'เลขาฯศาลยุติธรรม'สร้าง 'BIG DATA' อัพเดทข้อมูลคดีใช้วิเคราะห์-ค้นคว้ารวดเร็วแค่คลิกเดียว


เพิ่มเพื่อน    


2 ส.ค. 2563 นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีเสริมศักยภาพระบบบริหารจัดการคดีในศาลยุติธรรม ก้าวสู่ “ดิจิทัล คอร์ท” (Digital Court หรือ D-Court) ในปี 2563 ว่า ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมได้พัฒนาให้บริการระบบยื่นฟ้องคดีแพ่ง-ส่งคำคู่ความ ผ่านระบบอี-ไฟลลิ่ง (e-Filing) ซึ่งมีการพัฒนาถึง Version 3 ให้คู่ความได้รับความสะดวกในการยื่นเอกสารออนไลน์ผ่านระบบได้ที่ไหน-เวลาใดก็ได้โดยผ่านการลงทะเบียนแสดงตัวตน ปัจจุบันมีการใช้ระบบนับแสนคดี ตลอดจนพัฒนาการสร้างช่องทางบริการระบบติดตามสำนวนคดีที่เรียกว่า อีแทรคกิ้ง (e-Tracking) และการบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรมสำหรับคู่ความ-ทนายความ ที่จะแจ้งวันนัดพิจารณา/ผลการส่งหมาย/แจ้งการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ศาลฎีกา/

ผลการรองรับคดีถึงที่สุด รวมถึงช่องทางการขอคัดถ่ายสำเนาคดี-คำร้องในคดีแบบออนไลน์ ผ่านระบบซีออส (CIOS) , ระบบอีโนทีส (e-Notice) ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชนในการลงประกาศเกี่ยวกับนัดไต่สวนคดี เช่น การจัดการมรดก ทดแทนการประกาศลงหนังสือพิมพ์หรือการติดประกาศหน้าศาล ซึ่งนอกจากช่องทางบริการทั้ง 4 ส่วนแล้ว การไกล่เกลี่ยออนไลน์ที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ความจำเป็นอย่างการแพร่ระบาดโควิด (COVID-19) ที่พัฒนามาใช้ประโยชน์ช่วง distancing นั้น มีความสำคัญในระยะยาว ต่อการสร้างระบบเก็บข้อมูลคดีภายในของศาลยุติธรรม ลักษณะไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จัดเก็บไว้ในที่เดียวรูปแบบ “ฐานข้อมูล BIG DATA”

โดยขณะนี้ สำนักงานศาลยุติธรรม พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลซึ่งผ่านการใช้บริการ 4 ระบบหลักดังกล่าว รวมทั้งการจัดเก็บคำพิพากษา ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่างๆ เรื่องคดีอาญา เช่น หมายจับ , หมายค้น , การฝากขัง , การดำเนินคดี อาทิ คดีความมั่นคง , คดีค้ามนุษย์ , คดีนักท่องเที่ยว ในลักษณะ BIG DATA แล้ว ซึ่งอดีตที่ผ่านมาเรายังไม่เคยจัดเก็บข้อมูลไว้ในที่เดียวกันลักษณะไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่จะสะดวกในการดึงข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น BIG DATA ที่กำลังจัดทำจึงจะเป็นประโยชน์ด้านฐานข้อมูลของเราในอนาคต ที่สามารถค้นคว้า นำเอาข้อมูลคดีนั้น ๆ ออกมาได้โดยง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรื้อชั้นเอกสารกระดาษแบบเดิมๆ เหมือนแค่คลิกเดียว ด้วยคำ/ข้อความสำคัญ (key word) ข้อมูลนั้นก็จะปรากฏรายละเอียดขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบ ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทั้งเชิงป้องกันและเชิงกำหนดนโยบาย รวมถึงการตั้งรับเรื่องการบริหารจัดการคดีหลาย ๆ เรื่อง หรือเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยความมั่นคง ซึ่งการเก็บข้อมูลเราก็ดำเนินการมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่พัฒนาเทคโนโลยี ขณะนี้เรียกได้ว่า 80-90% โดยยิ่งมีการใช้ระบบผ่านระยะหลายๆ ปีก็เท่ากับจะยิ่งเพิ่มจำนวนฐานข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น

“ที่ผ่านมาเราทำส่วนย่อยๆ คล้ายเป็นจิ๊กซอว์ต่อ ๆ กันมาก่อน เพื่อให้เกิดเป็นภาพใหญ่ขึ้น สิ่งง่าย ๆ ที่เราทำอย่างเช่น CIOS , e-Filing , e-Notice , e-Tracking นอกจากจะสร้างความสะดวกกับประชาชนในแง่ที่ต้องมาติดต่อศาล แล้วข้อมูลที่ได้จัดเก็บเหล่านี้ยังช่วยสร้างฐานข้อมูล BIG DATA ส่งเสริมการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เรียกว่ากดปุ๊บก็รู้เลย ขณะที่การทำงานก็ลดขั้นตอน รวดเร็วมากขึ้น โดยการจัดทำ BIG DATA เราก็มีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีรองรับทั้งซอฟท์แวร์-ฮาร์ดแวร์ และยังมีพีเพิลแวร์ (peopleware) คือบุคคลากรของศาล ที่ปีนี้ 2563 เราเสริมทักษะให้คนในองค์กรมีความรู้เกี่ยวกับระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในลักษณะ Up-skill และ Re-skill” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวย้ำ

ทั้งนี้ นายสราวุธ ได้กล่าวสรุปตอนท้ายว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด ตนมอบหมายให้คณะกรรมการเรื่องข้อมูลคดี วิเคราะห์ต่อด้วยว่าเมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลแล้ว สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง พัฒนาได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาเคยมีกรณีที่สอบถามข้อมูลมายังสำนักงานศาลยุติธรรม เช่นว่า คดีค้ามนุษย์มีกี่คดี เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง เป็นคดีประเภทไหน ศาลพิพากษาลงโทษเท่าใด ยกฟ้องเท่าใด ดังนั้นคำถามที่สำคัญของการทำ BIG DATA คือเมื่อเรารวบรวมข้อมูลแล้วเอาไปใช้ด้วยการวิเคราะห์ได้มาก-น้อยแค่ไหนด้วย เพราะหากมีข้อมูลเยอะแต่ไม่ได้นำไปใช้ก็จะไม่มีประโยชน์เลย คำว่า BIG DATA จะมีประโยชน์ เมื่อคุณสามารถเอาข้อมูลที่มีอยู่ไปก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรส่วนรวมมากที่สุด นั่นคือเป้าหมายของเรา ก้าวต่อไปของศาลยุติธรรม คือรวบรวมข้อมูลไว้ในจุดเดียวแล้ว แค่คลิกเดียวก็นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้เลย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"