ผลของการเชื่อมต่อด้านคมนาคมทางอากาศ อย่างการเชื่อมต่อสนามบิน ทำให้เกิดการเดินทางที่สะดวก และเกิดคอมมูนิตี้มอลล์ จะเห็นได้ว่ารูปแบบของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ได้สร้างให้ความเป็นเมืองเกิดขึ้นในทำเลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น หน้าบ้านบางคนอาจเคยเป็นตึกแถวมาก่อน แต่หลังจากมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ก็ทำให้มีคอนโดฯ ร้านอาหาร มีผู้คนสัญจรไปมากันมากขึ้น โดยลักษณะของอีอีซีจะเป็นแบบนี้ มีการเดินทางที่สะดวก มีศูนย์การค้าต่างๆ ตามมา มีความหนาแน่นประชาคมเมือง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทเองได้มีการเข้าไปเปิดสาขาในย่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและวังน้อย ก็มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาใช้บริการ
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลส่งผลให้เมืองมีการขยายตัว โดยเฉพาะทุกทำเลที่มีโครงการ สำหรับการส่งเสริมโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่กำลังทำให้จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นที่ต้องการของนักลงทุนหลายราย เพื่อสร้างโอกาสให้กับธุรกิจของตัวเอง รองรับการเติบโตของภูมิภาคแห่งนี้ โดยหนึ่งในปัจจัยสี่ของผู้บริโภคคงเป็นกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ที่จะต้องเติบโตตามความเป็นเมืองอย่างแน่นอน ซึ่ง นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่ Global COVID-19 Index (GCI) จัดให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 จาก 184 ประเทศทั่วโลก ที่ฟื้นตัวของแต่ละประเทศจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ตอกย้ำเรื่องของเวลเนสของการใช้ชีวิตในเมืองไทยจึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น อาทิ ชาวญี่ปุ่นที่ค่อนข้างชอบเมืองไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว รวมถึงฮ่องกงก็อยากใช้ชีวิตในเมืองไทยกันเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่าการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างความสนใจแก่ผู้ประกอบการเข้ามาในไทยได้นั้น ต้องดูเรื่องค่าแรงและภาษี เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของประเทศไทยในตอนนี้คือเวียดนาม หากไปดูเรื่องความสามารถในการแข่งขันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากรัฐบาลทำมาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายกฎเกณฑ์บางอย่าง หรือแม้แต่ด้านภาษี ที่อยู่อาศัย การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
"สิ่งที่ค่อนข้างเป็นห่วงคือนโยบายของรัฐที่ขาดความต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลพยายามทำยุทธศาสตร์ชาติเพื่อสร้างความมั่นใจในระยะยาว เพื่อความต่อเนื่องและสามารถสานต่อนโยบายได้ แต่การเมืองต้องมีความมั่นคง ไม่หยุดชะงัก สำหรับการส่งเสริมอีอีซีก็คงต้องมาดูว่า มีส่วนไหนสามารถสร้างความสนใจแก่นักลงทุนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ที่อยู่อาศัย ภาษี มีความปลอดภัยด้านสุขภาพและการใช้ชีวิต ทำให้ต่างชาติมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันภัยแล้งก็เป็นสิ่งที่น่าห่วงกับอีอีซี เพราะเหตุการณ์ในอดีตของการทำนิคมฯ ที่ต้องนำมาเป็นบทเรียน” นายบุญยงกล่าว
ธุรกิจอาหารขยายตัว
นายบุญยงกล่าวว่า สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบซัพพลายเชน และเมื่อมีนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้น ก็จะทำให้เกิดการสร้างงาน แน่นอนว่าย่อมเป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะสามารถสร้างงานและรายได้มากขึ้น จากนั้นจะทำให้การขยายศูนย์การค้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวในรูปแบบหลายแฟลตฟอร์ม
สำหรับ ผลของการเชื่อมต่อด้านคมนาคมทางอากาศ อย่างการเชื่อมต่อสนามบิน ทำให้เกิดการเดินทางที่สะดวก และเกิดคอมมูนิตี้มอลล์ จะเห็นได้ว่ารูปแบบของการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ได้สร้างให้ความเป็นเมืองเกิดขึ้นในทำเลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น หน้าบ้านบางคนอาจเคยเป็นตึกแถวมาก่อน แต่หลังจากมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าก็ทำให้มีคอนโดฯ ร้านอาหาร มีผู้คนสัญจรไปมากันมากขึ้น โดยลักษณะของอีอีซีจะเป็นแบบนี้ มีการเดินทางที่สะดวก มีศูนย์การค้าต่างๆ ตามมา มีความหนาแน่นประชาคมเมือง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทเองได้มีการเข้าไปเปิดสาขาในย่านนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและวังน้อย ก็มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาใช้บริการ
