EU หนุนโครงการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ “โรงเรียนขนาดเล็ก” นำร่อง 400 โรงเรียน 8 จังหวัด สร้างครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง


เพิ่มเพื่อน    

 

กรุงเทพฯ / สหภาพยุโรป(EU) หนุนเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมด้านการศึกษาและชุมชน  แถลงเปิดตัวโครงการพัฒนา “โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก” ขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน ภายใต้โครงการ “ACCESS School : ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน” โดยมีเป้าหมายนำร่องใน 400 โรงเรียน 8 จังหวัด  คือ  ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม น่าน  ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2563-2566)  มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก โรงเรียน และชุมชน รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถของ “ครูแกนนำ” ให้เป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างโรงเรียน และโรงเรียนสร้างชุมชนไปพร้อมกัน

 

จากการที่โรงเรียนขนาดเล็กระดับขั้นพื้นฐาน (โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน) จำนวนกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ  โดย 2 ใน 3 มีความเสี่ยงที่อาจจะถูกยุบหรือควบรวมกับโรงเรียนอื่นๆ  ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  สะท้อนให้เห็นประเด็นด้านสิทธิการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  รวมทั้งความเหลื่อมล้ำต่อเด็กและชุมชนในสิทธิขั้นพื้นฐาน  ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ  สังคม และวัฒนธรรมนั้น

 

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา  ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ  เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมด้านการศึกษา ได้แก่ มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.), สมาคมไทบ้านร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนนอกกะลา-ภาคกลาง, สมาคมผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สพป.น่าน เขต 1 และสมาคมพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ และสมาคมพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด  ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา” (ACCESS School Project) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU)

 

 

โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของภาคประชาสังคมในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก  ผ่านการพัฒนา “โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชุมชน  และเพื่อให้เป็นกลไกการทำงานร่วมกันขององค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน   สังคม  กับหน่วยงานภาครัฐ  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงมหาดไทย  และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในระดับพื้นที่และระดับเชิงนโยบาย

 

นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้องค์กรภาคประชาสังคม  ครูแกนนำ  ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก นักวิชาการ  นักการศึกษา  ภาครัฐ  ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์  หาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กร่วมกัน  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อคุณภาพและสิทธิทางการศึกษาของเด็กนักเรียนในชุมชนยากจนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน

 

นายเทาฮีด อิบเน่ ฟาริด  

 

นายเทาฮีด อิบเน่ ฟาริด  ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็คชั่นเอด  อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) กล่าวว่า  โครงการนี้มุ่งเสริมสร้างโมเดลโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นกระบวนการหนุนเสริมให้ชุมชนและองค์กรภาคประชาสังคมสามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบททางนิเวศ  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อมของชุมชน  และความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยเสริมสร้างทักษะ “ครู” ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  รวมถึงการพัฒนาบุคลากรภาคประชาสังคมให้มีความรู้ความสามารถ  มีความเสมอภาค  และความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งจะเน้นการพัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิงให้มีสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยการสนับสนุนให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโรงเรียน  มุ่งสู่เป้าหมายการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นายพัชกร พัทธวิภาส  ผู้จัดการโครงการ ACCESS School กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป(EU) ซึ่งวันนี้ ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้เดินทางมาร่วมแถลงเปิดตัวโครงการพร้อมกับบรรยายเรื่องนโยบายของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและนานาประเทศ  

 

และกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นองค์กรหลักของภาครัฐในการพัฒนาการศึกษา  โดยคุณภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบาย  รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ได้มาร่วมบรรยายพิเศษ “เรื่องนโยบายและความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการในการหนุนเสริมภาคประชาสังคมและชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาตามนโยบายการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4” (Sustainable Development Goal: SDG 4) โดยมีองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วม  ถือเป็นภาพของการเริ่มต้นทำงานในการยกระดับโรงเรียนขนาดเล็กร่วมกัน

 

นายเทวินฏฐ์  อัครศิลาชัย

 

นายเทวินฏฐ์  อัครศิลาชัย ผู้ประสานงานโครงการ  และเลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย  กล่าวว่า จะเห็นว่าในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศในทุกด้าน  ทั้งเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติต่างๆ จะเห็นว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  คือโอกาสและคำตอบของการจัดการศึกษาแนวใหม่ที่เหมาะสมกับการศึกษาของโลกยุคปัจจุบันและอนาคต

 

“โครงการ ‘แอ็คเซส สคลู’  คือโครงการที่จะเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของครูและโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาบนฐานชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กหรือผู้เรียนที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคประชาสังคมในทุกระดับ”  นายเทวินฏฐ์กล่าว

 

ทั้งนี้โครงการพัฒนา “โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก” ขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและชุมชน  ภายใต้โครงการ ACCESS School : ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน”  มีเป้าหมายนำร่องใน 400 โรงเรียน 8 จังหวัด  คือ  ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และน่าน  ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ.2563-2566)  มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก  โรงเรียน  และชุมชน  รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถของ “ครูแกนนำ” ให้เป็นพลังขับเคลื่อนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างโรงเรียน   และโรงเรียนสร้างชุมชนไปพร้อมกัน

 

มอบรางวัลให้แก่เด็กชายธีรเดช  ทิพวงศ์  

 

นอกจากนี้ในการแถลงข่าวดังกล่าว  โครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กเข้ามามีส่วนในการดำเนินโครงการผ่านการประกวดออกแบบโลโก้ของโครงการ ACCESS School  โดยมีการมอบรางวัลให้แก่เด็กชายธีรเดช  ทิพวงศ์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านฮากฮาน  อ.เวียงสา  จ.น่าน ที่ชนะเลิศการประกวดออกแบบโลโก้ครั้งนี้  โดยได้รับทุนการศึกษาจำนวน 8,000 บาท


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"