6 ส.ค.63 - ที่มหาวิทยาลัยรังสิต คณะอาชญาวิทยาฯ ม.รังสิต จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง “ความเลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม” โดยผู้ร่วมเสวนา นายอุดม รัฐอมฤต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต์ และอดีตโฆษกและกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กรณีที่มีคนถูกกล่าวหาหรือว่าปรากฎเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในคดีทางอาญา กรณีนายวรยุทธ อยู่วิทยา กระทำโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือว่าขับรถทำให้เกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะโดยมึนเมา หรือขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมี่อเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ เป็นข้อหาที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อกล่าวหารวม 5 ข้อ
อย่างไรก็ตามถ้ามีคนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา โดยปกติการกล่าวหามีได้ทั้งผู้เสียหาย และรัฐเป็นผู้ดำเนินการ ในส่วนกลไกของรัฐได้สร้างตำรวจซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนในคดี และอัยการเพื่อดูว่าคดีๆต่างสมควรจะดำเนินคดีต่อศาลหรือไม่ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีของนายวรยุทธ อยู่ในชั้นพนักงานที่ยังไม่รู้ว่าเขากระทำความผิดอย่างไรแน่ จึงเป็นที่มาที่พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการจะต้องตรวจสอบพยานหลักฐานต่างๆ แต่ท้ายที่สุดการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องวิธีปฏิบัติ ว่ากลไกของรัฐในส่วนพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ยังเป็นที่สงสัยว่าดำเนินการไปตามกฎหมายและเหตุผลที่ชอบหรือไม่
นายอุดม กล่าวว่า มีข้อน่าคิดว่า ข้อเท็จจริงถ้าผู้ที่ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำความผิด กลไกของรัฐจะต้องไม่ไปกลั่นแกล้ง ตรงกันข้ามถ้ามีบุคคลที่กระทำความผิดกลไกของรัฐจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนและวิธีการให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีคนที่ทำความผิดกฎหมายอาญามีการกระทำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่โต เพราะฉะนั้นขั้นตอนของชั้นเจ้าพนักงาน แม้เห็นว่ามีการกระทำความผิดก็เป็นไปได้ที่จะไม่ดำเนินคดีต่อไปยังชั้นศาล จึงต้องใช้ดุลยพินิจว่าอะไรเหมาะอะไรควรจะต้องใช้เจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่เล่นพรรคเล่นพวกหรือเลือกปฏิบัติ ในกรณีของนายวรยุทธ สะท้อนถึงความไม่ใส่ใจ เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2555 และลากยาวจนทำให้หลายคดีขาดอายุความไม่สามารถดำเนินการ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่าใครผิดใครถูก ถึงขณะออกมาแถลงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฎไม่รู้ว่าสิ่งไหนจริงสิ่งไหนไม่จริง สะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมขาดความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล ที่การกระทำอะไรบางอย่างจะต้องมีแรงจูงใจในเรื่องประโยชน์ในทางหนึ่งทางใดเสมอ ทั้งนี้คนจะดีจะชั่วถ้าระบบทำให้ดี จะทำให้คนไม่ดีไม่กล้าทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
"โดยธรรมชาติของคน ยอมสยบต่ออำนาจหรือคนที่เหนือกว่า แต่การที่จะไม่กระทำไปในทิศทางที่ทำร้ายสังคมจะทำอย่างไร โดยที่ความเลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่เราต้องการหลีกเลี่ยงไม่ต้องการให้เกิดขึ้น กระบวนการยุติธรรมในวันนี้ของคดีวรยุทธสะท้อนถึงความไม่ใส่ใจ ที่ใช้เวลามากในคดีซึ่งดูว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ การประสบอุบัติเหตุก่อความเสียหายบนท้องถนนเป็นสิ่งที่เจอเป็นปกติ แต่กรณีนี้สะท้อนถึงความไม่ปกติของผู้ที่รับผิดชอบ หลายคนบอกว่าคดีอาญาเป็นปัญหาที่ไม่ใช่เฉพาะของคุณวรยุทธ มันเป็นปัญหามานานแล้ว เพียงแต่เราจะหยิบยกขึ้นมาพูดหรือไม่ หรือสังคมจะสนใจหรือไม่ เป็นเรื่องปัญหาของระบบ" นายอุดม กล่าว
นายอุดม กล่าวอีกว่า คดีอาญาใกล้ชิดกับการเมืองมาก ใกล้ชิดกับการที่จะพยายามแสวงหาตัวช่วย หรือผู้ที่มีบทบาทความเป็นความตายของผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้ากระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่คนจะต้องเข้าไปอ้อนวอนขอความเมตตา ตนเชื่อว่าความยุติธรรมในบ้านเมืองไทยคงหาความสำเร็จได้ยาก เพราะทุกอย่างจะเป็นเรื่องของอำนาจหมด ถ้าสังคมเป็นสภาพแบบนี้อยู่สังคมจะไม่มีหลักประกันความยุติธรรม
ด้านนายวิชา มหาคุณ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ กล่าวว่า ตราบใดที่ความยุติธรรมซื้อได้ จะไม่สามารถจัดการเรื่องทุจริตคอรัปชั่นไม่ได้เลย ดังนั้นจึงต้องจัดการให้ความยุติธรรมปราศจากการซื้อได้ด้วยเงิน ถึงจะดำเนินกระบวนการอย่างอื่นให้สำเร็จลุลวงไปได้ กรณีนายวรยุทธ เป็นแบบที่แสดงให้เห็นว่าความเลื่อมล้ำ และความไม่ยุติธรรมยังคงอยู่ ที่เห็นได้ชัดคือความล่าช้าในการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม ไม่มีชาติไหนที่ดำเนินการในคดีที่นานกว่า 8 ปีแบบนี้
อย่างไรก็ตามถ้าให้ความยุติธรรมล่าช้าเท่าไหร่ก็จะมีกระบวนการแทรกแซงได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ ดังนั้นความเลื่อมล้ำสามารถแก้ได้ด้วยมนุษย์ที่เป็นส่วนสำคัญ ไม่มีอะไรดีกว่าการที่จะต้องพัฒนามนุษย์ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมให้ถึงแก่นยกเครื่องใหม่ ระบบแม้มีความผิดพลาด ไม่บูรณาการ ต่างคนต่างทำ แต่การแก้ที่ตัวบุคคลบคือสิ่งที่จำเป็นที่สุด และต้องได้คนดีที่สุดมาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อย่าเอาคนเหลือเลือกเข้ามาอยู่ในกระบวนการนี้ เพราะจะทำให้ราษฎร์เดือดร้อน สิ้นหวัง และจะจบลงที่ความเสื่อมสุดของการปกครอง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |