Next Normal: รู้ก่อน..รุกได้ก่อน


เพิ่มเพื่อน    

        บางคนเรียกมันว่า New Normal อีกบางคนบอกว่าควรจะเรียกว่า New Abnormal

            แต่โลกหลังโควิด-19 น่าจะเป็น Next Normal

            นั่นหมายความว่าเราต้องมองไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง "ปกติใหม่" หรือ "ความผิดปกติใหม่" ก็ตาม

            เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมมีโอกาสได้ตั้งวงเสวนากับคน 3 รุ่น คุยกันถึง "โอกาสในวิกฤติ" และอะไรคือ Next  Normal

            เป็นการสนทนาที่ได้สาระ ความรู้ และแรงบันดาลใจไม่น้อย

            ขออนุญาตนำเอาบางตอนมาเล่าให้ฟัง

            ต้องขอบคุณเว็บไซต์ MarketPlus ที่กรุณาถอนเนื้อหาบนเวทีวันนั้นได้อย่างละเอียดและชัดเจน

            หัวข้อทางการวันนั้นคือ "Next Normal: รู้ก่อน ก็รุกได้ก่อน จากประสบการณ์ตัวจริง 3 วงการ 3  Generations"

            งานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ "Next Normal รู้ก่อน รุกก่อน" โดย Bangkokbanksme ด้านข่าวสารความรู้เพื่อ SMEs ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

            เริ่มด้วยคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ และบรรณาธิการบริหาร The Standard ตัวแทนมุมมองของคน Gen Y ที่แม้จะเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกของชีวิต แต่เขากลับมองว่านี่คือความตื่นเต้นและเป็นโอกาส

            "ส่วนตัวไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเจอวิกฤติเศรษฐกิจและการแก้ปัญหามาก่อน แต่ก็ปลุกอารมณ์ฮึดสู้ได้ดีนะ เรามักได้ยินว่าทุกวิกฤติคือโอกาส จึงได้มีการประเมินว่าภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ธุรกิจของเราจะมีโอกาสอย่างไรบ้าง และจะปิดกั้นไม่ให้วิกฤติที่เกิดขึ้นส่งผลลบต่อธุรกิจได้อย่างไร"

            เรื่องแรกที่นครินทร์ทำคือ ตรวจสอบสภาพคล่องและกระแสเงินสดของบริษัทในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

"Cash is King" มีความสำคัญมาก จากไม่เคยมีความรู้เรื่องการเงินและทำบัญชี ตอนนี้ถึงกับเชี่ยวชาญ จากนั้นก็ปลุกคนในองค์กรให้รวมพลังทำงานแบบไม่มีวันหยุด ทำงานแบบยืดหยุ่นในลักษณะ Work  From Anywhere

            นั่นคือการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ที่ทำงานของ The Standard จึงเป็นแค่พื้นที่พบปะ ทำกิจกรรมร่วมกันเท่านั้น

            ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ย่อมมีหลายธุรกิจที่ต้องล้มหายจากไป

            ผู้ประกอบการรายเล็กจะไปก่อน

            ดังนั้นการตลาดจึงมุ่งเป้าไปที่รายใหญ่ โดยจับสัญญาณได้ว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้คนต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน รวดเร็ว

            ขณะเดียวกันแบรนด์ต่างๆ ที่ยังมีกำลัง ก็มีความต้องการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้นเช่นกัน

            นครินทร์บอกว่าด้วยเหตุนี้เอง งบประมาณด้านประชาสัมพันธ์ของธุรกิจขนาดใหญ่จึงถือเป็น "โอกาส" สำหรับ The Standard

            เมื่อนับจากช่วงการระบาดของโควิด-19 รายรับของ The Standard เพิ่มขึ้นกว่าช่วงเวลาปกติด้วยซ้ำ

            "ผมมองว่านี่คือพลังของการปรับตัว และการสร้างโอกาสในช่วงวิกฤติ"

            นครินทร์กล่าวว่า ภายใต้ตัวเร่งของโควิด-19 ทำให้ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์เปิดโอกาสทางธุรกิจให้ทุกคน แต่กลยุทธ์ SMEs ถัดจากนี้ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน

            "Philip Kotler" ปรมาจารย์ด้านการตลาดที่มีชื่อเสียงของโลกกล่าวไว้ว่า ตอนนี้ Mass Marketing  จบแล้ว

            จากนี้จะเป็น Very Targeted Marketing เป็นโลกที่ใครๆ จะเลือกอะไรก็ได้ผ่านการซื้อขายออนไลน์ ทำให้ไม่สามารถแบ่งตลาดเป็น Generation ได้อีกต่อไป

            ทุก Gen มีความเชื่อมโยงกัน กลุ่มเป้าหมายจึงโฟกัสที่ "Lifestyle" ไม่แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยอายุ รายได้ หรือภูมิศาสตร์ แต่แบ่งแยกโดยคนที่มีความสนใจตรงกัน มี Lifestyle เหมือนกันเท่านั้น

            ในความเห็นของเขา SMEs ยุคต่อไปต้องทบทวนว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีความสอดคล้องกับสินค้าหรือไม่ และถ้ายังไม่ใช่ก็ต้องรีบปรับให้เร็ว

            ที่สำคัญ คนทุกวันนี้สนใจแค่ปัจจุบันตรงหน้าเท่านั้น ทำให้ต้องเกาะติดหรือ monitor ความเปลี่ยนแปลงของลูกค้าตลอดเวลาด้วย

            "SMEs ไม่มีกำลังมากพอสำหรับการตลาดแบบเหวี่ยงแห ต้อง focus กลุ่มเป้าหมายให้ชัด ปรับสินค้า บริการให้สอดคล้องกับ Lifestyle กลุ่มเป้าหมาย สร้างความแตกต่างของสินค้า แต่ยังต้องรักษาตัวตนของสินค้าไว้ให้ได้" 

            นครินทร์บอกว่าข้อดีของ SMEs คือ เล็ก สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ และหากสำรวจตลาดบ่อยๆ จะพบว่าบางช่วงมีสัญญาณบางอย่างที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค เกิดเป็นความต้องการใหม่ๆ จึงต้องศึกษาตลาดให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเร็วกว่าเสมอ ในทางกลับกันความเล็กก็เป็นจุดอ่อนของ SMEs

            เพราะเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างเทรนด์ใหม่ๆ ขึ้นมาเอง เพราะไม่มีเงินลงทุนมากพอ จึงต้องเกาะติดกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น อะไรมาใหม่ต้องเปลี่ยนให้ทันเปลี่ยนให้เร็ว อย่ารอ ให้ทำทันที เพราะถ้าไม่รีบทำ คนอื่นทำก่อน คุณจะถูกทิ้งให้อยู่ในลำดับท้ายๆ"

            ในความเห็นของนครินทร์ อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจมากในปัจจุบันคือ ธุรกิจแบบ B2B ที่มีมูลค่ามหาศาล

            ยกตัวอย่างเช่น Supply Chain ในอุตสาหกรรมอาหาร ที่กว่าจะเป็นอาหารแต่ละจาน เครื่องดื่มแต่ละแก้ว มี Supply Chain ที่รองรับหลากหลายกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ

            ดังนั้น ธุรกิจยุคใหม่อย่ามองแค่ปลายทาง ต้องมองตลอด Supply Chain ว่า ณ ขณะหนึ่งเกิดช่องว่างอะไรขึ้นบ้างและสามารถใช้ช่องว่างเหล่านั้นแสวงหาโอกาสได้อย่างไร

            พรุ่งนี้: E-Commerce ในวิกฤติโควิด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"