2 ส.ค. 2563 นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ธรรมะ คือ ทางออก กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 616,132 ตัวอย่างในโลกโซเชียล และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 3,752 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 ระบุระดับการปฏิบัติธรรมและคุณธรรมของผู้ใหญ่ทางการเมืองมีน้อยถึงไม่มีเลย เพราะ โกง คิดคด ทรยศ หักหลัง เสร็จนาฆ่าโคถึก กดดัน เบียดเบียนผู้อื่น คุกคามประชาชน ข่มเหงจิตใจเพื่อนร่วมงานผู้บริสุทธิ์ ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ คิดจะถอนทุนคืน แก่งแย่งตำแหน่ง ขณะประชาชนเดือดร้อน ทุกข์ยาก และไม่เคยเห็นประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุมีมากถึงมากที่สุด เพราะ เสียสละ อดทน บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมี ม็อบ การชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.0 คิดว่าไม่มี
อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 ระบุ ห้ามทุกม็อบ ทุกฝ่าย อ้างก้าวละเมิด สถาบันหลักของชาติ ให้จำกัดเฉพาะประเด็นการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองที่ล้มเหลวของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 10.7 ระบุแล้วแต่ดุลพินิจ
นอกจากนี้ ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.1 ไม่เชื่อมั่นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีชุดเก่าออก เอาชุดใหม่แทน เพราะ เป็นการปรับคณะรัฐมนตรีด้วยเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่ยึดเป้าหมายความต้องการในการแก้ปัญหาเดือดร้อนความทุกข์ยากของประชาชนเป็นหลัก ไม่ได้มุ่งลดความทุกข์ยากของประชาชน ปรับเพราะมุ่งแก้ปัญหาการเมืองภายในพรรค ปรับแล้วไม่เห็นว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ตามข่าวจะมีอะไรที่ดีกว่าชุดเดิม เป็นต้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 14.9 ที่เชื่อมั่น
นายนพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll พบว่า ข้อความการเมืองที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มีวันปล่อยข้อความแต่ละข้อความแตกต่างกัน โดยเริ่มจากข้อความที่ว่า เยาวชนปลดแอก เริ่มปล่อยในวันที่ 12 ก.ค.63 และวันที่ปั่นยอดสูงสุดคือ 23 ก.ค.63 ผ่านช่องทางที่นิยมคือ ทวิตเตอร์ (90.7%) วิดีโอ (4.7%) ต่อมาคือ ข้อความที่ว่า “ให้มันจบที่รุ่นเรา” เริ่มปล่อยข้อความวันที่ 18 ก.ค.63 และวันที่ปั่นยอดสูงสุดคือ 18 ก.ค.63 จากนั้นลดต่ำลง ที่น่าสนใจคือช่องทางผ่าน อินสตาแกรม (11.5%) สูงมาเป็นอันดับสอง รองจาก ทวิตเตอร์ (82.8%) และข้อความถัดมาคือ “ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” เริ่มปล่อยข้อความวันที่ 17 ก.ค.63 และวันที่ปั่นยอดได้สูงสุดคือวันที่ 24 ก.ค.63 ผ่านทวิตเตอร์(91.0%) และข่าว (3.8%) และข้อความใหม่ล่าสุด คือ “คณะประชาชนปลดแอก” เริ่มปล่อยข้อความวันที่ 31 ก.ค.63 ส่วนวันที่ปั่นยอดสูงสุดกำลังเก็บข้อมูลอยู่ โดยพบว่าช่องทางที่นิยมใช้คือ ทวิตเตอร์ (64.3%) และข่าว (21.4%) ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า เสียงของประชาชน ทั้งในโลกโซเชียลและนอกโลกโซเชียลกำลังนำไปสู่ความขัดแย้งวุ่นวายได้ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมีข้อมูลที่ไม่ดีเพียงพอต่อการตัดสินใจและปล่อยให้สถานการณ์สุกงอมมัวแต่ตั้งรับซื้อเวลาให้ผ่านไปจนถึงจุดที่แก้ไขยากถึงเวลานั้นประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่จะอยู่กันด้วยความทุกข์ยากลำบากและใครจะคุมใครได้ในเวลานั้น เพราะนายกรัฐมนตรีและผู้หลักผู้ใหญ่ทางการเมืองตัดสินใจด้วยคำนึงถึง “วิถีทางและผลประโยชน์แห่งการเมือง” มากกว่าจะปรับปรุงคณะรัฐมนตรีที่ยึดการทำงานให้ตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชนและประเทศชาติ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ผลที่ตามมาคือทำให้อารมณ์ของประชาชนกำลังคล้อยไปตาม “ข้อความการเมือง” และความเป็นจริงแห่งความทุกข์ยากที่ประชาชนกำลังเผชิญในขณะนี้และจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะตอนนี้ข้อความการเมืองในโลกโซเชียลกำลังถูกยกระดับจาก “เยาวชนปลดแอก” เป็น “คณะประชาชนปลดแอก” ทางออกที่เสนอคือ ผู้หลักผู้ใหญ่ทางการเมืองรีบปรับตัวให้ทัน ดับไฟแต่ต้นลม ใช้ “ธรรมะเป็นทางออก”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |