1 ส.ค. 63 - นายปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
บันทึกของฟรังซัว อังรี ตุรแปง
ตุรแปง ชาวฝรั่งเศส เขียนจากข้อมูลที่ได้จากบาทหลวงบรีโกต์ซึ่งเคยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาหลายปีจนกระทั่งกรุงแตก พิมพ์ที่กรุงปารีสใน พ.ศ. 2314 (ค.ศ. 1771)
นิสัยใจคอของชาวสยาม
-ภาคภูมิใจในชาติ รักขนบธรรมเนียมอย่างเหนียวแน่น อ่อนโยนสุภาพ มีเมตตา ซ่อนความรู้สึก ไม่ชอบพูดมาก มัธยัสถ์ ไม่ชอบหรูหราฟุ่มเฟือย ไม่เห็นแก่ตัว มีความรู้จักพอ
จุดอ่อนของชาวสยาม
-เฉื่อยชาเกียจคร้าน ย่อท้อ ไม่ชอบทำอะไรที่ลำบากยากเย็น ไม่ยินดียินร้าย ไม่ชอบเหน็ดเหนื่อยและยากลำบาก มักจะเหลาะแหละ ไม่ยอมรับหลักการและผลที่เกิดจากหลักการ จิตใจไม่ค่อยได้รับการฝึกฝน จึงไม่เคยแยกว่าอะไรดีและอะไรดีที่สุดแล้วประพฤติโดยไม่นึกจะคิดไตร่ตรองหาเหตุผล
- มักเป็นนายที่แข็งกระด้าง ไม่ค่อยรู้วิธีบังคับบัญชาคน มีความเจ็บแค้นสูงเมื่ออับอาย บ้าคลั่งอย่างไม่รู่จักชั่งใจเมื่อโมโห บางครั้งโหดเหี้ยมทำร้ายกันถึงตาย
- มักย่อมอ่อนน้อมต่อผู้อยู่เหนือกว่า แต่จะหยิ่งดูหมิ่นคนที่ต่ำกว่าและคนที่แสดงยกย่องเขา บางคนช่างพูดอย่างมีเล่ห์เหลี่ยม อ้างเหตุผลผิดๆมาตบตาคน
- เชื่อถือไสยศาสตร์ โชคลาง หมอดู เข้าทรงและคาถาอาคม
- ชาวสยามชอบการพนันอย่างยิ่ง ผู้แพ้การพนันยอมขายได้แม้กระทั่งลูกเมียของตน
- การศึกษาของสยามขาดวิชารู้จักคิดหาเหตุผล คนสยามพยายามจะไม่คิดเพราะความคิดทำให้เหน็ดเหนื่อย
- ไม่มีประเทศใดในโลกที่คนทุจริตจะมีวิธีพลิกแพลงมากเท่ากับในประเทศสยาม มีคนชำนาญการในการทำให้คดียุ่ง สามารถทำให้เรื่องร้ายที่สุดกลับไปในทางดีได้และเขาจะเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างสูงทีเดียว
*ผมเก็บบันทึกฉบับนี้ไว้หลายปีแล้ว ไว้คอยเตือนใจตนเองและชาวไทยซึ่งเป็นเชื้อสายเดียวกับชาวสยามว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของเราในสายตาของชาวต่างชาตินั้นคืออะไรและจริงหรือไม่ ขณะนี้เกิดกรณีผู้ทำผิดกฏหมายแต่กลับรอดพ้นทุกคดีกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ได้อย่างเป็นที่กังขาของสาธารณชน เป็นไปตามข้อสุดท้ายในบันทึกนี้ เราจะทำใจให้ลืมกันไปเพราะนี่คือนิสัยประจำเผ่าพันธุ์ชาวสยามหรือครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |