แนวทางจัดการพลาสติก


เพิ่มเพื่อน    

 

     พลาสติก วัสดุที่เกิดขึ้นผลพลอยของการผลิตปิโตรเลียม ที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกสามารถใช้ทดแทนวัสดุประเภทอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้พลาสติกยังใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ ในปริมาณที่เท่ากัน จึงทำให้พลาสติกมีต้นทุนต่ำและได้รับความนิยมในหลากหลายอุตสาหกรรม 

                แต่ในปัจจุบันที่เกิดกระแสการต่อต้านการใช้พลาสติกนั้น  เนื่องจากบางกลุ่มเห็นว่าพลาสติกจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดขยะง่ายที่สุด และสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในเรื่องนี้คือผู้ใช้ต้องรู้จักใช้ รู้จักทิ้ง และมีการคัดแยกที่ถูกวิธีตั้งแต่ต้นทาง เพื่อที่จะนำไปจำกัดหรือใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และอีกหนทางหนึ่งคือต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลาสติกให้ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง

                ซึ่งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกชั้นนำจากทั่วโลกที่มองเห็นปัญหาดังกล่าวจึงรวมตัวกันเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยต่างๆ มากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อกำหนดเทรนด์ในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี 

                โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพลาสติกเพื่อความยั่งยืนให้ตอบสนองกับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการพัฒนาพลาสติกในอนาคตที่ต้องยั่งยืนและมีประสิทธิภาพทั้งด้านการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยปรับเปลี่ยนตั้งแต่แนวคิดการออกแบบตั้งแต่ต้นทาง วิธีการผลิตใหม่ๆ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคเกิดการใช้ซ้ำ รวมถึงการจัดการหลังการใช้ และการรีไซเคิลตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

                ซึ่งได้สรุป 5 แนวทาง การพัฒนาพลาสติกเพื่อความยั่งยืน ที่ผู้ประกอบการชั้นนำได้คิดค้นขึ้นเพื่อตอบโจทย์ทิศทางการบริโภคในปัจจุบัน ดังนี้ 1.รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น โดยพื้นฐานแล้วพลาสติกนับเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% แต่ที่ผ่านมาวงการพลาสติกได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการและการใช้งาน โดยประกอบหรือผสมกับวัสดุชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติก ทำให้บรรจุภัณฑ์นั้นไม่สามารถรีไซเคิลได้ 

                โดยต่อไปจะต้องพัฒนาบรรจุภัณฑ์หลายชั้น โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ ตลอดจนการพัฒนาพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้อยู่แล้ว ให้สามารถรีไซเคิลได้ดียิ่งขึ้น โดยที่คุณสมบัติไม่ลดลง 2.ลดทรัพยากรการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ โดยนำเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่ตอบโจทย์เทรนด์ในอนาคต 

                3.นำขยะกลับมาเป็นวัตถุดิบ เมื่อพลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ จึงมีการนำขยะพลาสติกมาหมุนเวียนเพื่อใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบต่อไป โดยการรีไซเคิลด้วยกระบวนการทางกล โดยการนำพลาสติกที่ใช้งานแล้วมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและขึ้นรูปเป็นสินค้าเพื่อใช้งานโดยตรง  และการนำพลาสติกกลับไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในกระบวนการผลิตทั้งในรูปแบบก๊าซและของเหลว 

                4.พลาสติกชีวภาพ และวัตถุดิบทางเลือก โดยพัฒนาจากวัตถุดิบหลากหลายชนิด อาทิ ข้าวโพด อ้อย และมันสำปะหลัง  และเนื่องจากพลาสติกเป็นผลพลอยได้จากปิโตรเลียมที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงได้มีการคิดค้นการนำวัตถุดิบทางเลือกที่สามารถผลิตใหม่ได้ จึงทำให้พลาสติกเหล่านั้นแตกต่างจากพลาสติกทั่วไปที่สามารถรีไซเคิลได้ 

                5.ความร่วมมือ ผนึกกำลังเพื่อความยั่งยืน ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ทั้งตอบโจทย์เจ้าของผลิตภัณฑ์และสังคมไปพร้อมๆ กัน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญ เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการขยะเพื่อนำกลับมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่า อุตสาหกรรมพลาสติกจะเติบโตไปพร้อมๆ กับการดูแลโลก

                ซึ่งเทรนด์พลาสติกเพื่อความยั่งยืนทั้ง 5 นี้ สะท้อนให้เห็นว่าเหล่าผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการรีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ และการลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างสรรค์พลาสติกอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงเพื่อเอื้อต่อการจัดการหลังการใช้งาน.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"