“วิถีพอเพียง” สร้างชุมชนมั่นคง สร้างสังคมเข้มแข็ง


เพิ่มเพื่อน    

“ถิ่นอุทยานประวัติศาสตร์ถังแดง แหล่งน้ำตก เลื่องลือจุดส่องนก มรดกงานศิลป์ ถิ่นภูมิปัญญา นานาไม้ผล ธารน้ำร้อนมหัศจรรย์ อาหารรสเด็ด พื้นที่สำเร็จในบ้าน ผลิตภัณฑ์เลิศล้น โอบล้อมด้วยชุมชนที่มีน้ำใจ”

 

สโลแกนของชุมชน ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ที่ถือได้ว่าเป็นชุมชนต้นแบบ มีการบริหารจัดการตัวเองได้ สืบเนื่องจากการที่มีประวัติศาสตร์ทางการเมืองช่วงปี 2511 2515 หรือที่เรียกว่ายุค “ถังแดง” คนในชุมชนก็ร่วมต่อสู้ด้วยกันมาโดยตลอด ทำให้ชุมชนมีความรัก ความสามัคคีและความเอื้ออาทรต่อกันอย่างแน่นแฟ้น นำไปสู่การขับเคลื่อนงานพัฒนาในพื้นที่ผ่านแผนยุทธศาสตร์ของชุมชน

จนปัจจุบันได้ตั้งศูนย์เรียนรู้ตำบลวิถีพอเพียง ผ่านการสนับสนุนของ ปตท. ทำให้ชุมชนมีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง มีการใช้องค์กรชุมชนเป็นแกนการขับเคลื่อน สิ่งที่เครือข่ายได้ให้ความสำคัญคือ เวทีเรียนรู้ของคนภายในชุมชน เพื่อให้ค้นพบจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน มีแผนแม่บทเครือข่ายที่ร่วมคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของชุมชน

 

และจากการพูดคุยกับ นายอุทัย บุญดำ ประธานศูนย์เรียนรู้ฯ ก็ได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของการตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ ย้อนกลับไปในช่วงปี 2544 จากเดิมที่ยังไม่เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ แต่ชาวบ้านได้มีการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาสาธารณะในชุมชนด้วยตัวเอง โดยกำหนดพื้นที่เป็นระดับตำบลก่อน ซึ่งตอนนั้นใช้องค์กรชุมชนในการขับเคลื่อน หรือที่รู้จักกันในนามเครือข่ายสินธุ์แพรทอง

 

ต่อมาในปี 2545 ทางเครือข่ายได้มาจัดแผนยุทธศาสตร์พัฒนาคนของตำบลขึ้นมา เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณะที่ว่า และในปีถัดมาก็มีการบันทึกความร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่น เทศบาล อนามัย โรงเรียน สาธาราณสุข เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน และในปี 2548 ได้นำเครือข่ายเข้าไปจดทะเบียนเป็นองค์กรการค้าประโยชน์ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีแนวทางเน้นเรื่องการแก้ปัญหาสาธารณะ และพัฒนาคนเป็นหลัก ซึ่งมีความเชื่อว่าหากพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และคุณธรรม สติ และปัญญา จะสามารถแก้ปัญหาของตัวเองได้อย่างดี

 

ในปี 2550 มีหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาเห็นถึงศักยภาพของเครือข่าย ว่ามีความพร้อมและความชำนาญในการแก้ปัญหาสาธารณะ รวมทั้งยังมีโครงการที่ออกมาเป็นรูปธรรมหลายๆ เรื่อง รวมถึงมีพื้นที่ในการพูดคุยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาความไม่เข้มแข็งต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจภายในชุมชน อาชีพ และปัญหาของความเป็นผู้นำ

ด้วยเหตุนี้ในปี 2551 ชุมชนจึงได้เข้าร่วมโครงการรักษ์ป่าสร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชุมชนเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นจุดแรกที่ชุมชนได้ร่วมงานกับ ปตท. ถึงแม้ในปี 2555 โครงการดังกล่าวได้จบไป ตำบลลำสินธุ์ ยังได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 4 ตำบลต้นแบบ จากตำบลทั้งหมดทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  

 

และจากกิจกรรมทั้งหมดที่ผ่านมา ทำให้เครือข่ายสินธุ์แพรทอง จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล ใช้ประสานงาน และสถานที่เรียนรู้ของคนในชุมชน 2.ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีสติและปัญหา เพื่อยกระดับของคนให้เป็นรูปธรรม ใช้เป็นเวทีกลาง เป็นพื้นที่สาธารณะทางความคิด เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาหารือและเสนอแนะข้อได้เปรียบเสียเปรียบรวมทั้งแนวทางที่จะพัฒนาชุมชนไปในทิศทางที่ดี

 

และ 3.เพื่อเป็นสถานที่ให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง โดยสร้างความเข้มแข็งและผลักดันในด้านต่างๆ เช่น สวัสดิการ การแปรรูปสินค้าและอาชีพ การแก้ไขปัญหาและสิทธิทำกิน รวมทั้งสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

นายอุทัย เล่าต่อว่าเมื่อได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ขึ้น ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ซึ่งเดิมทีมีข้อจำกัดในเรื่องของการดำรงชีวิต และยังไม่มีประสบการณ์ความชำนาญมากพอในการแก้ปัญหา แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มกัน จึงมีการจัดระเบียบองค์ความรู้ให้เกิดเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าชุมชนนี้มีองค์ความรู้จำนวนมากที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อได้ โดยเฉพาะการพัฒนาคนที่ถือว่าเป็นเรื่องเด่นของชุมชนเลยก็ว่าได้

 

ต่อมา ปตท. ได้มาสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านพลังงาน การส่งเสริมอาชีพ และการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวชุมชนเพิ่มเติม โดยในด้านพลังงาน ปตท. เข้ามาให้องค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานทดแทน จากการนำชีวมวลและแสงอาทิตย์มาใช้ภายในครัวเรือน โดยปัจจุบันในศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ใช้พลังงานทดแทนกว่า 50% แล้ว และยังได้ติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน และใช้สูบน้ำเพื่อทำการเกษตรได้อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเด่นที่สามารถเป็นต้นแบบให้แก่ชุมชนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

ด้านการส่งเสริมอาชีพนั้น ปตท. ได้เข้ามาให้ความรู้ เสริมทักษะให้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงช่วยพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีหน้าตาออกมาสวยงาม พร้อมทั้งสนับสนุนการขอรับรองมาตรฐาน อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) อีกด้วย

 

ขณะที่การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวชุมชน  ปตท. ช่วยแนะแนวทางให้เยาวชนฝึกเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยเริ่มจากการฝึกวิธีการเล่าเรื่องให้สามารถดำเนินงานได้จริง รวมทั้งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักด้านการท่องเที่ยว ซึ่งในชุมชนนี้มีจุดดูนกที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ที่หากได้เข้าไปจะพบกับธรรมชาติผืนสีเขียวสุดลูกหูลูกตา

ศูนย์เรียนรู้ตำบลวิถีพอเพียง หวังให้คนในชุมชนมีความรู้ มีที่อยู่อาศัยและปัจจัย 4 มีเครื่องมือและช่องทางประกอบอาชีพ มีจุดเรียนรู้ระดับครัวเรือนและสร้างทุกอย่างให้เป็นรูปธรรม สิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งคุณธรรมอันพอเพียงที่จะทำให้ทุกคนรู้จักตนเอง มีนาฬิกาชีวิตเป็นของตัวเอง จนกลายเป็นวัฒนธรรมชีวิตในท้ายที่สุด

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"