บทเรียนช่วงโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

          แม้ว่าวิกฤติโควิด-19 จะส่งผลกระทบมากมายกับทุกธุรกิจ รวมถึงการใช้ชีวิตของคนในสังคม แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เราเรียนรู้อะไรมากขึ้น รู้จักที่จะปรับตัวให้สามารถฝ่าฝันอุปสรรคและปัญหาได้ สามารถพลิกแพลงหรือใช้เทคนิคเพื่อเอาตัวรอดได้ และสามารถหาช่องทางในการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสได้ ซึ่งมักจะเห็นอยู่ตลอดเวลาในช่วงที่ผ่านมา เมื่อหลายคนปรับตัวและสามารถอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าวิกฤติได้ จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน พร้อมที่จะต่อสู่เสมอ

                มีคนเคยกล่าวว่า สถานการณ์ต่างๆ รวมถึงโควิด-19 นั้นจะทำให้ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกปรับตัวสู่สิ่งที่เรียกว่านิวนอร์มอล  หรือการใช้ชีวิตปกติในรูปแบบใหม่ แต่ในความเป็นจริงทุกอย่างจะไม่มีทางเป็นปกติ และคงอยู่ได้เหมือนเดิมตลอดเวลา เพราะทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเรากำลังเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าเนเวอร์นอร์มอล ทำให้ทุกคนในสังคมต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่เสมอ 

                จากข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าสังคมจะอยู่ในรูปแบบไหน อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์อยู่แล้ว และการปรับตัวนี้เองก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ขององค์กรว่าต้องทำอย่างไรถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ และใช้กลยุทธ์อะไรให้คงความเป็นธุรกิจของตัวเองต่อไป โดยเรื่องนี้จากสถานการณ์ดังกล่าว จะยกตัวอย่างของบริษัทที่เป็นผู้นำองค์กรด้านพลังงาน อย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 

                โดยแนวทางการฝ่าฟันวิกฤตการณ์ขององค์กรบ้านปู ทำจากเรื่องวัฒนธรรมองค์กร “บ้านปู ฮาร์ท” ที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีใจรักในสิ่งที่ทำ มีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และมีความมุ่งมั่นและยืนหยัดเพื่อผลลัพธ์ของงาน ทำให้บ้านปูฯ เป็นองค์กรที่มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ที่พร้อมจะพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น และผ่านพ้นวิกฤติไปอย่างแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมเสมอ และสิ่งนี้เองที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ทุกคนเตรียมพร้อม และไม่ตื่นตกใจกับเหตุไม่คาดฝันที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากในยุคต่อๆ ไป

                “จากการที่ดิฉันได้ทำงานกับบ้านปูฯ มาตั้งแต่ต้น และผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2551 สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ในการบริหารธุรกิจและกำลังคนของบริษัทให้สามารถฟันฝ่าวิกฤติมาได้ทุกครั้ง ต้องเริ่มต้นจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่น ให้พนักงานเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที” นางสมฤดี ชัยมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปูฯ กล่าว

                ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เห็นว่าแม้จะมียอดขายเป็นอันดับหนึ่งของตลาด หรือมีคนชื่นชอบมากในธุรกิจ ได้รับความนิยมต่างๆ นานา แต่ก็สามารถเกิดการถดถอยลงได้เช่นกัน การดำเนินธุรกิจที่ดีควรเริ่มจากคนในองค์กร ต้องการทำมันให้ดีที่สุดก่อน 

                และจากแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้น มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่สรุปได้เป็น 4 แนวทาง ได้แก่ 1.สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างความยั่งยืน ซึ่งหมายรวมถึงการลดทอนผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และ 2.เชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งการสร้างความยั่งยืนและลดผลกระทบเชิงลบ เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายในการดำเนินงานธุรกิจ โดยเฉพาะการรักษาระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ป่า

                3.ชูประเด็นด้านสังคมและบรรษัทภิบาล โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการเติบโตและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม รวมทั้งดำเนินกิจการอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณและเป็นธรรม และ 4.คือให้ความสำคัญกับการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่เกี่ยวกับการสร้างพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ควบคู่ไปกับการนำเสนอแนวทางให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

                ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น คงเป็นบทเรียนและบททดสอบให้กับหลายๆ ธุรกิจได้อย่างดี ให้หลายคนได้มีการเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาศักยภาพเพื่อรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติที่ใหญ่กว่าโควิด และส่งผลกระทบกับผู้คนทั่วโลกได้มากกว่านี้ก็จะสามารถพร้อมที่จะรับมือได้.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"