ล็อกดาวน์ต้องไม่สูญเปล่า
ส่วนแนวโน้มธุรกิจร้านอาหารในตอนนี้ได้ก้าวเข้าสู่นิวนอร์มอลแล้ว บริษัทเองก็ได้มีการปรับตัว และทุกธุรกิจต้องมีการปรับตัว หลังจากมีการล็อกดาวน์ทำให้คนออกจากบ้านไม่ได้ เทคโนโลยีและดิจิทัลเป็นช่องทางรอดไม่ใช่ทางเลือก การทำงานในออฟฟิศบางแห่งคนเริ่มน้อยลง กลายมาเป็นเวิร์กฟรอมโฮม จากเดิมคนจะไปใช้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซ หรือพื้นที่ต้องจ่ายเงินทำงานก็ไม่จำเป็นอีกแล้ว
"นิวนอร์มอล (New Normal) ต้องดูในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างธุรกิจค้าปลีกเห็นได้ชัดว่าการซื้อขายผ่านออนไลน์มาแรง ห้างต้องลดขนาดและปรับตัว ร้านอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องรองรับผู้คนมากมายเข้ามาใช้บริการ จึงต้องให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยและยกระดับมาตรฐานความสะอาดด้านต่างๆ มากขึ้น ทำให้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นทางรอดของธุรกิจ ซึ่งการล็อกดาวน์ที่ผ่านมาก็ได้เรียนรู้กันไปแล้ว ก็อย่าทำให้เสียของกับสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องนำมาประยุกต์ใช้ ตอนนี้จะให้รอวัคซีนมาคงไม่ไหว หากมีการแพร่ระบาดรอบสอง ออนไลน์ต้องมาแน่นอน" นายบุญยงกล่าว
ขณะเดียวกัน การการกระจายความเสี่ยงสำคัญมาก การไปอยู่กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง อย่างการส่งออก ท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเครื่องยนต์กี่ตัวดับหมดในตอนนี้ เมื่อก่อนอาจจะมีการวางแผนระยะเอและบี แต่ตอนนี้ต้องมีซีและดี มีหลายกรณีรองรับได้หลายสถานการณ์ รวมถึงต้องมีแหล่งเงินสด หากไปกู้ลงทุนเกินตัว เป็นหนี้สินเยอะ ตอนนี้ก็คงแทบลุกไม่ขึ้น ต้องกลับมาดูเรื่องบริหารต้นทุน ใช้เครื่องมือทันสมัยมากขึ้น ความผิดพลาดน้อยลง ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมากที่เป็นต้นทุน เพราะการกลับมาเปิดธุรกิจอีกครั้งไม่ใช่ทุกอย่างจะเหมือนเดิม ทุกอย่างต้องลีนหมด และต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
จัดทัพรับโควิด-19
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อีอีซีถือว่าเป็นทิศทางการทำธุรกิจสมัยใหม่ แต่ความกังวลคงเป็นเรื่องหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จบลง ที่อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนวางแผนไว้ก่อนหน้านี้ ตอนนี้อาจจะมีการควบคุมผู้ป่วยได้ดีในประเทศไทย แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องพึ่งพาต่างประเทศและท่องเที่ยว อยู่ที่ว่าจะสร้างเศรษฐกิจภายในได้ดีแค่ไหน แน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับอีอีซี จะเป็นผลดีกับธุรกิจเดลิเวอรี จะช่วยลดเรื่องต้นทุนได้ส่วนหนึ่ง จากคมนาคมที่สะดวก แต่ในขณะเดียวกันภาคของธุรกิจอาหารนั้น รัฐบาลต้องมองว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไรจากความแข็งแกร่งที่มี เพราะจริงๆ แล้วภาคอาหารและการเกษตรก็เป็นอีกหนึ่งเซ็กเตอร์หลัก อยากให้สนับสนุนสิ่งเหล่านี้
จากนิวนอร์มอล (New Normal) ที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทต้องมีการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งไปสู่ New V Foods โดยจะเน้นให้ความสำคัญกับ Plant-Based เป็นหลัก จากเดิมที่ทำตลาดในผลิตภัณฑ์กลุ่มข้าวโพดหวาน หรือเป็น Healthy Food and Beverage ซึ่งการหันมาโฟกัส Plant-Based นั้น จะทำให้สามารถเติมเต็มพอร์ตของสินค้าได้กว้างมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
การจะมุ่งสู่ New V Food ยังต้องมาดูเรื่องการทำงานของบริษัท ที่จะมีการรับโครงสร้างองค์กร เพื่อความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น โดยพนักงานจะมีทั้งคนที่ต้องเวิร์กฟรอมโฮม และบางส่วนต้องเข้ามาทำงานในสำนักงานบางวัน และในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาก็ปรับลดเงินเดือนผู้บริหาร เนื่องจากยอดขายตกไปช่วง 3 เดือนที่เกิดเหตุการณ์ หรือประมาณ 30% ที่หายไป รวมถึงยังได้ลดต้นทุนด้านต่างๆ เพื่อบริหารสภาพคล่องและการเงิน แม้ว่าในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ยอดขายก็ยังไม่กลับมาเท่าเดิม นอกจากนี้ ยังปรับเรื่องของช่องทางจำหน่ายให้หลากหลายมากขึ้น จากปัจจุบันสัดส่วนจากร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นประมาณ 95% ร้านโมเดิร์นเทรดและร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพอีก 4% ออนไลน์และเดลิเวอรี 1%
