรมทางกาย ด้วยการออกกำลังกาย เดินแทนการขึ้นรถประจำทาง การสลายความเครียดจะได้มีการหลั่งเอ็นโดฟิน มีการจัดระเบียบความคิด ให้ประสาทและสมองตื่นตัว เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีความจำที่ดี การทำงานในโลกแห่งอนาคตต้องเตรียมการตั้งแต่เด็กๆ หนังสือเล่มนี้เป็นการเตรียมการให้เหมาะกับโลกแห่งการทำงานในอนาคต
รศ.ดร.พิภพ อุดร อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และอดีตผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่าวิธีคิดเรื่องคนและชีวิตส่วนตัวเป็นเรื่องของgeneration คนวัย50ปีขึ้นไปงานและครอบครัวจะแยกกัน แต่gen x gen Yงานและครอบครัวอยู่ด้วยกัน ด้วยแนวคิดwork life balanceไปด้วยกันได้ คนรุ่นนี้มีแนวโน้มเลือกชีวิตฉันเป็นหลัก ถ้างานไม่เข้ากับชีวิตฉัน ฉันพร้อมเปลี่ยนงาน ไม่เคยคิดว่าจะหางานไม่ได้ แม้จะเป็นลูกจ้างก็ยังทำงานอื่นได้ด้วย แนวโน้มเด็กรุ่นใหม่จะมีแหล่งรายได้หลายทาง จากงานพิเศษ งานรับจ้างอื่นๆและนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การทำงานfull time employment จ้างงานทั้งชีวิต จะไม่มีแนวคิดนี้กับคนรุ่นใหม่ เพราะงานไม่ใช่เจ้าชีวิตหรือเจ้าของเวลา ดังนั้นใครที่มีงานเดียวต้องคิดขยับขยายเพื่อหางานที่สองรองรับ ในยุคหลังการระบาดของโควิด-19 ที่เราเรียกว่า NEW NORMAL คำว่าที่ทำงานหรือออฟฟิศจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว คือ ที่ทำงานไม่จำเป็นต้องเป็นออฟฟิศ ทุกที่สามารถเป็นที่ทำงานได้ ทุกตำแหน่งสามารถทำงานที่ใดก็ได้ บริษัทจะมีพื้นที่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีห้องทำงานของฝ่ายต่างๆ อีกต่อไป ต่อไปโลกปกติที่เราคุ้นเคยจะไม่มีอีกต่อไป ชีวิตnew normal จะต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจไวรัส การสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด ต่อไปจะมีวัคซีนไม่เพียงเฉพาะโควิด
ดัชนีชี้วัดการทำงานจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับชั่วโมงการทำงาน แต่จะขึ้นอยู่กับผลของงาน ขณะที่องค์กรจะต้องปรับตัวมีระบบความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลทำงานที่ดีเพื่อไม่ให้สิ่งที่เป็นความลับเผยแพร่ออกไปสู่ภายนอก ซึ่งหากองค์กรไม่ปรับตัวจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่สร้างแรงจูงใจให้คนมาทำงานด้วย และสุดท้ายองค์กรอาจไปไม่รอด ส่วนเด็กรุ่นใหม่จะทำงานเป็นแบบสัญญาจ้างมากขึ้น ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือร้านกาแฟ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถทำงานอื่นๆได้ในเวลาเดียวกัน และเงินเดือนอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต ดังนั้นความหมายของการจ้างงานในอนาคต คือ การทำงานด้วยความรับผิดชอบให้ได้ตามเป้าหมายที่บริษัทวางไว้
ความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานมีความจำเป็น องค์กรระดับโลกเห็นว่างานและที่ทำงานเป็นคนละเรื่อง จะมาที่ทำงานหรือไม่มาที่ทำงานแต่มีผลงานwork from home หรือ remote working ทำงานอยู่ในร้านกาแฟ หรือทำงานระหว่างรอลูกเรียนพิเศษ อยู่ในสวนก็ทำงานได้ ดังนั้นต่อไปนี้ออฟฟิศไม่ได้มีความหมายแล้วสามารถเลือกมุมทำงานจากที่ใดที่หนึ่งเพื่อสร้างผลงานได้ รวมถึงการใช้cyber space การทำงานสมัยใหม่ต้องมีpolicy ที่ชัดเจนด้วย กติกาการทำงานต้องดูที่ความสำเร็จของงาน สร้างความพึงพอใจกับทุกฝ่าย ต่อแต่นี้ไปที่ทำงานไม่ได้หมายถึงสถานที่เอาคนมารวมกัน นักลงทุนผู้ถือหุ้นมองว่าการมีที่ทำงานสร้างproductionให้กับองค์กร เขาทำงานที่ไหนก็ได้ ผลิตผลงานให้เราได้
คนกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่าทำงานเป็นครอบครัวเดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน แต่บางกลุ่มมองว่างานก็คืองาน ทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อทีมีผลผลิต สมาชิกไม่ดีในทีมถูกคัดออกต่างจากการทำงานแบบfamily ที่เอื้อต่อกันมุ่งสู่รายได้ เราต้องมองงานเป็นเรื่องท้าทายอยู่เสมอ ๆฉลองความสำเร็จทำให้มีชีวิตชีวา เพื่อจะได้มีแรงผลักดันในการทำงานสร้างทีม ดังนั้นการขาดลามาสายไม่ได้จำเป็นแต่ผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ ทีมleaderจะเป็นผู้รับผิดชอบตัวงาน
บางคนพอใจที่จะเลือกงานให้เหมาะสมกับชีวิตของตัวเอง ในออฟฟิศกูเกิ้ล การเดินทางจากตึกหนึ่งไปยังอีกตึกหนึ่งมีการใช้จักรยานที่ไม่มีเจ้าของและไม่มีเบรก แสดงว่าต้องคอนโทรลเมื่อถึงจุดหมาย ที่นี่มีโรงอาหารที่กินฟรี กินอย่างมีความสุขในออฟฟิศ หนึ่งในผู้ก่อตั้งyahoo ทำงานจนดึกคว้าถุงนอนมานอน มีร้านซักรีดเสื้อผ้า มีห้องออกกำลังกาย ทำอย่างไรให้คนทำงานนานที่สุดในออฟฟิศได้มีทางเลือก คนรุ่นใหม่มีเป้าหมายในการทำงานที่ต้องการความท้าทาย จริงอยู่ทำงานเพื่อให้ได้เงิน เพื่อให้มีอะไรดีขึ้น เกิดความสำเร็จ มีพลังในการทำงานต่อเป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุด
เราพูดถึงvision เป็นภารกิจ พันธกิจขององค์กรคือvision ลมหายใจเข้าออก มีคนเก่งที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสมัครทำงานบ.กูเกิ้ลถึง8ครั้ง เพราะวัฒนธรรมที่จะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาทำงานด้วยกัน เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วย การสร้างvalueในองค์กร มีการใช้ถ้อยคำสวยหรูที่ติดไว้ในลิฟท์ กูเกิ้ลทำให้คนทั้งโลกเข้าถึงแหล่งข้อมูล ไม่จำเป็นต้องใส่สูทก็ทำงานได้ดี ไม่ต้องทำสิ่งชั่วร้ายก็ทำเงินได้ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องดึงดูดให้คนอยากเข้าทำงาน
การให้รางวัลกับความล้มเหลว ยิ่งทำความผิดเยอะๆผิดบ่อยๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความล้มเหลวเป็นเรื่องของattitudeของสังคม ครอบครัว ในบ้านเราจะสอนเรื่องThe Best Course ต้องทำอะไรที่ดีที่สุด แต่อย่าล้มเหลว คนก็ไม่กล้าที่จะลองผิดลองถูกเดินออกไปนอกกรอบ เราต้องกล้าพอที่จะลองผิดลองถูกในสังคมตะวันตกทำผิดได้พันครั้ง ถ้าทำผิดได้ไม่ซ้ำกันแม้แต่ครั้งเดียว การทำผิดต้องควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย สิ่งเหล่านี้มาจากวิธิคิด เราตั้งงบประมาณสำหรับจัดการความล้มเหลว เพราะความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถเรียนรู้ได้ ถ้าเราไม่ฝึกฝนตั้งแต่เมื่ออยู่โรงเรียน การที่เด็กหกล้มต้องเจ็บและลุกขึ้นมา ดังนั้นผิดพลาดไม่เป็นไรแต่ต้องลุกขึ้นมาเป็นชีวิตประจำวัน
การทำงานกับผู้คนด้วยการโยนโจทย์ให้ทำงานเป็นกลุ่มและสังเกตวิธีคิดวิธิทำงาน การปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีการcheck listเป็นที่นิยมในสายบริหารธุรกิจ ใช้ต้นทุนสูงที่ต้องทำหลายรอบกว่าจะได้คนที่ไว้ใจได้ ปล่อยให้ทำงานแบบremote working มีการรักษาความลับขององค์กร เราคัดคนดีมาทำงานไม่ต้องใช้คำถามว่าจะรักษาความลับขององค์กรได้ไหม คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ย่อมเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร ถ้าคุณเป็นเหรียญบาทที่ตกอยู่ในเครื่องซักผ้าจะหาทางออกได้อย่างไร เราต้องดูวิธีคิดแก้ไขปัญหา โลกแห่งอนาคตต้องเจอเรื่องที่ไม่เคยเจอ ต้องการคนที่แก้ไขปัญหาได้ มีทักษะหลายด้าน ถ้ามีทักษะเพียงด้านเดียวก็เจ๊งได้ การทำงานร่ว่มกับคนอื่นได้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ทุกวันนี้เด็กอยู่กับตัวเองสูง อยู่กับวิธีคิดแต่เล่าเรื่องไม่เป็น เมื่อต้องทำงานเป็นทีมก็ต้องผ่านการฝึกฝน ไม่เพียงแต่การจำเรื่องราวเท่านั้นแต่ต้องมีskill communication
การที่เรามีโอกาสได้ทำงานกับคนเก่งๆจะได้ประสบการณ์ที่ดี องค์กรมีชีวิตมีchoiceให้เลือก คนทำงานจะมองเรื่องfull time คนเราควรมีงานไซส์ไลน์ขายของทางเน็ต ให้เขาได้มีชีวิตส่วนตัวในสิ่งที่เขาอยากทำด้วย The best place to work ต้องทำในหน่วยงานรัฐบาลด้วย ต่อไปภาคราชการจะต้องลดขนาดองค์กรลง คัดสรรเฉพาะคนเก่งๆทำงานยิ่งกว่าภาคเอกชน ถ้าได้คนไม่เก่งทำงานในภาครัฐกระทบต่อภาคเอกชนอย่างแน่นอน ถ้าข้าราชการยังคิดถึงกฎระเบียบ ไม่รู้ว่าโลกไปถึงไหนแล้ว งานภาครัฐไม่ใช่การสร้างผลผลิต แต่ต้องทำให้ทุกองค์กรเดินหน้าสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ คนทำงานในภาครัฐต้องได้คนเก่งมีเป้าหมายในชีวิต พัฒนาทีมงานสร้างโอกาส อนาคตมีเรื่องท้าทายอีกมากมาย
โลกแห่งอนาคตเราจะหวังให้ทุกคนมาทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน มีการrecruitment beyond skill มองบนยอดภูเขา มีการสร้างสถานการณ์ให้มีเรื่องกดดัน ทำให้คนร้องไห้ที่ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่กดดัน ในขณะที่มีการสัมภาษณ์ก็ต้องมีหน้าม้าอย่างที่เรียกว่าเล่นตามบทที่ได้วางไว้ด้วย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |