'สุรเชษฐ์'ฟิตจัดประเดิมงานผู้ว่าการกทพ.คนใหม่เร่งเข็นโครงการติดหล่ม


เพิ่มเพื่อน    


3 ส.ค.63-นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยภายหลังลงพิธีนามในสัญญาจ้างผู้บริหารตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ. โดยมีนายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ (บอร์ด) กทพ. เป็นผู้ร่วมลงนามวันนี้ (3 ส.ค. 2563) ว่า จากประสบการณ์การทำงานในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ. คนใหม่นั้น ตนรู้วัฒนธรรมการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งในระหว่างนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการเรียนรู้วัฒนธรรมของ กทพ. จากนั้นจะเดินหน้าบริหารจัดการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อร่วมเดินหน้าทำงาน โดยในฐานะที่ตนเป็นคนรุ่นใหม่ พร้อมที่จะนำสิ่งใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับ กทพ.

“การเป็นคนนอกเข้ามาทำงานที่ กทพ. ยอมรับว่ารู้สึกหนักใจ ผมมีความจริงใจและความตั้งใจ โดยในเรื่องของการจัดทัพองค์กรก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ผมจะประสานงานระหว่างคนในและคนนอกให้เข้ากันพอดี ไม่ล่วงล้ำก้าวเกิน ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพูดคุยพนักงาน เพื่อทำความรู้จักและรับฟังปัญหาในเบื้องต้นแล้ว และวันนี้ 3 ส.ค. 2563  ผมจะไปแสดงวิสัยทัศน์และทำความเข้าใจกับสหภาพฯ ด้วย ผมมั่นใจว่า จะทำให้เป็นองค์กรให้ได้ประโยชน์อันดับ 1 ของประเทศ ถ้าพนักงานเชื่อมั่นก็จะให้ความร่วมมือ พร้อมยืนยันว่า การทำงานไม่มีพวกพ้อง และต้องการสร้างผลงาน จะทำให้การทำงานได้รับการยอมรับและพร้อมทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานฯ กทพ. และทุกคนในองค์กร” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

นายสุรเชษฐ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับงานที่จะดำเนินการเร่งด่วน คือ การแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกกรุงเทพมหานคร ในสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับจากแยกต่างระดับบางขุนเทียน–เซ็นทรัลพระราม 2 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร (กม.) และสัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับจากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม.โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตีความของกรมบัญชีกลาง ซึ่งตนจะพยายามให้ได้ข้อยุติ ในระหว่างนี้ขอศึกษาที่มาที่ไป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกผ่าย 

นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการะบบทางด่วนขั้นที่ 3 (N2) พร้อมกับการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ที่ยังมีปัญหาเนื่องจากมีแนวเส้นทางผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ส่วนตัวมองว่า เส้นทางดังกล่าวถึงแม้จะไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการก่อสร้าง โดยเฉพาะในเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า แต่มีผลตอบแทนทางด้านสังคมที่ดี ซึ่งพบว่าประชาชนผู้ใช้ทาง และระบบขนส่งจะได้รับประโยชน์ และแม้ กทพ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องมองเรื่องของผลกำไร แต่โครงการนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรได้ ซึ่งในวันนี้จะไปหารือร่วมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคาดว่าในเร็วๆ นี้ จะได้คำตอบเรื่องดังกล่าว

"ที่ผ่านมาโครงการนี้พยายามทำมาถึง 20 ปีแล้ว แต่ไม่สำเร็จ โดยหลังจากนี้จะไปหารือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกครั้งโดยมีเพียง 2 แนวทาง ทางแรก คือ ไม่ทำ และทางที่ 2 คือ การเดินหน้าต่อไปโดยไม่แตะปัญหา แม้เส้นทางนี้หากทำสำเร็จกทพ.จะขาดทุน แต่เมื่อประชาชนได้ประโยชน์ก็ต้องทำอย่างเต็มที่ โดยจะเอาข้อเท็จจริงไปหารือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว" นายสุรเชษฐ์ กล่าว

สำหรับโครงการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย และจะเร่งดำเนินการ เช่น โครงการขยายทางพิเศษ (ทางด่วน) บูรพาวิถี เพื่อเชื่อมต่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 รวมถึงโครงการอุโมงค์กระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต โดยจะเร่งศึกษาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งจะมีการลงพื้นที่ เพื่อไปพิจารณาปัญหา 

ขณะที่ ในส่วนงานที่เป็นนโยบายสำคัญของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรื่องการยกเลิกระบบไม้กั้นช่องผ่านทางด่วน ตามที่กรมทางหลวง (ทล.) ได้ยกเลิกไม้กั้นในเส้นทางมอเตอร์เวย์ไปแล้วนั้น กทพ.จะพยายามเร่งรัดงาน  เพื่อให้ระบบดังกล่าวเกิดการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อระหว่าง 2 หน่วยงาน โดยพร้อมปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงคมนาคม และจะพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการให้การดำเนินโครงการแล้วเสร็จภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า โครงการดังกล่าว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการใช้พนักงานประจำด่านจะลดลง แต่ได้แจ้งพนักงานไว้แล้วว่า ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเปลี่ยนให้ไปทำตำแหน่งอื่น พร้อมยืนยันว่าไม่มีนโยบายในการเลิกจ้าง

นายสุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการหารายได้ให้กับ กทพ. ซึ่งได้แสดงวิสัยทัศน์ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งนั้น จะเดินหน้าขยายโครงข่าย เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ กทพ. ที่ได้เวนคืนมาแล้ว นอกจากนี้จะลดรายจ่ายส่วนต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น กระบวนการซ่อมบำรุง เป็นต้น

ด้านนายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ (บอร์ด) กทพ. กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ กทพ.ได้ผู้ว่าการฯ คนใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ที่องค์กรต้องการผู้นำผลักดันงานในหลายโครงการ ซึ่งจากประวัติของนายสุรเชษฐนั้น เป็นที่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะในส่วนที่สร้างประโยชน์ด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เนื่องจากมีผลงานจากการทำงานขับเคลื่อนหลายโครงการในช่วงที่ดำรงตำแหน่งอยู่ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะนำมาใช้กับงานที่ กทพ.ได้ 

ขณะที่ ภารกิจของ กทพ.ยังมีอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องการเรื่องสัญญาทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาในการตีความของกรมบัญชีกลาง โดยปัญหาหลัก คือ นิยามการจำกัดความ และการตีความ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ซึ่งต้องทำความความชัดเจนก่อนเปิดให้มีการประมูลโครงการ อีกทั้งยังมี โครงการขยายทางพิเศษ (ทางด่วน) บูรพาวิถี เพื่อเชื่อมต่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 รวมถึงโครงการอุโมงค์กระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต รวมถึงโครงการเชื่อมต่อทางขึ้น-ลง สู่การท่าเรือกรุงเทพฯ และโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี

นอกจากนี้ ยังมีภารกิจที่สำคัญในการจัดการองค์กร โดยเฉพาะการเร่งสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งของรองผู้ว่าการฯ  ซึ่งขณะนี้มีตำแหน่งที่ว่างอยู่ 2 ตำแหน่ง และในช่วงเดือน ก.ย. 2563 จะมีผู้เกษียณอายุราชการ โดยจะว่างลงอีก 2 ตำแหน่ง รวม 4 ตำแหน่ง แบ่งเป็น ตำแหน่งรองผู้ว่าการฝ่ายวางแผน, การก่อสร้าง, ฝ่ายกฎหมาย และฝ่ายการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายที่ผู้ว่า กทพ.คนใหม่ ต้องหาบุคลากรให้ครบ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"