เป็นบทความภาคภาษาอังกฤษชิ้นหนึ่ง อันว่าด้วยวิถีชีวิตปัจจุบันที่ทั่วโลกยังต้องเผชิญอยู่กับไวรัสโควิด-19 ซึ่งสรุปโดยนักวิชาการด้านโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ..มีด้วยกันหลายข้อ เหมือนเตือนใจหรืออยากให้แปะไว้ที่ฝาผนังจะได้ไม่ลืม..ยังไงยังงั้นเลย!!
1.เรายังต้องอยู่กับโควิด-19 อีกหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธมัน แต่ก็อย่าได้แตกตื่นกลัวจนทำให้ชีวิตสูญเปล่า แต่ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ให้เป็น
2.คุณไม่สามารถทำลายไวรัสชนิดนี้ด้วยการดื่มน้ำร้อนเป็นแกลลอน แต่คุณจะต้องเข้าห้องน้ำตลอดทั้งคืนแทน
3.ล้างมือให้สะอาดและเว้นระยะห่างทางสังคม 2 เมตร คือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
4.ถ้าไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อใดๆ ภายในบ้าน
5.กล่องพัสดุภัณฑ์ รถเข็นช็อปปิ้งตามห้าง ตู้เอทีเอ็ม ไม่ได้เป็นจุดแพร่เชื้อ แต่ขอให้ล้างมือทุกครั้งที่จะหยิบอาหารเข้าปาก หรือจับใบหน้าของตัวเอง คุณสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ
6.ไวรัสนี้ไม่ได้แพร่กระจายทางอาหาร แต่มันแพร่เชื้อเหมือนโรคหวัด
7.ปกติเราสามารถคัดจมูกหรือสูญเสียการได้กลิ่น เพราะปัญหาภูมิแพ้หรือไม่ก็เป็นหวัด อาการดังว่าไม่ใช่อาการเฉพาะเจาะจงของไวรัสโควิด-19 เสมอไป
8.อย่ากังวลหรือตื่นกลัวจนเหมือนชีวิตนี้อยู่เป็นสุขไม่ได้ แบบกลับถึงบ้านต้องรีบอาบน้ำทันที..อันนี้เกินเหตุ
9.โควิด-19 อยู่ไม่ได้ในอากาศ เราสามารถเดินเล่นในสวน หรือวิ่งออกกำลังกายได้ในอากาศที่ปลอดโปร่ง
10.ใช้สบู่ธรรมดาทั่วไปก็สามารถกำจัดไวรัสได้ เพราะมันไม่ใช่แบคทีเรีย
11.ไวรัสไม่ไปกับอาหารที่คุณสั่งให้ไปส่งที่บ้าน แต่ถ้ากังวลก็อุ่นก่อนรับประทานได้
12.กินน้ำส้มสายชู น้ำอ้อย หรือขิงไม่ได้ป้องกันไวรัส แต่มันช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายเท่านั้น
13.สวมใส่หน้ากากทุกครั้งเมื่อเข้าไปอยู่ในที่แออัดมีผู้คนมาก ไม่จำเป็นต้องสวมที่บ้านหรือในรถที่เป็นที่ส่วนตัวของคุณ
14.การสวมใส่ถุงมือหวังว่าจะป้องกันไวรัส เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะเชื้อติดถุงมื้อได้ ทางที่ดีที่สุดคือล้างมือ
สรุปง่ายๆ คือ ระแวดระวังได้ แต่อย่าระแวงจนขาดสตินะคะ.
"ป้าเอง"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |