เล็ง"ปฎิรูป"จัดสรรงบการศึกษา/คณะกก.อิสระหวังยกเครื่องทั้งระบบตั้งแต่ศธ.-โรงเรียน-ครู


เพิ่มเพื่อน    

   "ปฎิรูป"จัดสรรงบการศึกษา

คณะกก.อิสระหวังยกเครื่องทั้งระบบตั้งแต่ศธ.-โรงเรียน-ครู

 

คณะกรรมการอิสระฯ ศึกษา หาแนวทาง ปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา และระบบบัญชีของโรงเรียน “หมอจรัส” เผยต้องเริ่มจากการเก็บฐานข้อมูล ให้เพียงพอต่อการวางนโยบายบริหารจัดการ ชี้ ค่าวิทยะฐานะครูเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่คุณภาพการศึกษาสูงขึ้นหรือไม่  ต้องทบทวน  ด้าน “ชัยพฤกษ์” เร่ง ศึกษาค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประเทศไทย เปรียบเทียบกับต่างประเทศ  รวมถึงประเด็นค่าใช้จ่ายวิทยฐานะว่ามีความเหมาะสม และส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษามากน้อยแค่ไหน

 

นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า  ที่ประชุมได้มีการนำเสนอรายงานวิจัยเรื่องโครงสร้างและแนวทางการจัดสรรงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐานจากส่วนกลางไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยที่ประชุมจะนำการวิจัยดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในอนาคต โดยเฉพาะการปฏิรูปข้อมูล เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลต่างๆ ยังไม่เพียงพอต่อการวางนโยบายด้านการบริหารจัดการ ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลเพื่อปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณ โดยมุ่งประเด็นกฎเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ และนำไปสู่วิธีการปฏิบัติและป้อนกลับการใช้งบประมาณที่เหมาะสม รวมถึงการปฏิรูประบบบัญชีของโรงเรียน เพราะโรงเรียนบางแห่งยังไม่มีระบบการทำบัญชีได้ดีเท่าที่ควร อีกทั้งโรงเรียนก็ไม่ได้รับงบประมาณของแผ่นดินเพียงอย่างเดียว แต่มีรายรับจากช่องทางอื่นด้วย 

ขณะเดียวกันการมีระบบเงินตำแหน่งวิทยฐานะของครูและผู้บริหารส่งผลให้ค่าใช้จ่ายการศึกษาทั้งระบบสูงขึ้น ความจริงคุณภาพการศึกษาควรจะดีขึ้นด้วยหรือไม่  ซึ่งคณะกรรมการอิสระฯ มองว่าเมื่อมีวิทยฐานะควรทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมยังไม่มีคำตอบว่าจะแก้ประเด็นนี้อย่างไร แต่เชื่อว่าจะเป็นข้อสังเกตให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการศึกษาในอนาคตอย่างแน่นอน

 

ด้านนายชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ กรรมอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า จากการวิจัยเรื่องดังกล่าวพบว่า ภาพรวมงบประมาณการจัดการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับงบประมาณในจำนวนที่สูงมาก เฉพาะปี 2561 ได้รับงบประมาณถึง 300,000 ล้านบาท ซึ่งในงบจำนวนเหล่านี้ถูกใช้ไปกับเงินเดือนครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนที่เหลือจะเป็นงบอุดหนุนรายหัวให้แก่สถานศึกษาต่างๆ ไปดำเนินการในรูปแบบโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าในงบประมาณที่ถูกใช้ไปกับเงินเดือนครูก็เพราะเราต้องการผลักดันให้วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่ในจำนวนครู 400,000 คน ได้รับค่าวิทยฐานะในกลุ่มชำนาญการพิเศษ คิดเป็นร้อยละ 53  และสังคมคงมีความคาดหวังว่าเมื่อครูมีค่าตอบแทนที่สูงจะมีแรงจูงใจพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่ดีได้ ดังนั้นงานวิจัยดังกล่าวจะทำให้เรากลับทบทวนดูว่าระบบการจัดสรรงบประมาณในลักษณะนี้กับสังคมที่คาดหวังว่าคุณภาพการศึกษาจะดีขึ้น จะเป็นทิศทางที่เหมาะสมหรือไม่ 

นอกจากนี้จากการจัดทำระบบข้อมูลสถานศึกษาที่ได้ทำร่วมกับ สพฐ. โดยเก็บข้อมูลรายรับรายจ่ายของสถานศึกษาพบว่า มีความแตกต่างกันมาก เช่น โรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กน้อยกว่า 120 คนมีต้นทุนต่อหัวค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันก็ยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังบริหารงานไปได้เช่นกัน เป็นต้น ส่วนบัญชีรายรับรายจ่ายค้นพบว่าโรงเรียนยังมีแหล่งที่มาของทรัพยากรรายได้จากอื่นไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่น ผู้ปกครอง และการหารายได้จากสถานศึกษาเอง

 

ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า  คณะกรรมการอิสระฯ ได้มอบหมายให้ สกศ.ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในตัวเลขที่เหมาะสมหรือไม่ โดยให้เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ  รวมถึงประเด็นค่าใช้จ่ายวิทยฐานะที่เป็นอยู่มีความเหมาะสม และการมีวิทยฐานะส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการศึกษามากน้อยแค่ไหน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"