ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับ ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคพลเรือน และเพื่อการพาณิชย์ อีกทั้งมีแนวโน้มในการนำระบบอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อาทิ การบินสำรวจถ่ายภาพ จัดทำแผนที่ 3 มิติ งานด้านการเกษตรกรรม การตรวจสภาวะแวดล้อม เพื่อการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การปราบปรามอาชญากรรม ภารกิจด้านการรักษากฎหมายและภารกิจด้านมนุษยธรรมฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. แสดงศักยภาพความพร้อมจัดตั้งศูนย์ฝึกระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศและภูมิภาคอาเซียน พร้อมพัฒนาบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ เปิดเผยว่า การนำระบบอากาศยานไร้คนขับมาปฏิบัติภารกิจทั้งทางทหารและพลเรือนนั้น บุคลากรด้านการบินระบบอากาศยานไร้คนขับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากการปฏิบัติงานของระบบอากาศยานไร้คนขับต้องอาศัยบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมและวางแผนการปฏิบัติภารกิจ เจ้าหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ Payload เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักบินผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งมีความจำเป็นในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ทั้งการนำเครื่องบินขึ้น – ลง การกำหนดเส้นทางการบิน และควบคุมอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน
โดยบุคลากรต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับตามมาตรฐานสากลเพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในปี 2558 ประเทศไทยมีบทเรียนที่สำคัญ คือ ได้รับธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สาเหตุมาจากมาตรฐานด้านการบินของไทยมีความเสี่ยงสูงและไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ภายใน 2 ปีที่โดนธงแดงทำให้เกิดการสูเสียในเชิงเศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท ซึ่งในขณะนั้น ผมได้รับมอบหมายให้เป็นเลขานุการคณะทำงานการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเมื่อช่วงต้นปี 2561 ผมได้มีโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ จึงได้นำประสบการณ์การทำงานในครั้งนั้นมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์และนโยบายการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับตามมาตรฐานสากลแห่งแรกในประเทศและภูมิภาคอาเซียนขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานด้านความมั่นคง บุคคลทั่วไป และสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้งานภายในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การฝึกอบรมหลักสูตรนักบินอากาศยานไร้คนขับให้แก่หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนมีความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เป็นผู้กำหนด
สทป. มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือกับทุกเหล่าทัพ รวมถึงหน่วยงานภายนอกกระทรวงกลาโหมทั้งภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเหล่าทัพ รวมทั้งหน่วยงานพลเรือน ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม สทป. จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางบูรณาการด้านการฝึกอบรมบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ (Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre : DTI-UTC) จึงมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งนโยบาย โครงสร้างองค์กร งบประมาณ และบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการฝึกอบรม การใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับซึ่งเป็นเทคโนโลยีสองทาง (Dual Use) ที่สามารถนำไปใช้งานทั้งทางทหารและพลเรือนในการนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการพัฒนาแผนที่ 3 มิติ สร้างแบบจำลองพยากรณ์สถานการณ์ เป็น Solution ในการป้องกันปัญหา รวมถึงการนำไปวิจัยและพัฒนาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและสร้างรายได้ในเชิงธุรกิจ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วยกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานหรือลูกค้า ด้วยการสร้างความแตกต่าง ไม่ใช่เพียงแค่การฝึกให้บุคลากรใช้งานอากาศยานไร้คนขับเพื่อถ่ายภาพทั่วไป แต่จะเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกระบวนการ Competency Based Training ให้มีความรู้ (Head) ความชำนา (Hand) และทัศนคติที่ถูกต้อง (Heart) เพื่อให้มีขีดความสามารถในการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับที่เหมาะสมตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการใช้งานการบินอากาศยานไร้คนขับได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่ออุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่ง สทป. มีผู้เชี่ยวชาเฉพาะด้าน Safety Management System และ Quality Assurance ด้านมาตรฐานการบินจากทั้งภายใน และภายนอก สทป.
การฝึกอบรมการบินระบบอากาศยานไร้คนขับของ DTI-UTC หลักสูตรแรก ได้แก่ หลักสูตร Remote Pilot Licence (RPL) ที่ฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี ภาคการฝึกจำลอง (Simulator) และภาคอากาศ ทั้งแบบ Aeroplane และแบบ Multi Rotor เป็นไปตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในการฝึกอบรมให้แก่กำลังพลของเหล่าทัพ หน่วยงานพลเรือน ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป หลักสูตรที่ 2 คือ หลักสูตรครูการบินระบบอากาศยานไร้คนขับ รวมถึงการดำเนินการภารกิจด้านการศึกษา รวบรวมข้อมูล สร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาด้านการฝึกอบรม และการใช้งาน พร้อมทั้งให้ความรู้ บริการ ส่งเสริม สนับสนุน ทดสอบ ซ่อมบำรุง และบูรณาการความร่วมมือในด้านวิจัยและพัฒนา และการประยุกต์ใช้งานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานด้านการบินระบบอากาศยานไร้คนขับให้กับประเทศ และมิตรประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยบุคลากรของ สทป. มีความพร้อมและมีศักยภาพในทุกด้าน เช่น มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ในการสอนนักบินให้กับเหล่าทัพ และหน่วยงานความมั่นคงมาแล้วมากกว่า 5 ปี และได้เปิดการฝึกอบรมนักบินโดรนมาแล้วกว่า 6 รุ่นด้วยกัน
ทั้งนี้ สทป. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) กับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อร่วมมือในการพัฒนาด้านมาตรฐานการบินโดรนภายในประเทศ ร่วมกับหน่วยงานด้านการบินที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศอีกด้วย โดย สทป. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ในคณะทำงานร่างหลักสูตรไปศึกษาดูงานยังหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อเทียบเคียง และสืบค้นมาตรฐานจาก Authority ทั้ง ICAO, FAA, EASA, CASA และ JARUS เพื่อนำมาบูรณาการแสวงหาความร่วมมือ จัดทำร่างหลักสูตรขึ้นใหม่ ปรับเข้าสู่มาตรฐาน นำเข้าขั้นตอนขอรับรองให้เป็นสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved Training Organization) จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น Regulator ด้านมาตรฐานการบินของประเทศไทย ให้อนุมัติและรับรองหลักสูตร ทำให้ DTI-UTC สามารถเปิดสอนนักบินอากาศยานไร้คนขับได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีศักดิ์และสิทธิ์ในการให้ใบประกาศนียบัตร (Certificate) แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อไปสอบใบอนุญาตจาก CAAT ได้ โดยประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านการบินอากาศยานไร้คนขับ ภายในประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2565 ตามวงรอบ ICAO ก็จะกลับมาตรวจสอบมาตรฐานการบินของประเทศไทย หากเราไม่พัฒนาและเตรียมการในเรื่องนี้ตั้งแต่วันนี้ไว้แต่เนิ่น ๆ ลองจินตนาการว่าอีกไม่นานจะเห็นอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนบินในบ้านเราเต็มไปหมด และหากโดรนเหล่านั้นบินโดยไม่มีมาตรการใด ๆ มาควบคุม หรือบินโดยที่ไม่มีความตระหนักรู้ จะเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย สร้างความเสียหาย หรือมีการนำโดรนไปแสวงประโยชน์ในทางที่ผิด กลายเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินต่อไป
DTI-UTC ขอเชิญชวนให้ท่านที่ใช้งานโดรน ตระหนักถึงการสร้างมาตรฐานการบินโดรนอย่างปลอดภัยและร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ เข้ารับการฝึกอบรมนักบินโดรนตามหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งคาดว่าจะเปิดรับสมัครในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ และเริ่มเปิดการฝึกอบรมได้ภายในต้นปี 2564
ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.dti.or.th และ facebook fanpage : Defence Technology Institute โดยการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องและบรรลุ ซึ่งวิสัยทัศน์ของ สทป. คือ “เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย และพันธมิตรอาเซียน”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |