ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขี้นย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ ระบบอวัยวะต่างๆ ก็ทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นจะมีความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และผลต่อเนื่องไปถึงด้านจิตใจ จึงควรมีการตรวจสุขภาพอย่างเป็นระยะ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคแทรกซ้อนมากมาย ทำให้หลายคนมักเข้าใจเป็นว่าเป็นการเสื่อมสภาพตามวัย จึงละเลยไม่เข้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
ทนพ.ญ.กัญจนา สาเอี่ยม ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ หรือ N Health เผยว่า “การตรวจสุขภาพมีประโยชน์สำหรับคนวัยนี้เป็นอย่างมาก เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็จะเสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และอาจมีการก่อตัวของโรคต่างๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่ได้ฉายาว่าเป็น “มัจจุราชเงียบ” เพราะเป็นโรคที่ไม่ค่อยมีอาการเตือนล่วงหน้า จนกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยอาการแทรกซ้อนของความเจ็บป่วยอื่นๆ ซ้ำร้ายตรงที่การเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ความเสี่ยงต่ออีกโรคก็จะเพิ่มขึ้นตามมา”
“การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุเป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ ผู้สูงอายุหลายคนเข้าใจว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมาตลอด ไม่เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัว จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ยอมตรวจสุขภาพ เพราะกลัวว่าจะเจอโรคแล้วทำให้ไม่สบายใจ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมารับรู้ความเจ็บป่วยของตนเอง”
การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุเป็นประจำทำให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพด้านต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย การทรงตัว หู ตา ช่องปาก การขับถ่าย การออกกำลังกาย การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจความแข็งแรงของมวลกระดูก ตรวจระดับไขมัน ตรวจภาวะสมองเสื่อม ไปจนถึงการตรวจภายในคัดกรองมะเร็ง
อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพที่มีประโยชน์จะต้องเป็นการตรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยหาต้นตอของโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกแล้ว ยังทำให้ง่ายที่จะรักษาให้หายขาดได้หรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ สามารถรับมือกับโรคเรื้อรังและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับผู้ที่ที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูงเป็นทุนเดิม เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและไม่ไปเร่งการพัฒนาโรคให้เกิดขึ้น
นอกจากการตรวจสุขภาพแล้ว สิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติเพื่อมีร่างกายที่แข็งแรง คือ 1.เลือกทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม 2.ออกกำลังกายอยู่เสมอ 3.สูดอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ 4.ไม่ควรสูบบุหรี่และดื่มแอลอฮอล์ 5.ใส่ใจป้องกันอุบัติเหตุอยู่เสมอ 6.ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดี 7.ใช้ยารักษาโรคอย่างเหมาะสม 8.หมั่นสังเกตอาการผิดปกติในร่างกายอยู่เสมอ และ 9.ทำให้ให้สบาย ไม่เครียด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |