'เพื่อไทย'แนะ'บิ๊กตู่'กลับใจไปฟังเสียงคนรุ่นใหม่


เพิ่มเพื่อน    

 

9 ส.ค.63 ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช กรรมการกิจการพิเศษ และหัวหน้าศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ พรรคเพื่อไทยกล่าวว่า จากการชุมนุมของกลุ่ม เยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการชุมนุมย่อย ๆ หรือที่เรียกว่า “แฟลชม็อบ” ตามมา กระแสการเคลื่อนไหวนี้ลุกลามเร็วราวกับไฟลามทุ่งไปทั่วประเทศกว่า 47 จังหวัด ล่าสุดได้เปิดตัวเป็นกลุ่มประชาชนปลดแอก ตามทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect) กระแสที่เกิดขึ้นนี้ยังดึงดูดผู้มีอุดมการณ์ร่วมกัน ไม่ว่าจะวัยหนุ่มสาวหรือวัยอื่นๆ ให้ลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาลจากการบริหารงานที่ล้มเหลวมากว่า 6 ปี ทำเศรษฐกิจพังจนกระทบปากท้องของประชาชนและถ้าหากรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าว สถานการณ์อาจบานปลายจนถึงขั้นที่รัฐบาลอยู่ยาก แต่ในตอนนี้สิ่งที่ไม่ยากเกินกว่าที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะทำได้เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ได้ก่อไว้ช่วง 6 ปีที่ผ่านมา คือการใช้ทฤษฎี 5 E เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพเบื้องต้นของรัฐบาล ดังนี้

1. Narrative Economics (เศรษฐศาสตร์นโยบาย) รัฐบาลต้องส่งเสริมให้เงินหมุนเวียนไปถึงคนตัวเล็กตัวน้อยโดยตรง คำว่า “เศรษฐกิจดี” นั้นหมายความว่าเมื่อผู้คนจับจ่ายใช้สอยสินค้า เงินดังกล่าวต้องไหลไปสู่ผู้ผลิตต้นทาง นำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น เกิดการกระจายรายได้และทำให้เกิดการจ้างงาน

2. Education การศึกษาไทยล้มเหลว มาตรฐานการสอนของแต่ละโรงเรียนต่างกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ระบบพัฒนาช้า ไม่ตอบโจทย์ตลาดงานในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาบัณฑิตเตะฝุ่นตามมา รัฐบาลต้องแต่งตั้งบุคคลที่มีความเข้าใจปัญหาในระบบการศึกษาจริง ๆ มาบริหาร และแก้ไขให้ตรงจุด สร้างการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษา และเข้าถึงปัญหาต่าง ๆ โดยการสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะกับทุกสถานศึกษาและผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ

3. Environment ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยที่นับวันจะแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น ฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มีค่าสูงเกินมาตรฐาน น้ำท่วม น้ำแล้ง ไฟป่า โลกร้อน ขยะล้นเมือง ฯลฯ รัฐบาลต้องออกมาตรการลดการผลิต และการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยหรือที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบนิเวศให้เติบโตไปพร้อมกับมนุษย์ได้เพื่อป้องกันปัญหาโรคติดต่อจากสัตว์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการรุกล้ำพื้นที่ป่าของมนุษย์

4. Empower (ให้อำนาจ) รัฐบาลควรเปิดโอกาสและให้อำนาจประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศออกแบบวิธีแก้ไขปัญหาในชีวิตของพวกเราเอง การรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนไม่ว่าจากเป็นผู้เห็นต่างหรือเห็นพ้องย่อมเป็นสิ่งสำคัญ หากรัฐบาลยังปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นอย่างที่เป็นอยู่ ก็ไม่ต่างอะไรจากการเติมเชื้อไฟให้คนออกมาประท้วงเพิ่มมากขึ้น

5. Engagement (การมีส่วนร่วม) ปัญหาที่เกิดขึ้นหลายปัญหาทุกวันนี้ เกิดจากการที่ประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ทำให้อนาคตของประชาชนเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มคนบางกลุ่ม แน่นอนว่าอนาคตที่เลือนรางแบบนี้ย่อมทำให้เกิดแรงปะทุจากกลุ่มผู้ถูกกดขี่แน่นอน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่ต้องมีชีวิตต่อไปในอนาคตที่มัวมนนั้น รัฐบาลชุดนี้จะอยู่ต่อไปได้ก็ต้องเห็นอนาคตของประชาชนสำคัญเป็นอันดับแรก หากอนาคตของประชาชนไม่ดีขึ้น ก็ยากที่รัฐบาลจะอยู่ต่อ
ภาคเอกชนและพรรคการเมืองส่วนใหญ่ พร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาล เพื่อแก้ไขวิกฤตในครั้งนี้ที่ทุกฝ่ายกำลังประสบอยู่ หากพล.อ.ประยุทธ์ เข้าถึง เข้าใจ และพร้อมแก้ไขปัญหาร่วมกับประชาชน คงไม่สายเกินไปที่จะกลับตัว กลับใจ เปลี่ยนวิธีการบริหารประเทศของตัวเองเสียใหม่ ในขณะที่ความทุกข์ทนของประชาชนจากพิษปัญหาเศรษฐกิจ พิษอำนาจนิยมจากคนบางกลุ่ม หรือนานาปัญหาที่รัฐบาลซุกไว้ใต้พรมกำลังกลับมาทำร้ายตัวรัฐบาลเอง ตัวเลือกสำหรับรัฐบาลคงเหลือไม่มากนัก เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลจะรักษาความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมไทยได้ ก่อนที่จะสายเกินแก้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"