ต่อไปเราอาจไม่ถูกยุงกัด  สถาบันปาสเตอร์ จับมือ เคมิคอลส์ เอสซีจี สร้าง"นวัตกรรมกับดักยุงลาย"ตายไปถึงลูกน้ำ


เพิ่มเพื่อน    

7ส.ค.63 - สถาบันปาสเตอร์ ฝรั่งเศส (Institut Pasteur) สถาบันวิจัยชั้นนำระดับโลกซึ่งศึกษาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมากว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้งโครงการ Defeat Dengue Program ได้ร่วมมือกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการวิจัยและพัฒนาเคมีภัณฑ์สารเติมแต่งพิเศษ (Functional Material) รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบจนเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมกับดักยุงลายซึ่งจะช่วยลดจำนวนการขยายพันธุ์ของยุงลาย นับเป็นการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง 

สำหรับนวัตกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ กับดักยุง ทำหน้าที่ดึงดูดยุงลายให้เข้ามาวางไข่ในกับดัก และสารพิเศษบริเวณฟองน้ำภายในกับดัก โดยเอสซีจีพัฒนาต่อยอดการใช้สาร BTI ซึ่งเป็นยับยั้งการเติบโตจากลูกน้ำไปเป็นยุงลายที่ใช้กันอยู่เดิม โดยคิดค้นสารเติมแต่งเพื่อเสริมให้ BTI มีคุณสมบัติสามารถเกาะติดกับขายุงได้ดี เมื่อยุงลายบินไปเกาะในแหล่งน้ำแห่งใหม่ สารพิเศษที่ติดขายุงจะละลายลงในน้ำ ช่วยยับยั้งไม่ให้ลูกน้ำเจริญเติบโตกลายเป็นยุง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่งน้ำนั้น


ตัวกับดักยุง  ได้ออกแบบให้เหมาะสมตามพฤติกรรมตามธรรมชาติของยุงลายและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวางไข่ของยุง ทั้งเรื่องสีของวัสดุพลาสติก ขนาดและรูปแบบช่องว่างที่ให้ยุงบินเข้า ระดับน้ำ พื้นที่ว่างเพื่อการบินและลงมาเกาะวางไข่ภายในกับดัก มีการเคลือบผิวภายในกับดักด้วยสารดึงดูดยุงลาย (Attractant) ที่พัฒนาขึ้นโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท อิคาริ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ยุงบินเข้ากับดักมีขนาดที่เหมาะสม ใช้งานง่าย สะดวก สามารถใช้งานทั้งภายในบ้านและกลางแจ้งได้เป็นอย่างดี 


ส่วนสารพิเศษ    ทางเอสซีจีต่อยอดการใช้สาร BTI (Bacillus Thuringiensis Israelensis) ซึ่งเป็นยับยั้งการเติบโตจากลูกน้ำไปเป็นยุงลายที่ใช้กันอยู่เดิม โดยคิดค้นสารเติมแต่งเพื่อเสริมให้ BTI มีคุณสมบัติสามารถเกาะติดกับขายุงได้ดี  ภายในกับดักจะมีฟองน้ำที่เคลือบสารพิเศษนี้ เมื่อยุงมาเกาะที่ฟองน้ำสารพิเศษจะเกาะติดไปกับขายุง เมื่อยุงลายบินไปเกาะในแหล่งน้ำแห่งใหม่ สารพิเศษที่ติดขายุงจะละลายลงในน้ำ ช่วยยับยั้งไม่ให้ลูกน้ำเจริญเติบโตกลายเป็นยุง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่งน้ำนั้น  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณที่กว้างมากยิ่งขึ้น ปริมาณการแพร่พันธุ์ยุงลายจึงลดลง ส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลงตามไปด้วย 


"นวัตกรรมกับดักยุงลาย" ได้มีการนำร่องทดสอบการใช้งานในพื้นที่ชุมชน ซึ่งธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ร่วมมือกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง นำร่องทดสอบการใช้งานกับดักยุงลายในพื้นที่ชุมชนจำนวน 50 หลังคาเรือน เพื่อช่วยลดการแพร่พันธุ์ของยุงลายในช่วงฤดูฝน และเป็นการเก็บข้อมูลการใช้งานจริงเพื่อการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพัฒนากับดักยุงลายให้มีประสิทธิภาพ ตรงกับความต้องการใช้งานในพื้นที่ที่แตกต่างกันต่อไปได้ดียิ่งขึ้น 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"