สร้างแพลตฟอร์มหลากหลาย
นายประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไมเนอร์ ฟู้ด ได้เสริมความพร้อมของการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง 2563 หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับบริการเดลิเวอรีเพื่อความแข็งแกร่ง ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์ บริษัทมียอดขายเดลิเวอรีโตขึ้นถึงสามเท่าจากช่องทางเดียวกันของปีก่อน
ขณะเดียวกัน ยังต้องพัฒนาเมนูใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค ผ่านการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาทางด้านนวัตกรรมให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการใช้ช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิผล การออกแคมเปญการตลาดที่มีความสร้างสรรค์ ดึงดูดลูกค้าได้ดี จุดประสงค์ของแผนนี้คือเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้กับบริษัท พร้อมกันนี้ยังมีโมเดลร้านรูปแบบคีออส เป็นการให้บริการแกร็บแอนด์โกที่สามารถสร้างรายได้ โดยจะตั้งร้านอยู่ใกล้กับความสะดวกของผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโมเดลครัวกลางรูปแบบใหม่ให้บริการที่ สะดวก ใกล้บ้าน ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ลูกค้าที่สั่งอาหารแบบเดลิเวอรีได้รับอาหารรวดเร็วขึ้น สดร้อนเหมือนมีเชฟมาปรุงให้ที่บ้าน ด้วยที่ตั้งสาขาใกล้บ้านในระยะ 3 กิโลเมตร
โควิดหนุนธุรกิจอาหารโต
Krungthai COMPASS มองว่ามีปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจอาหารไทยยังเติบโตได้ในยุควิกฤติโควิด-19 หลายด้าน ทั้งจากการที่ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และให้ความสำคัญกับคุณค่าและประโยชน์ของสารอาหาร จะเป็นโอกาสของธุรกิจอาหารในกลุ่มออร์แกนิกส์ และกลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ด โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มที่เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและกลุ่มที่ช่วยย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
นอกจากนี้ ความกังวลการระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ทำให้ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้นเรื่องความสะดวกรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการในกลุ่มเครื่องปรุงรสสำเร็จรูป การเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี จะเป็นปัจจัยเสริมให้ธุรกิจเครื่องปรุงรสเติบโตมากขึ้น เช่นเดียวกับการส่งออกเครื่องปรุงรสของไทย ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่องจากความกังวลในหลายประเทศที่อาจต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง
การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลด้านสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งความกังวลจากการติดต่อของเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน ซึ่งจะเป็นปัจจัยเร่งการเติบโตของธุรกิจอาหารโปรตีนจากพืช (Plant-Based Food) โดยจากการสำรวจของ The Beet ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารสุขภาพ พบว่า มีผู้บริโภคในสหรัฐถึง 23% เลือกที่จะบริโภคอาหารโปรตีนจากพืชมากขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่มีผู้บริโภคเพียง 12% ที่เลือกจะบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น
แม้โควิด-19 จะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจอาหารในหลากหลายกลุ่ม แต่เป็นที่แน่นอนว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ อาหารใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งคู่แข่งรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเร่งนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งตระหนักอยู่เสมอว่าผู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจะเป็นผู้นำในตลาดนี้ได้อย่างยั่งยืน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |