ปี 2563 เป็นอีกปีที่เศรษฐกิจทั้งไทยและทั่วโลกต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และสร้างความเสียหายให้กับหลายส่วน ทั้งด้านสาธารณสุข ด้านสังคม รวมถึงด้านเศรษฐกิจ จากมาตรการล็อกดาวน์ของหลายๆ ประเทศ ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด ทั้งการเดินทางท่องเที่ยว การค้าขาย ต้องหยุดชะงัก และแน่นอนว่าผลจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดนี้มีผลอย่างมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้
สำหรับประเทศไทยที่พึ่งพาหลายปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งปัจจัยในประเทศ อย่างการบริโภค และการลงทุน ที่ปัจจุบันมีการชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอย่าง “การส่งออก” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่นาทีนี้ต้องบอกว่า “ยากลำบาก” ไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ เช่นกัน โดยล่าสุด “กระทรวงพาณิชย์” ออกมาประเมินว่า แนวโน้มการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ยังมีความท้าทาย
นั่นเพราะยังมีปัจจัยกดดันจากเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่จะส่งผลสำคัญต่อกำลังซื้อของประชาชนให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าหลายประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียจะเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีโอกาสจากความเสี่ยงที่จากมาตรการล็อกดาวน์ของแต่ละประเทศ หากมีการระบาดรอบที่ 2 ได้
ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีประเด็นเรื่องความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างประเทศมหาอำนาจ ทั้งจากคู่สหรัฐ-จีน และจีน-อินเดีย ปัจจัยตรงนี้ได้ส่งผลชัดเจนต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าและเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอยู่เสมอ อย่างสถานการณ์ค่าเงินบาทที่จะมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการไทย
ขณะที่ภาคเอกชนอย่าง “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่า ภาพรวมการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 มีโอกาสหดตัวลงลึกมากกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวได้ช้า ขณะที่ภาพรวมการส่งออกในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่ายังคงหดตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยหดตัวที่ระดับ 23.2% ด้วยมูลค่าการส่งออกที่ 16,444 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยในครึ่งแรกของปี 2563 หดตัวถึง 7.1% ทั้งหมดเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรง และการใช้มาตรการล็อกดาวน์ในหลายระดับของหลายประเทศ ได้ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนแรงลง ส่วนสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลานานมากขึ้น
ทั้งนี้ จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ประเมินว่าภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2563 มีแนวโน้มที่จะหดตัวในระดับ 2 หลัก ซึ่งจะเป็นการหดตัวลึกกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ระดับ -6.1% จากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า แม้จะเริ่มมีข่าวดีจากความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ ยังมีคามตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐ และชาติตะวันตกกับจีน ที่กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สูงขึ้นดังกล่าว จะส่งผลกดดันทิศทางการค้าของโลกและการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ด้วย
ต้องยอมรับว่า ปี 2563 เป็นปีที่เศรษฐกิจเจอปัญหาจนส่งผลให้เกิดวิกฤติที่เรียกว่าอาจจะหนักหนากว่าหลายวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกในช่วงผ่านมา เศรษฐกิจไม่เพียงของไทยเท่านั้น แต่หลายประเทศมีปัญหาเรื่องการเติบโตอย่างชัดเจน หลายประเทศยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า “กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย” เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่ก่อนหน้านี้ “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” ประเมินว่าในไตรมาส 2/2563 จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยดิ่งลงลึกที่สุด จากปัจจัยเสี่ยงเดียวกับหลายๆ ประเทศ คือ “การแพร่ระบาดของโควิด-19” หลังจากนั้นจะค่อยๆ ทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ ก่อนเข้าสู่ภาวะปกติก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2564.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |