วธ.ทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ 130 วรรณกรรมอาเซียนมาแปลเป็นไทย ชูเรียนรู้วัฒนธรรม 9 ชาติผ่านหนังสือ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันที่ 30 ก.ค. ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และมูลนิธิวิชาหนังสือ แถลงข่าว "โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งอาเซียน"  มีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานร่วมกับนายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ,ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง ประธานมูลนิธิวิชาหนังสือ ,นายมกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์  พ.ศ.2555 ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิประจำโครงการ และคณะกรรมการภาษาอาเซียน ทั้งภาษามลายู บรูไน, ภาษาเขมร, ภาษาอินโดนีเซีย,ภาษาลาว,ภาษามลายู มาเลเซีย,ภาษาพม่า ,ภาษาฟิลิปปินส์ และภาษาเวียดนาม ร่วมงานอย่างคึกคัก   

     นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วธ. กล่าวว่า โครงการแปลหนังสือ วรรณคดี และวรรณกรรมแห่งอาเซียน  เป็นการใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  อาเซียนสมาชิก 9 ประเทศ ไม่รวมไทย มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติกว่า  580 ล้านคน  การแปลหนังสือฉบับภาษาไทยจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านผ่านมุมมองในหนังสือทุกเล่ม และเปิดโลกทัศน์ให้คนไทยได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ นอกจากนี้ ที่ผ่านมาการจัดพิมพ์หนังสือแปลในประเทศไทยยังมีปัญหา เพราะไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลหรือกำหนดมาตรฐานคุณภาพ รวมถึงหนังสือมีราคาแพง คนที่เข้าถึงหนังสือแปลจึงมีวงจำกัด  ในส่วนการดำเนินงานมีหนังสือไปยังกระทรวงต่างๆ ของทั้ง 9 ประเทศอาเซียน ผ่านสถานทูตในไทย เพื่อให้เสนอรายชื่อหนังสือ และเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาเซียนจากมหาวิทยาลัยให้มีส่วนร่วมเสนอรายชื่อหนังสือแปล  ซึ่งหนังสือที่ได้รับคัดเลือกสำหรับปีนี้มี 130 ชื่อเรื่อง ครบทุกประเภท  

          "    หนังสือ 130 ชื่อเรื่อง มีตั้งแต่นิทานพื้นบ้านชื่อดัง  วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง หนังสือรางวัลระดับชาติ ผลงานนักเขียนซีไรต์จากทุกประเทศ ผลงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน และพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จเยือนประเทศต่างๆ  รายชื่อหนังสือทั้งหมดประกาศในเว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจและนักแปลภาษาต่างๆ เลือกหนังสือที่สนใจ และสมัครเป็นผู้แปลได้   ทางกรมสนับสนุนดำเนินการด้านลิขสิทธิ์ เมื่อแปลเสร็จผ่านการตรวจแก้ต้นฉบับ จะประกาศรายชื่อต้นฉบับหนังสือให้สำนักพิมพ์ต่างๆ เสนอตัวเพื่อตีพิมพ์และจำหน่าย สำนักพิมพ์ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ใดๆ หนังสือชุดนี้จะวางจำหน่ายในร้านหนังสือทั่วประเทศ ร้านเชนสโตร์ ร้านหนังสืออิสระ โดยไม่ลดราคาแข่งกัน ทำให้ร้านหนังสือขนาดเล็กอยู่ได้  ภายในปีนี้จะได้อ่านหนังสือแปล 2 เล่ม ก่อน คือ ตำรับอาหารสมเด็จพระราชินีมาเลเซีย 'รสมือพระราชินีแห่งปาหัง" อีกเล่มเป็นหนังสือแปลของอินโดนีเซีย โครงการฯ มีระยะเวลา 5 ปี  ทุกคนได้เห็นผลงานทุกเล่ม นอกจากนี้ มีแผนจะเผยแพร่ผลงานผ่านสภาวัฒนธรรมทั่วประเทศ และสถาบันการศึกษาที่ร่วมโครงการ เพื่อสร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมอาเซียนผ่านหนังสือ " นายอิทธิพล กล่าว

 

  คัดสรรหนังสือ วรรณคดีและวรรณกรรมชาติอาเซียนมาแปลให้คนไทยได้อ่าน         

      

        ด้าน นายมกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประธานโครงการในนามมูลนิธิวิชาหนังสือกล่าวว่า โครงการฯ นี้ จะก่อให้เกิดการส่งเสริมการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจวัฒนธรรมประเทศอาเซียนผ่านวรรณกรรมและหนังสือทุกประเภท ไม่จำเพาะแต่วรรณกรรม แต่ครอบคลุมทั้งหมดที่แสดงถึงความเป็นชาตินั้นๆ จะนำไปสู่เครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชาติด้านต่างๆ และฟื้นฟูระบบหนังสือ ระหว่างนักแปล ผู้ถือลิขสิทธิ์ ตัวแทนลิขสิทธิ์ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ หน่วยการพิมพ์ ผู้อ่าน และประชาชนที่สนใจทั่วไป สำคัญที่สุด คือ การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมให้กลุ่มประเทศอาเซียนอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และยั่งยืนยาวนาน

     " 130 รายชื่อหนังสือ ถือเป็นประวัติศาสตร์การแปลหนังสือประเทศอาเซียนเป็นภาษาไทยมากที่สุด   สร้างปรากฎการณ์ใหม่ช่วยให้คนไทยรู้จัรสนิยม ความมุ่งหวัง กิจกรรมในบ้านเมืองของชาติอื่น ทุกวันนี้เราเปิดประตูก้าวสู่ประชาคมอาเซียน แต่คนไทยแทบไม่รู้จักพลเมืองอาเซียน การได้อ่านหนังสือ วรรณกรรม วรรณคดีต่างชาติ เอื้อให้ผู้อ่านเปิดกว้าง เข้าใจ ภูมิภาคนี้ รู้จักอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชาติอื่นๆ หากหนังสือชุดแรกแปลแล้วเสร็จ มูลนิธิวิชาหนังสือจะทำงานต่อ มีเป้าหมายคัดสรรหนังสือชาติละ 50 เล่ม 9 ชาติ รวม 450 เล่ม อยากให้คนไทยเข้าถึงหนังสือดีๆ ของเพื่อนบ้าน " นายมกุฏ กล่าว

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"