การทำงานในวงราชการ นอกเหนือจากการดูแลประชาชนตามหน้าที่ของตัวเองแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่น้อยไปกว่ากันคือ การสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ เพื่อบอกถึงผลการทำงาน และเป็นหน้าเป็นตาให้กับองค์กร จึงเป็นหน้าที่ของสำนักประชาสัมพันธ์ที่ต้องดูแลในเรื่องนี้ รวมถึงต้องประสานงานกระจายข่าวให้ผู้สื่อข่าว เพื่อออกข่าวให้สาธารณชนรับรู้
แต่ก็มีบางองค์กรที่สื่อสารกับประชาชนไม่ชัดเจน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในองค์กรนั้นทันที บางองค์กรฝ่ายข่าวเขียนข่าวไม่ดีก็รีบส่งให้ผู้สื่อข่าวเลยโดยที่ไม่มีการตรวจทาน ตกประเด็นบ้าง ช้าบ้าง สิ่งสำคัญคือผู้หลักผู้ใหญ่จะต้องเข้ามาตรวจทานอีกที เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจผิด เนื่องจากเมื่อข่าวออกไป ฝ่ายที่ได้รับแรงเสียดทานไม่ใช่สำนักประชาสัมพันธ์ แต่เป็นหัวหน้าหรือบอร์ดขององค์กรนั้นๆ ซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
แต่ไม่ใช่กับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำหรับผู้สื่อข่าวแล้ว องค์กรนี้ถือว่าทำงานได้รวดเร็วพอสมควร เมื่อมีมติสำคัญๆ เมื่อไหร่ จะออกข่าวให้ประชาชนทราบทันที และการเขียนข่าวละเอียดพอสมควร ตั้งแต่งานนาย ไปจนถึงประเด็นสังคม ก็ออกมาแจงละเอียดยิบ นอกจากนี้ในส่วนของประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเอง พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ก็ออกมาให้สัมภาษณ์บ่อยครั้ง แต่ถ้าท่านติดภารกิจก็ส่งไม้ต่อให้เลขาฯ เป็นผู้แถลงข่าว หรือออกเป็นเอกสารข่าวโดยสำนักประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ
ปะหน้าประธานผู้ตรวจฯ หลังสัมภาษณ์เสร็จแล้วได้มีการถามถึงประเด็นที่เคยออกเป็นเอกสารข่าว ซึ่งมีบางข้อความที่บกพร่อง โดยในวงมีทีมงานฝ่ายประชาสัมพันธ์อยู่ด้วย
"พล.อ.วิทวัส" หันไปพูดกับเจ้าหน้าที่ทันที...
“ขั้นตอนการทำเพรสนะ ในโอกาสต่อไปช่วยดูให้ครบถ้วนด้วย เวลาออกมติของผู้ตรวจการแผ่นดิน เราไม่เอาสั้นนะ ของเราจะต้องบอกเหตุผลการพิจารณาของที่ประชุม และท้ายสุดจะต้องบอกด้วยว่าผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลหรือยกคำร้อง”
ลงมือสอนงานเองแบบนี้ ต่อไปผู้สื่อข่าวเขียนข่าวง่ายแล้ว อิอิ
วอชเชอร์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |