30ก.ค.63- นายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (รองผู้จัดการ กสศ.) กล่าวว่า ขณะนี้ กสศ.ได้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Information System for Equitable Education : iSEE) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG Data) รายบุคคล ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคนโดยเชื่อมโยงข้อมูลเด็กและครอบครัวกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ทำนโยบาย สามารถตรวจสอบสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงาน ภาคีต่างๆ ที่มีภารกิจในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในอนาคต ทั้งนี้ระบบ iSEE นับเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการศึกษา ที่จะช่วยยกระดับการค้นหา คัดกรองเด็กเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาอย่างละเอียด โดยจะสำรวจตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล โรงเรียน จนถึงรายบุคคล ทำให้ติดตามสถานการณ์การศึกษา อัตราการมาเรียน รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในอนาคต ฯลฯ เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือได้เข้าถึงตัวเด็กอย่างทันท่วงที
นายไกรยส กล่าวต่อว่า กสศ.ต้องการจัดทำระบบ iSEE ให้เป็น user- centered data Visualization Tools หรือนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนในรูปแบบที่ง่ายและสอดคล้องกับการใช้จริงของภาคีเครือข่าย ในการทำให้สังคมไทยมองเห็นเด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่าน 5 เป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) มีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลในหลายกระทรวง 2) Virtual Live ข้อมูล ให้เป็น user center design มีการทำกราฟ/ตารางที่ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อนำไปแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างง่าย 3) ปฏิรูปกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เช่น การระดมทุน หรือ การจัดค่ายอาสาพัฒนาชนบท ที่สามารถมองเห็นเด็กหรือโรงเรียนได้ชัดมากที่สุด 4) ขับเคลื่อนทรัพยากรและเครือข่ายในสังคมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 5) สนับสนุนผู้ที่ต้องการเป็นนักวิจัย start up ผู้ประกอบการทางสังคม และสื่อมวลชน ให้มีพลังในการขับเคลื่อนวาระทางสังคมมากขึ้น ด้วยข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ระบบ iSEE ยังมีระบบการตอบกลับที่เป็นวงจร สามารถนำข้อมูลกลับมารายงานได้ว่ามีจำนวนเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือ เด็กที่จบการศึกษา รวมถึงเด็กที่ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้วกี่คน ทั้งนี้ กสศ. หวังว่าระบบ iSEE จะมีผู้ใช้งานเข้ามาใช้ฐานข้อมูลของเราอย่างต่อเนื่องจนเกิดความยั่งยืน เพื่อให้กรอบการทำงานระยะยาวของ กสศ. ที่มองว่า Data เป็นการทำงานเชิงยุทธศาสตร์นำไปสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาในอนาคต
“จุดเด่นของระบบ iSEE คือ การแสดงข้อมูลสุขภาวะและทุพโภชนาการของเด็กและเยาวชน ข้อมูลสถานะครัวเรือนและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชน ข้อมูลการเดินทางระหว่างไปโรงเรียน ข้อมูลสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และจากการประมวลผลข้อมูลพบปี 2562 มีนักเรียนในระบบการศึกษาหายไปครึ่งหนึ่งหลังจบ ม.3 ยังพบว่า 3 จังหวัด ได้แก่ ตาก กรุงเทพ แม่ฮ่องสอน มีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษามากที่สุด” รองผู้จัดการ กสศ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |