ก.ตร.อนุมัติ 2,000 ตำแหน่ง 'บช.สอท.' ปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

30 ก.ค.63 - ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประชุม ก.ตร.  และ ก.ต.ช.โดยมีคณะกรรมการเข้าประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชม. 

พล.อ.ประยุทธ์ เปิดเผยว่า  ในที่ประชุมได้เน้นย้ำเรื่องของการบังคับใช้กฏหมายทางด้านเทคโนโลยี เพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับองค์กร เนื่องจากปัจจุปันมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบช่วงนี้กับเมื่อ 5 ปี ที่ผ่านมา ยอมรับว่าหลายเรื่องก็เป็นปัญหาจึงได้เน้นย้ำให้ตำรวจทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ บังคับใช้กฏหมายเกิดความชอบธรรม หากพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนเพราะกฎหมายเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างเกิดความเรียบร้อยเพื่อคนในชาติ  ทั้งนี้ได้เน้นย้ำและกำชับให้ตำรวจดูแลเรื่องของการชุมนุมต่างๆให้อยู่ในกรอบของกฏหมายด้วย

ด้านพล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมก.ตร.และก.ต.ช.ในครั้งนี้ยังไม่มีวาระการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจระดับพล.ต.ต.ขึ้นไปจนถึงรอง ผบ.ตร.กฎหมายยังให้ว่าต้องแต่งตั้งก่อนวันที่ 31 ส.ค.ดังนั้นจึงยังมีเวลา ส่วนการประชุมก.ตร.และก.ต.ช.ในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังให้ความสำคัญสอบถามในเรื่องรายละเอียด กรณีที่ข้าราชตำรวจกระทำผิดทางวินัยต่างๆ ในที่ประชุมมีการรายงานเรื่องการไล่ออก ปลดออกข้าราชตำรวจ เฉพาะเดือนที่ผ่านมาทีทั้งสิ้น 45 เรื่อง ไล่ออก 19 เรื่อง ปลดออก 4 เรื่อง ส่วนทีเหลือเป็นเรื่องการกักขังต่างๆ และนายกรัฐมนตรียังสั่งการให้ตรวจสอบในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีการลงโทษผู้กระทำความผิดทางวินัยไล่ออกจากราชการอย่างไรบ้าง ซึ่งสรุปได้ว่า มีการลงโทษไปแล้ว 134 ราย เป็นการไล่ออก 98 ราย ปลอดออก 27 ราย ให้ออกจากราชการ 5 ราย ให้ออกไว้ก่อน 4 ราย

 พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวต่อว่า สำหรับชื่อมี่ใช้สำหรับกองบัญชาการใหม่ ใช้ชื่อว่า กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บช.สอท.ซึ่งป็นการเอางานเดิมที่เคยมีอยู่ใน บก.ปอท.ประมาณร้อยละ 70 ถึง 80 มาอยู่ใน บช.ใหม่ และการสืบสวนสอบสวนคดีเกี่ยวกับเทคโนโลยี ออนไลน์ ต่างๆ ที่ตามบก.สส.ภาคต่างๆ ก็ให้มาอยู่รวมใน บช.นี้ ส่วนการตรวจสอบแหล่งที่มาของการกระทำผิดกฎหมายของสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเคยอยู่ในสำนักงานเทคโนโลยีสารทนเทศ ก็ให้มาอยู่ใน บช.นี้ โดย สรุป บช.สอท.จะเป็น บช.บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวการอาชญากรรมเทคโนโลยีโดยภาพรวมของประเทศ ส่วนหน่วยสำนักงานเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่มีอยู่เดิม จะเป็นหน่วยงานฝ่ายอำนวยการ ดูแลระบบ crime ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบการเชื่อมโยงข้อมูลฝ่ายบริหาร ส่วนบก.ปอท.จะรับภารกิจของ บช.ก.ในงานความมั่นคงและกิจการพิเศษ เป็นหลัก

ขั้นตอนในการประชุมครั้งนี้เป็นเรื่องของตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่ต่ำว่า “พล.ต.ต.” ลงไป ก.ตร.อนุมัติให้มี 1,989 อัตรา เป็นการตัดโอนจากหน่วยงานต่างๆ อีก 11 ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่ง ผบก.ขึ้นไป จะประกอบด้วย ผบก.7 คน รอง ผบช. 3 คน และ ผบช.1 คน ซึ่งตามกฎหมายเมื่อ ก.ตร.อนุมัติต้องให้ ก.ต.ช.เห็นชอบก่อน ดังนั้นการประชุม ก.ต.ช.ในวันนี้ มีมติเห็นชอบครบในเรื่องของตำแหน่ง และที่ผ่านมาครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา การจัดต้อง บช.ใหม่ ดังนั้นในช่วงบ่ายวันนี้ผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ รอง ผบ.ตร.และตน เข้าไปชี้แจงที่กฤษฎีกา เมื่อกระบวนขั้นตอนของกฎหมายผ่าน คาดว่าภายใน 1 เดือนต่อจากนี้ จะสามารถแต่งตั้งบุคลากรไปลงในตำแหน่งนั้นได้ โดยนายกรัฐมนตรี มีนโยบายว่า ให้เน้นแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถโดยตรง ด้านการสืบสวน สอบสวน คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งให้ครบคน เน้นการแต่งตั้งเป็นระยะตามความเหมาะสมของงาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"